สืบค้นงานวิจัย
การยืดอายุการเก็บรักษาผลลำไยสดด้วยกรดไฮโดรคลอริกทดแทน การใช้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
วิทยา อภัย - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การยืดอายุการเก็บรักษาผลลำไยสดด้วยกรดไฮโดรคลอริกทดแทน การใช้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ชื่อเรื่อง (EN): Shelf Life Extension of Fresh Logan Fruit by Hydrochloric Acid for Replacing Sulfur Dioxide Gas Fumigation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิทยา อภัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wittaya Apai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้กรดไฮโดรคลอริก (HCI) ยืดอายุการเก็บรักษาผลลำไยสดทดแทนการใช้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) โดยแบ่งการทดลองเป็น 3 การทดลองย่อย โดยดำเนินการที่ สวพ.1 จ. เชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 – เดือน มกราคม พ.ศ. 2552 การทดลองที่ 1 ทำการเปรียบเทียบการจุ่มผลลำไยสดที่ตัดเป็นช่อและผ่านการล้างในน้ำไหล 1 นาที ใน HCI ที่ความเข้มข้น 1.5 N เป็นเวลา 20 นาที แล้วผึ่งให้แห้งกับการใช้ SO2 และไม่ใช้สาร โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 ซ้ำ พบว่าการใช้ HCI ช่วยยับยั้งการเปลี่ยนสีน้ำตาลไม่แตกต่างจากการใช้ SO2เมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 20 วัน ส่วนการทดลองที่ 2 เปรียบเทียบการจุ่มผลลำไยสด ซึ่งตัดเป็นผลเดี่ยวใน HCI ที่ความเข้มข้น 1.0 และ 1.5 N กับ SO2และไม่จุ่มสารเคมีโดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 ซ้ำ พบว่าการใช้ HCI เข้มข้น 1.5N (ph 0.21) เป็นระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมสำหรับใช้ฟอกสีผิวเปลือก โดยไปลดความเป็นกรด/ด่างของเปลือกให้ต่ำลง และลดการเกิดโรคบนผลเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ HCI เข้มข้น 1.0 N (pH 0.39) ภายหลังการเก็บรักษาเป็นเวลา 32 วัน ที่ 31°C ความชื้นสัมพัทธ์ 85% สำหรับการการทดลองที่ 3 เป็นการวางแผนการทดลองแบบ 4x2 Factorial in CRD จำนวน 3 ซ้ำ โดยใช้ผลลำไยสดซึ่งตัดเป็นผลเดี่ยวนำมาจุ่มใน HCI ที่ความเข้มข้น 1.5 N เป็นเวลา 20 นาที แล้วผึ่งให้แห้งโดยล้างน้ำสะอาดและไม่ล้างน้ำ การใช้ SO2 และไม่จุ่มสารเคมีเป็นปัจจัยที่ 1 และการเก็บรักษาในถาดโฟมหุ้มด้วยฟิล์มพลาสติก PVC หนา 11 ไมครอน และไม่หุ้มพลาสติกเป็นปัจจัยที่ 2 เก็บรักษาไว้ที่ 31°ซ. ความชื้นสัมพัทธ์ 85% และนำมาวางไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชม. เพื่อให้อาการสะท้านหนาว (chilling injury, CI) เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ก่อนวัดผลทุกครั้ง พบว่าการเก็บรักษาในสภาพไม่หุ้มฟิล์มมีการเกิดโรคต่ำกว่าแต่มีการสูญเสียน้ำหนักสูงกว่าการหุ้มฟิล์ม ชุดควบคุม (ไม่ได้จุ่มสาร) ที่ไม่หุ้มฟิล์มเกิดอาการสะท้านหนาวทั้งผลเร็วที่สุดภายใน 8 วัน ขณะที่ชุดควบคุมที่หุ้มฟิล์มเกิดอาการสะท้านหนาวทั้งผลภายใน 30 วัน การใช้ HCI และ SO2 ร่วมกับการหุ้มหรือไม่หุ้มฟิล์ม สามารถลดอาการสะท้านหนาวเป็นเวลาใกล้เคียงกันที่ 60 วัน การใช้ HCI ร่วมกับการหุ้มฟิล์มมีผลทำให้ผิวเปลือกมีสีคล้ำลงเร็วกว่าการไม่หุ้มฟิล์ม เนื่องจากเกิด chemical toxic มีผลทำให้คะแนนการยอมรับลักษณะภายนอกของเนื้อกลิ่นมีค่าลดลง การใช้ HCI ร่วมกับการล้างผล และไม่หุ้มฟิล์มช่วยยับยั้งอาการสะท้านหนาว ได้ดีที่สุดเหมาะสำหรับใช้ทดแทน SO2ลดการเกิดโรคบนผล และช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพเนื้อ ระหว่างการเก็บรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่นๆ
บทคัดย่อ (EN): Studies on the efficacy of hydrochloric acid (HCI) on prolonging storage life of fresh longan fruits as an alternative to sulfur dioxide (SO2) fumigation were evaluated. Three experiments were conducted at the laboratory of Chiang Mai Office of Agricultural and Development Region 1 at Chiang Mai province during November, 2008-January, 2009. The first experiment was to compare dipping longan fruit with panicle attached and washing longan fruit with tap water for 1 min prior dipping in 1.5 N HCI for 20 min and air dried comparing to SO2 usage and untreated fruit. The experiment design was CRD with 4 replications. It was found that treatment with 1.5 N HCI as well as SO2 inhibited pericarp browning for 20 day period at ambient temperature storage. The second experiment was to compare dipping longan fruit without pinicle attached in HCI at concentration of 1.0 and 1.5 N with SO2 and untreated fruit. The experiment design was CRD with 4 replications. The result revealed that treatment with 1.5 N HCI (pH 0.21) showed the optimum concentration to be used for bleaching fruit skin, decreasing pericarp pH and reducing fruit decay more than those treated with 1.0 N HCI (pH 0.39) during storage at 31°C with 85% RH for 32 days. For the third experimental model was a 4x2 factorial in CRD design with 3 replications comprising 4 levels of treatments: dipping the fruits in 1.5 N HCI for 20 min drained and a subsequent with or without rinsing with tap water; SO2; and untreated fruit, Treated fruits were kept in 2 levels of storage condition in foam tray with or without wrapped with 11 m thick PVC film. The fruits were stored at 31°C with 85% RH and a subsequent chilling injuly (CI) test at ambient conditions for 24 hours prior to quality evaluation. The result indicated that the fruits without plastic wrapped significantly delayed fruit decay but increased weight loss in comparison with the wrapped fruits. The untreated fruits without plastic wrapped rapidly completed CI by 8 days whereas the untreated fruits without plastic wrapped were 30 days. The delay in CI for fruits treated with HCI and SO2 was at least 60 days. The application of HCI and a subsequent rinse with tap water without plastic wrapped had the best treatment for replacing SO2 usage to control CI, fruit decay and delay pulp quality loss during storage compared with the other treatments.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยืดอายุการเก็บรักษาผลลำไยสดด้วยกรดไฮโดรคลอริกทดแทน การใช้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
วิทยา อภัย
กรมวิชาการเกษตร
2552
เอกสารแนบ 1
การวิจัยกระบวนการเก็บรักษา และอายุวางจำหน่าย ของน้ำคั้นต้นกล้าและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธัญพืชไทย ผลของบรรยากาศดัดแปลงต่ออายุการเก็บรักษาขิงสด การนำผงเปลือกหอยแมลงภู่มาใช้ในการยืดอายุการเก็บรักษาเต้าหู้ ผลของแสงอัลตราไวโอเลตต่อการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์น้ำพริก การยืดอายุการเก็บรักษาจุลินทรีย์โพรไบโอติกในน้ำผลไม้ด้วยการกดดันด้วยกรด ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา การประยุกต์ใช้สารเคลือบกันหืนจากอัลจิเนตเพื่อยืดอายุการเก็บรักษากุ้งขาวต้ม การยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์หลักในสภาพควบคุมอากาศและความชื้น การศึกษาคุณภาพ และวิธีการเก็บรักษาต้นพันธุ์ที่มีต่อความงอกการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสําปะหลัง การใช้น้ำมันมะพร้าวดัดแปลงร่วมกับเชลแลคเพื่อควบคุมโรคผลเน่าและยืดอายุการเก็บรักษาเงาะที่ฉายรังสีแกมมา (ระยะที่ 2)

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก