สืบค้นงานวิจัย
การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดนครศรีธรรมราช
ยุพิน รามณีย์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง (EN): Rice potential zoning in Nakhon Si Thammarat province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ยุพิน รามณีย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Yupin Rammanee
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พรรณี จุฑามาตย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Punnee Jutamart
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ฤดูนาปี 2547 เมื่อนำข้อมูลมาจำแนกเป็นกลุ่มตามระดับความเหมาะสมของดินสำหรับปลูกข้าว พบว่า เป็นกลุ่มพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว บริเวณที่มีแหล่งน้ำสามารถใช้ปลูกพืชล้มลุกหรือพืชผักได้ในช่วงฤดูแล้ง (L1) จำนวน 44 ตัวอย่าง อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมและไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับดินมีศักยเป็นดินเปรี้ยว (L2) จำนวน 6 แปลง และอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับข้าวแต่อาจได้รับความเสียหายบ้าง เนื่องจากการขาดแคลนน้ำในระยะฝนทิ้งช่วง เพราะเนื้อดินส่วนใหญ่ค่อนข้างเป็นทราย (L3) จำนวน 6 ตัวอย่าง ลักษณะการทำนาส่วนใหญ่เป็นนาน้ำฝน ปลูกข้าวปีละครั้งและใช้พันธุ์พื้นเมือง ส่วนพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่ สุดคือ พันธุ์เล็บนกปัตตานี พันธุ์เฉี้ยงพัทลุง และพันธุ์อื่น ๆ เช่น เข็มทองพัทลุง ข้าวเหลือง แก่นจันทร์ ลูกลาย นาแห้ง ไข่มดดำ กาบดำ ชัยนาท 1 ปทุมธานี 1 และขาวดอกมะลิ 105 เกษตรกรจะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เองเพื่อปลูกในฤดูถัดไป การใช้ปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่ยังใช้ชนิดปุ๋ย ระยะเวลาใส่ปุ๋ยและอัตราที่ใช้ไม่ถูกต้องตามที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ ผลผลิตข้าวอยู่ระหว่าง 244-656 กก./ไร่ อยู่ในหน่วยแผนที่ดิน 3, 5, 5/6, 6, 7, 10, 11, 14, 17 และ 17 hi นอกจากนี้ยังพบว่า มีวันตกกล้าอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ส่วนวันปักดำและวันหว่านข้าวอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าวและปริมาณน้ำที่ขังในนา เกษตรกรส่วนใหญ่จะไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดวัชพืช สัตว์ศัตรูพืช โรคและแมลง การเกี่ยวข้าวนิยมใช้รถเกี่ยวนวดมีบ้างเล็กน้อยที่ยังใช้แรงงานคน ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว พื้นที่ปลูกข้าวอยู่ระหว่าง 2-30 ไร่/ครัวเรือน และเป็นเจ้าของที่ดินเอง ปีการเพาะปลูก 2548 ทำการทดสอบเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยเคมีในพื้นที่ที่มีการจัดศักยภาพระดับ L1 ซึ่งเป็นเขตเหมาะสมต่อการปลูกข้าวมาก มีศักยภาพในการให้ผลผลิตข้าวมากกว่า 550 กก./ไร่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2543) พบว่า การปลูกข้าวโดยกรรมวิธีของเกษตรกรให้ผลผลิตระหว่าง 421-619 กก./ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 513 กก./ไร่ เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโดยมีการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ ปรากฏว่า ได้ผลผลิตระหว่าง 457-630 กก./ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 564 กก./ไร่ และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโดยมีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ปรากฏว่าได้ผลผลิตข้าวสูงขึ้นโดยให้ผลผลิตระหว่าง 514-679 กก./ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 585 กก./ไร่ เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี พบว่า การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินมีต้นทุนต่ำสุด 328.85 บาท/ไร่ รองลงมาเป็นการใช้ปุ๋ยตามกรรมวิธีของเกษตรกร และการใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำมีต้นทุนเท่ากับ 392.16 บาท/ไร่ และ 460.57 บาท/ไร่ ตามลำดับ ปีการเพาะปลูก 2549 ทำการทดสอบเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยเคมีในพื้นที่ที่มีการจัดศักยภาพระดับ L2 และ L3 ซึ่งเป็นเขตที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวปานกลางและเหมาะสมน้อย และมีศักยภาพในการให้ผลผลิตข้าว 451-550 และ 351-450 กก./ไร่ ตามลำดับ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2543) จากการทดสอบในพื้นที่ L2 พบว่า กรรมวิธีของเกษตรกรให้ผลผลิตเฉลี่ย 307 กก./ไร่ การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 323 กก./ไร่ และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโดยมีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ปรากฏว่า ได้ผลผลิตเฉลี่ย 331 กก./ไร่ และการทดสอบในพื้นที่ L3 พบว่า กรรมวิธีของเกษตรกรให้ผลผลิตเฉลี่ย 384 กก./ไร่ การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 413 กก./ไร่ และการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินได้ผลผลิตเฉลี่ย 440 กก./ไร่ เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี พบว่า การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินมีต้นทุนต่ำสุดคือ 429 บาท/ไร่ รองลงมาเป็นการใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ และการใช้ปุ๋ยตามกรรมวิธีของเกษตรกร ซึ่งมีต้นทุนเท่ากับ 451.75 และ 552.50 บาท/ไร่ ตามลำดับ ภาพรวมของการทดสอบเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยเคมีในพื้นที่เกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีการจัดศักยภาพระดับ L1, L2 และ L3 ในปี 2548 และ 2549 สรุปได้ว่า กรรมวิธีของเกษตรกรให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 401 กก./ไร่ การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 433 กก./ไร่ และการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินได้ผลผลิตข้าวสูงขึ้น โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 542 กก./ไร่
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/bitstream/001/2107/1/RIC020101a.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Summary (Th)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดนครศรีธรรมราช
กรมการข้าว
2552
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดสุโขทัย การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดเพชรบุรี การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าว จังหวัดนครราชสีมา การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ และสมุทรสงคราม การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดสิงห์บุรี การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวในเขตจังหวัดชัยนาท รูปพรรณข้าวขึ้นน้ำผลผลิตสูง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก