สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาลักษณะพื้นทะเล การจมตัว และชนิดสัตว์น้ำที่อาศัยบริเวณกองปะการังเทียม จังหวัดเพชรบุรี
กมลพันธ์ อวัยวานนท์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การศึกษาลักษณะพื้นทะเล การจมตัว และชนิดสัตว์น้ำที่อาศัยบริเวณกองปะการังเทียม จังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Suitable Seabed for Artificial Reef Installation in Petchaburi Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กมลพันธ์ อวัยวานนท์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kamonphan Aawawanon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ทำการศึกษาลักษณะพื้นทะเล การจมตัว และชนิตสัตว์น้ำที่อาศัยบริเวณกองปะการังเทียม โดย กำหนดสถานีเก็บตัวอย่าง 3 สถานี ที่มีลักษณะพื้นท้องทะเลต่งกัน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2557 ถึง ตุลาคม ปี 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นทะเล เปรียบเทียบการจมตัวของแท่งคอนกรีต และ เปรียบเทียบอัตราการจับและองค์ประกอบชนิดสัตว์น้ำ ผลการศึกษาลักษณะพื้นทะเลจากขนาดตะกอนดิน พบว่า สถานี A มีพื้นทะเลเป็นโคลน (87.09%) สถานี B มีพื้นทะเลเป็นทราย (30.22%) และสถานี C มีพื้น ทะเลเป็นทรายปนโคลน (27.978) สถานีที่มีลักษณะพื้นทะเลที่เหมาะสมในการสร้างปะการังเทียมเรียงลำดับ จากมากไปน้อยคือ สถานี B, C และ A ตามลำตับ การจมตัวของแท่งคอนกรีตที่จัดสร้างเป็นปะการังเทียม พบการจมตัวมากที่สุดที่สถานี C มีค่าเฉลี่ย 13.29+1.93 เชนติเมตร รองลงมาคือสถานี A มีค่า 10.73t2.14 เซนติเมตร และสถานี B มีค่า 10.64+1.40 เซนติเมตร การจมตัวทั้ง 3 สถานี มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05) โดยที่สถานี C แตกต่างจากสถานี A และ B อัตราการจับสัตว์น้ำจากอวนลอยสามชั้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.46+0.33 กิโลกรัม/ความยาวอวน 100 เมตร สูงสุดในเดือนมีนาคม ปี 2557 ที่สถานี B เท่ากับ 1.43 กิโลกรัม/ความยาวอวน 100 เมตร ต่ำสุดในเดือนตุลาคม ปี 2557 ที่สถานี A เท่ากับ 0.05 กิโลกรัม/ ความยาวอวน 100 มตร ส่วนอัตราการจับสัตว์น้ำรายเดือนของแต่ละสถานี พบว่าสถานีที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สถานี C, B และ A ตามลำดับ แต่ไม่แตกต่างทางสถิติ (P <0.05) อัตราการจับสัตว์น้ำจากเบ็ดพวงมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 103.72+77.37 กรัม/เบ็ด/ชั่วโมง สูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2557 ที่สถานี C เท่ากับ 338.33 กรัม/ เบ็ด/ชั่วโมง ต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายน ปี 2557 ที่สถานี A เท่ากับ 3.33 กรัม/เบ็ด/ชั่วโมง อัตราการจับสัตว์น้ำ รายเดือนของแต่ละสถานี พบว่าสถานีที่มีค่าเฉลี่ยสูงคือ สถานี C, B และ A ตามลำดับ แต่ไม่แตกต่างทาง สถิติ (P <0.05) องค์ประกอบชนิดสัตว์น้ำที่จับได้ด้วยอวนลอยสามชั้นรวม 21 ชนิด ประกอบด้วยกลุ่มปลา 18 ชนิด และกลุ่มปลาหมึก 3 ชนิด สัตว์น้ำที่จับได้มากที่สุด คือ ปลาสีกุนผี (Alepes djedaba) ร้อยละ 70.76 สัตว์น้ำที่จับได้ด้วยเบ็ดพวงรวม 7 ชนิด ประกอบด้วยกลุ่มปลาทั้งหมด ปลาที่จับได้มากที่สุดคือ ปลาสีกุนผี ร้อยละ 91.52 เมื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบชนิดที่จับได้จากเบ็ดพวงและอวนลอยสามชั้น พบว่าสัตว์น้ำที่จับได้ จากเบ็ดพวงมีจำนวนชนิดที่จับได้น้อยกว่า โดยสัตว์น้ำที่จับได้มากที่สุด 2 ชนิดแรกคือ ปลาสีกุนผี และปลาทู ซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์น้ำที่ชอบอาศัยอยู่เหนือวัสดุ (ประเภทที่ 3) ที่พบในกองปะการังเทียมเช่นเดียวกับสัตว์น้ำที่จับได้ ด้วยอวนลอยสามชั้น
บทคัดย่อ (EN): Study on the seafloor, reef block sinking, and fish species around artificial reef, three sampling stations that difference on the seafloor characteristics were defined during February 2014 to October 2015. The objectives were studies the seafloor, to compare sinking of the reef block catch rates and the species composition. The results showed that on the seafloor sediments station A was clays (87.09%), station B was sands (30.22%6) and station C was muddy sands (27.979). The station that seafloor sediments suitable for artificial reefs construction were B, C and A respectively. The most sinking of the reef block was 13.29+1.93 cm at station C followed by 10.73-2.14 cm at station A and 10.64-1.40 cm at station B. Average sinking rate of 3 stations were significant difference (p<0.05) by station C was differ from A and B. The average catch rate on trammel nets was 0.46t0.33 kg/100 m which the highest catch rate was 1.43 kg/100 m at station B in March 2014. The lowest catch rate was 0.05 kg/ 100 m at station A in October 2014. The average catch rates of hooks and line was 103.7277.37 g/hook/h which the highest was 338.33 g/hook/h at station C in February 2014 while the lowest on 3.33 g/hook/h at station A in November 2014. The monthly average catch rate of each station was the highest in C, followed by B and A, there was no statistical difference (P<0.05). Species composition by trammel net was found 21 species consists of 18 fish species and 3 squid species. Alepes djedaba was the highest percentage caught as 70.76. While hooks and line caught only 7 fish species, mostly Alepes djedaba was the highest percentage caught on 91.52. Comparison on the catch composition between trammel nets with hooks and line, it found that fish species caught by hooks and line was less species than trammel nets. The first and second high proportion species catch were Trevally and Short- bodied mackerel which live above the artificial reefs (3 types) as same with the trammel nets.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-03-31
เอกสารแนบ: https://www.fisheries.go.th/marine/research/files/th/42560.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดเพชรบุรี
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาลักษณะพื้นทะเล การจมตัว และชนิดสัตว์น้ำที่อาศัยบริเวณกองปะการังเทียม จังหวัดเพชรบุรี
กรมประมง
31 มีนาคม 2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมประมง
การศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชาวประมงในการจัดสร้างและบริหารจัดการปะการังเทียมจังหวัดเพชรบุรี การเปรียบเทียบโครงสร้างประชาคมและผลจับสัตว์น้ำระหว่างแปล่งปะการังเทียมและและกลุ่มปะการังเทียมบริเวณจังหวัดพังงา ศักยภาพของพื้นที่ในการจัดสร้างปะการังเทียมเพื่อการประมง ชนิดและปริมาณของสัตว์เกาะติดขนาดใหญ่บนพื้นผิวปะการังเทียมที่จัดวางในระดับความลึกน้ำต่างกันบริเวณจังหวัดปัตตานี ประชาคมปลาในปะการังเทียมที่จัดวางในระดับความลึกน้ำต่างกันบริเวณจังหวัดปัตตานี ความชุกชุมของปลาบริเวณปะการังเทียม จังหวัดนราธิวาส สัตว์เกาะติดขนาดใหญ่บนพื้นผิวปะการังเทียม จังหวัดนราธิวาส องค์ประกอบชนิดของแพลงก์ตอนพืชทะเล และแพลงก์ตอนสัตว์ทะเล บริเวณแหล่งปะการังเทียมบ้านเกาะมุก จังหวัดตรัง การศึกษาเปรียบเทียบพรรณปลาบริเวณปะการังเทียม ที่จัดสร้างด้วยวัสดุต่างกัน ในจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส การศึกษาชนิด ปริมาณ และมูลค่าการนำเข้าส่งออกสินค้าสัตว์น้ำ ทางด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสระแก้ว ระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2557

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก