สืบค้นงานวิจัย
ผลของการเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยต่อคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณแคโรทีนอยด์
จงดี ศรีนพรัตน์วัฒน, จามรี เครือหงษ์, ปริญญา พันบุญมา, สุรภี ประชุมพล - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อเรื่อง: ผลของการเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยต่อคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณแคโรทีนอยด์
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Preservation of Thai Fairy Shrimp (Branchinella thailandensis) on Nutritionand Total Carotenoids
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ไรน้ำนางฟ้าไทยมีศักยภาพในการใช้เป็นอาหารสัตว์น้ำทั้งในรูปมีชีวิตและแช่แข็ง การวิจัยนี้ศึกษาการเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยตัวเต็มวัยทั้งในรูปมีชีวิตและแช่แข็งเพื่อรักษาคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณแคโรทีนอยด์ แบ่งออกเป็น 3 การทดลองคือ การทดลองที่ 1 อิทธิพลของความหนาแน่นและการบรรจุออกซิเจนต่ออัตราการรอดตายของไรน้ำนางฟ้าไทยที่เก็บรักษาแบบมีชีวิตเพื่อการขนส่ง วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด 2 ปัจจัย (5X3 Factorial in Randomized Complete Block Design) 5 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 ความหนาแน่นของไรน้ำนางฟ้าไทย คือ 20 40 60 80 และ 100 ตัวต่อปริมาตรน้ำ 100 มิลลิลิตร ปัจจัยที่ 2 การบรรจุไรน้ำนางฟ้า คือ ไม่มีออกซิเจน ออกซิเจนผง และ แก๊สออกซิเจน ผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลานานขึ้นและความหนาแน่นสูงขึ้นส่งผลทำให้อัตราการรอดตายของไรน้ำนางฟ้าไทยลดต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ปัจจัยของการบรรจุออกซิเจนผงและแก๊สออกซิเจนมีค่าเฉลี่ยอัตรารอดสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับไม่บรรจุออกซิเจนในทุกชั่วโมง สามารถเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยได้ดี ภายในเวลา 6 ชั่วโมง สามารถเก็บไรน้ำนางฟ้าไทยบรรจุแก๊สออกซิแจนสูงที่สุด 100 ตัวต่อ 100 มิลลิลิตรมีอัตรารอดตายเท่ากับ 100.00?0.00 เปอร์เซ็นต์ และเก็บไรน้ำนางฟ้าไม่บรรจุออกซิเจนหรือบรรจุออกซิเจนผงได้เพียง 60 ตัวต่อปริมาตรน้ำ 100 มิลลิลิตร มีอัตราการรอดตายเท่ากับ 92.26?1.10 และ 98.58?2.03 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ การทดลองที่ 2 มี 5 ชุดการทดลองประกอบด้วย 1) น้ำกลั่น (ชุดควบคุม) 2) น้ำเกลือ 0.9 เปอร์เซ็นต์ 3) สารละลายกลูโคส 2 เปอร์เซ็นต์ 4) Hank’s balanced salt solution (HBSS) 5) Calcium Free Hank’s balanced salt solution (Ca-F HBSS) ใช้ความเข้มข้นของสารทุกชนิด 20 เปอร์เซ็นต์ เก็บที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 30 วัน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 3 ซ้ำ พบว่า น้ำเกลือ 0.9 เปอร์เซ็นต์ สารละลายกลูโคสความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ และ Ca-F HBSS มีระดับโปรตีนเท่ากับ 70.54?0.25, 69.85?0.20 และ 69.95?0.32 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับเก็บด้วยน้ำกลั่น และ HBSS มีโปรตีนเท่ากับ 68.84?0.23 และ 68.51?0.52 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ปริมาณสารแคโรทีนอยด์รวมของน้ำเกลือ 0.9 เปอร์เซ็นต์ สารละลายกลูโคส 2 เปอร์เซ็นต์ HBSS และ Ca-F HBSS ใกล้เคียงกัน มีค่าเท่ากับ 275.62?14.62 และ 284.27?4.99 ไมโครกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้งตามลำดับ แต่สูงกว่าเก็บด้วยน้ำกลั่น 243.27?13.64 ไมโครกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) การเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยแบบแช่แข็งโดยการใช้น้ำเกลือ 0.9 เปอร์เซ็นต์ และกลูโคส 2 เปอร์เซ็นต์ เป็นสารละลายที่เหมาะสมสำหรับในการเก็บรักษา ซึ่งสามารถทำให้ระดับโปรตีนและปริมาณสารแคโรทีนอยด์รวมสูงกว่าการเก็บรักษาด้วยวิธีอื่น ระดับโปรตีนของน้ำเกลือมีค่าสูงกว่ากลูโคสดังนั้นจึงเลือกใช้น้ำเกลือ 0.9 เปอร์เซ็นต์เพื่อดำเนินการต่อไปในการทดลองที่ 3 ประกอบด้วย 5 ชุดการทดลอง คือ เก็บไรน้ำนางฟ้าไทยที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลา 3 6 9 และ 12 เดือน เปรียบเทียบกับชุดควบคุม (ไรน้ำนางฟ้าไทยสด) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 3 ซ้ำ ระยะเวลาการเก็บไรน้ำนางฟ้าไทยทำให้คุณค่าทางโภชนาการและปริมาณแคโรทีนอยด์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ซึ่งโปรตีนและปริมาณสารของแคโรทีนอยด์ลดลงถึง 3.62 และ 20.16 เปอร์เซ็นต์เมื่อเก็บไรน้ำนางฟ้าไทยเป็นระยะเวลา 12 เดือน ดังนั้นจากการศึกษาดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า ภายในเวลา 6 ชั่วโมงสามารถเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยแบบมีชีวิตด้วยแก๊สออกซิเจนได้สูงสุด 100 ตัวต่อปริมาตรน้ำ 100 มิลลิลิตร แต่ไม่บรรจุออกซิเจนหรือบรรจุออกซิเจนผงได้เพียง 60 ตัวต่อปริมาตรน้ำ 100 มิลลิลิตร หากต้องการใช้ระยะเวลาการเก็บนานขึ้นสามารถลดความหนาแน่นของไรน้ำนางฟ้าไทยลง ส่วนการเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยแบบไม่มีชีวิตโดยวิธีแช่แข็ง สารละลายที่เหมาะสมคือ น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9 เปอร์เซ็นต์ มีระยะเวลาในการเก็บเพียง 1 เดือน โดยไม่ทำให้คุณค่าทางโภชนาการด้านโปรตีนและปริมาณสารแคโรทินอยด์เปลี่ยนแปลง
บทคัดย่อ (EN): Thai fairy shrimp (Branchinella thailandensis) has potential to be used as live and frozen feed for aquatic animals. The research project investigated the storage of adult Thai fairy shrimp in forms of living and frozen shrimp for preservation of nutritional value and carotenoid content. The study was divided into three experiments. The first experiment was conducted to determine effect of density and oxygen packaging on survival rate of Thai fairy shrimp when the living shrimp was stored for transportation. Design was 3x5 Factorial in Completely Randomized Design, 5 replicates. The first factor density of Thai fairy shrimp 20, 40, 60, 80 and 100 ind/ 100 ml of water and the second factor was packaging as no oxygen, oxygen powder (Sodium Percarbonate; 2Na2CO3. 3H2O2) and oxygen gas. The results showed that longer preservation times and higher preservation density contributed to a significantly decrease in the survival rate of Thai fairy shrimp (p <0.05). Effect of oxygen powder and oxygen gas on survival rate was significantly (p <0.05) higher with no oxygen content at every hours. Thai Fairy Shrimp were preserved well within 6 hours. Thai Fairy Shrimp concluded the highest 100 ind/ 100 ml of oxygen gas, survival rate was 100.00?0.00% and Thai Fairy Shrimp preserved no oxygen and oxygen powder only 60 ind/100 ml of water had survival rate was 92.26?1.10 and 98.58?2.03%, respectively. Experiment 2 had five treatments consisting of distilled water (control), saline 0.9%, glucose 2%, Hanks balanced salt solution (HBSS) and calcium free Hanks balanced salt solution (Ca- F HBSS). The concentration for all solution used was 20% and the samples were preserved at -20 ?C for 30 days. The treatments were assigned in a completely randomized design with three replications. Saline at the rate of 0.9%, glucose solution at the rate of 2% and Ca-F HBSS had protein contents of 70.54?0.25, 69.85?0.2 and 69.95?0.31%, respectively, and the contents were significantly (P<0.05) higher than those of distilled water (68.84?0.23%) and HBSS (68.51?0.52%). Saline at the rate of 0.9%, glucose at the rate of 2%, HBSS, and Ca-F HBSS had similar total carotenoid contents were 275.62?14.62 to 284.27?4.99 ?/ g dry weight respectively, but they were significantly (p <0.05) higher than that of distilled water (243.27?13.64 ?/ g dry weight respectively). Saline at the rate of 0.9% and glucose at the rate of 2% were most suitable for storage of frozen Thai fairy shrimp, and the methods could maintain the highest levels of total protein and total carotenoid content. Saline of 0.9% also gave higher protein content than did of glucose at 2%, and therefore saline solution was used in experiment 3. The experiment consisted of five frozen preserve times for 0 (freshly harvested Thai fairy shrimp), 3, 6, 9 and 12 months at -20 ?C, and the treatments were arranged in a completely randomized design (CRD) with three replications. Preserve time significantly (p <0.05) reduced nutritional value and carotenoid content of frozen Thai fairy shrimp, and protein content (3.62%) and carotenoid content (20.16%) were lowest at 12 months after preserve. It can be concluded that Thai Fairy Shrimp were preserved well within 6 hours. Thai Fairy Shrimp concluded the highest 100 ind/ 100 ml of oxygen gas and Thai Fairy Shrimp preserved no oxygen and oxygen powder only 60 ind/100 ml of water. Reduction in population density of Thai fairy shrimp in live preserve would result in longer preserve time. For frozen preserve, application of saline at the rate of 0.9% gave the best results, and the frozen Thai fairy shrimp can be preserved for a month without significant changes in protein content and carotenoid content.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยต่อคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณแคโรทีนอยด์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
30 กันยายน 2560
การเปรียบเทียบชนิดสารละลายที่แตกต่างกันต่อคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณแคโรทีนอยด์รวมของไรน้ำนางฟ้าไทยแช่แข็ง การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของไรน้ำนางฟ้าสิรินธรและไรน้ำนางฟ้าไทย การวิจัยกระบวนการเก็บรักษา และอายุวางจำหน่าย ของน้ำคั้นต้นกล้าและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธัญพืชไทย การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis) ด้วย อาหารต่างชนิดกัน เพื่อเป็นอาหารเร่งสีปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris Curvier, 1893) ปริมาตรที่เหมาะสมของน้ำกลั่นในการเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis) เพื่อเป็นอาหารสัตว์น้ำ การใช้ไรน้ำนางฟ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจในจังหวัดตรัง การใช้ยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM (Effective Microorganisms) ในการผลิตไรน้ำนางฟ้าไทยคุณภาพ การวิเคราะห์ เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ แปรรูป และการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหารจากไหมป่า การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM รูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการเพาะฟักไข่ไรน้ำนางฟ้าไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก