สืบค้นงานวิจัย
การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus × O. mossambicus)
คุณนิธี ลีลารัศมี - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus × O. mossambicus)
ชื่อเรื่อง (EN): Use of papaya leaf meal in red tilapia (Oreochromis niloticus × O. mossambicus) diet
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: คุณนิธี ลีลารัศมี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Khunnitee Leelarasamee
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาผลการใช้ใบมะละกอป่นผสมในอาหารปลานิลแดง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอดที่มี 4 ชุด การทดลองละ 3 ซ้ำ เลี้ยงปลาน้ำหนักเริ่มต้น 5.46 ± 0.07 ก.ที่ความหนาแน่น 30 ตัว/ถัง ให้อาหารผสมใบมะละกอ 0, 7, 14 และ 21% เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าการเจริญเติบโตของปลาจะลดลงเมื่อปริมาณของใบมะละกอในอาหารเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ปลาที่ได้รับอาหารผสมใบมะละกอ 21 % มีน้ำหนักเฉลี่ย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะต่ำที่สุด (19.43 ± 1.10 ก., 256.59 ± 30.01 % และ 2.27 ± 0.15 %/ตัว/วัน ตามลำดับ) ในขณะที่อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ มีค่าสูงที่สุด (3.36 ± 0.64) แตกต่างจากปลากลุ่มอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ (P <0.05) ทั้งนี้ค่าดัชนีตับ ดัชนีความสมบูรณ์เพศ ปริมาณเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดงอัดแน่นของปลาอยู่ในเกณฑ์ปกติและไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ระหว่างชุดการทดลอง (P > 0.05) ต้นทุนค่าอาหารต่อผลผลิตของปลาที่ได้รับอาหารผสมใบมะละกอ 0, 7 และ 14 % มี ค่าไม่แตกต่างกันแต่ต่ำกว่าปลาที่ได้รับอาหารผสมใบมะละกอ 21 % ทั้งนี้ปลาที่ได้รับอาหารผสมใบมะละกอตั้งแต่ 7 % ขึ้นไป สีของลำตัวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเพราะได้รับสารสีเบตาแคโรทีนจากใบมะละกอ สรุปได้ว่าการผสมใบมะละกอใน อาหารทำให้การเจริญเติบโตของปลานิลแดงลดลง และไม่มีผลในการลดต้นทุนการผลิตปลา
บทคัดย่อ (EN): Effect of papaya leaf meal in red tilapia diets was evaluated using a completely randomized design with 4 treatments and 3 replicates. Juvenile red tilapia with initial weight of 5.46 ± 0.07 g were raised at the density of 30 fish/tank. The fish were fed with experimental diets containing 0, 7, 14, and 21% of papaya leaf meal for a period of 8 weeks. Results indicated that fish growth decreased significantly with the increasing levels of papaya leaf meal in diets. Final body weight of red tilapia fed 21% papaya leaf meal diet was the lowest (19.43 ± 1.10 g.), while feed conversion ratio was the highest (3.36 ± 0.64) which was significantly different from other treatments (P < 0.05). Hepatosomatic index, gonadosomatic index, red blood cell count, white blood cell count, and haematocrit of fish in all treatments were normal and did not show any significant difference (P > 0.05). In terms of production, the highest feed cost was found in fish fed 21% papaya leaf diet while feed cost of the other 3 treatments were not significantly different. In addition, the coloration changes of red tilapia body from pink to yellowish were observed in fish fed diets containing 7-21% papaya leaf meal. In conclusion, increasing levels of papaya leaf meal in red tilapia diet resulted in decreasing growth performance and increased feed cost.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P771.pdf&id=1376&keeptrack=8
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus × O. mossambicus)
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาการใช้ประโยชน์จากเมล็ดมะขามป่นในอาหารปลานิลแดง สัดส่วนเศษปลาหมักผงที่เหมาะสมในการทดแทนปลาป่นและกากถั่วเหลืองในอาหารปลานิลแดง การใช้กระเจี๊ยบแดงผสมอาหารเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลานิล ข้อมูลเบื้องต้นของอาหารปลาราคาถูกจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลานิล การใช้เศษเหลือของกากถั่วดาวอินคาเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนในอาหารปลานิลแดง การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดกระเทียมเสริมอาหารในการเลี้ยงปลานิลเพื่อการผลิตอาหารปลอดภัย ผลของระดับคลอโรฟิลล์และอัตราการกรองต่อผลผลิตของปลานิล (Oreochromis niloticus) ที่ใช้กากเหลือจากการหมักมูลสุกรเพิ่มอาหารธรรมชาติในบ่อดิน การใช้ใบถั่วอาหารสัตว์ในอาหารลูกโคนม การใช้มันสำปะหลังผสมในอาหารสำหรับเลี้ยงปลาแรดในกระชัง เปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย(Clariasmacrocephalus X Clariasgariepinus )ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้และไม่ใช้ปลานิล( Oreochromisniloticus )เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารปลอดภัย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก