สืบค้นงานวิจัย
พลวัตของสังคมเกษตรบริเวณเขตชายฝั่งอ่าวปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
สมยศ ทุ่งหว้า - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: พลวัตของสังคมเกษตรบริเวณเขตชายฝั่งอ่าวปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมยศ ทุ่งหว้า
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Somyot Thungwa
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาพลวัตของสังคมเกษตรบริเวณชายฝั่งอ่าวปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช โดยใช้เทคนิคการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจสังคม และการใช้พื้นที่ในสังคมเกษตรของท้องถิ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดภาวะวิกฤตแก่ชาวนาบริเวณชายฝั่งจนถึงปัจจุบันคือผลิตภาพของแรงงานในการทำนาลดต่ำลงตลอดมา ทำให้แรงงานที่มีประสิทธิภาพเคลื่อนย้ายออกจากระบบการทำเกษตรและประมงชายฝั่งไปเป็นลูกจ้างในอุตสาหกรรมประมงรอบชายฝั่ง หรือเป็นลูกจ้างในฟาร์มนากุ้งของนายทุน รวมทั้งมีการอพยพออกจากพื้นที่ไปรับจ้างยังเมืองใหญ่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายเกี่ยวกับความทันสมัยในการพัฒนาเกิดผลประโยชน์แก่ชาวนารายย่อยน้อยมาก จึงได้เสนอแนะแนวทางพัฒนาเพื่อให้เกิดดุลยภาพในการพัฒนา ได้แก่ การให้ความสำคัญในการจัดสรรทุน ความรู้ การพัฒนาองค์กร เกษตรกรรายย่อยที่มีความประสงค์ในการทำนากุ้งให้สามารถร่วมกันจัดระบบทำนากุ้งที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถแข่งขันกับนายทุนได้รวมทั้งสนับสนุนให้มีการจัดทำไร่นาสวนผสมส่งเสริมการเลี้ยงโคในพื้นที่นาเพื่อป้องกันการเสี่ยงของชาวนา ประการสุดท้ายคือควรหาแนวทางในการพัฒนาประมงชายฝั่งสำหรับชาวประมงรายย่อยด้วย
บทคัดย่อ (EN): Qualitative research techniques were used in the study to understand dynamic of agrarian society in Pak-Phanang coastal area, Nakorn Sri Thammarat province. It is found that changing in socio-economic and land use patterns of the society since 1937 resulted in farmer crisis in terms of declining of labour productivity in rice farming. A large number of active persons has been moving out of the farming practice and seeking for works in fishery related industries, commercial shrimp farming of within area and in other big towns. This was mainly due to the application of the modernization approach of development policies to the region has given minor benefit to small-scale farmers. It is suggested that development strategies have to be carefully designed towards the equity of the society. Therefore, the strategies should be focused on allocation of capital, provision of knowledge and information and development of institutions to assist small-scale famers, who wish to do shrimp farming to compete with large-scale shrimp firms. The rice farmers should be encouraged to diversify their farming systems as well as to improve livestock production, especially cattle. Finally, any agencies concerned should find out the strategies to develop small-scale fisheries toward sustainability.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2535
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2536
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
พลวัตของสังคมเกษตรบริเวณเขตชายฝั่งอ่าวปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
กรมส่งเสริมการเกษตร
2536
คุณภาพน้ำบริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช ความชุกชุมของสัตว์น้ำบริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช การประมงทะเลพื้นบ้านบริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช ชีววิทยาบางประการของปูทะเลชนิด Scylla serrata (Forskal, 1755) บริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตชายฝั่ง 10 ไมล์ทะเลบริเวณ ฝั่งทะเลอันดามัน การประมงปลาเขือแดง (Trypauchen vagina) บริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลากระบอกดำ (Liza subviridis) บริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช การศึกษาสภาวะทรัพยากรประมงทะเลเพื่อการฟื้นฟูอ่าวนครศรีธรรมราช การกระจายและแหล่งที่มาของสารอินทรีย์ในดินตะกอนบริเวณชายฝั่งทะเล เทศบาลเมืองชลบุรี สภาวะการประมงอวนลากในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา ปี 2556

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก