สืบค้นงานวิจัย
ฝากสะสมปุ๋ยหมัก 25 ปี แม่ธรณีให้ผลผลิตข้าวหอมมะลิดีและยั่งยืน
กรรณิกา นากลาง - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: ฝากสะสมปุ๋ยหมัก 25 ปี แม่ธรณีให้ผลผลิตข้าวหอมมะลิดีและยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): Twenty five - year of compost deposit, Mother Land gives good and sustainable yield of Hom Mali Rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรรณิกา นากลาง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kunnika Naklang
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ได้ทดลองใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวและปุ๋ยเคมีระยะยาวติดต่อกันนาน 25 ปี ตั้งแต่ปี 2519-2543 แล้วหยุดใส่ปุ๋ยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2553 ในนาดินทรายปนดินร่วน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ วางแผนการทดลองแบบ split plot จำนวน 3 ซ้ำ มี 2 ปัจจัยหลักคือไม่ใส่ปุ๋ยเคมี กับใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 8-4-4 กิโลกรัม ของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ ปัจจัยรองคือใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าว 5 อัตรา ปี พ.ศ. 2519-2540 ปลูกข้าวพันธุ์ กข7 ต่อมาปลูกพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เพื่อทดสอบผลการสะสมของปุ๋ย ผลการทดลอง 25 ปี ที่ใส่ปุ๋ยผลผลิตข้าวเฉลี่ย เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวได้ 523 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าแปลงไม่ใส่ปุ๋ยซึ่งได้ผลผลิต 380 กิโลกรัมต่อไร่ 37.6 เปอร์เซ็นต์ การใส่ปุ๋ยหมักอย่างเดียวอัตรา 500, 1,000, 1,500 และ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ได้ผลผลิตข้าว 448, 501, 529 และ 558 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ แต่เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับการใส่ปุ๋ยหมักได้ผลผลิต 613, 633, 663 และ 690 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ผลวิเคราะห์ดินหลังการเก็บเกี่ยวข้าวปีที่ 26 พบว่า ความเป็นกรดเป็นด่าง ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมในดินเพิ่มขึ้นตามอัตราปุ๋ยหมักฟางข้าวที่เพิ่มขึ้น เมื่อใส่ปุ๋ยหมัก 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี ดินมีอินทรียวัตถุสูงสุด 1.96 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมมีปริมาณ 58 และ 13 มิลลิกรัมต่อดิน 1 กิโลกรัม ตามลำดับ เมื่อหยุดการใส่ปุ๋ย 10 ปี พบว่าผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 เฉลี่ยจากแปลงที่ไม่เคยใส่ปุ๋ยและเคยใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวได้ 408 และ 453 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ผลสะสมของปุ๋ยหมักอย่างเดียวอัตรา 500, 1,000, 1,500 และ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ได้ผลผลิต 462, 508, 523 และ 545 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ผลสะสมของปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยหมักได้ผลผลิต 486, 506, 532 และ 535 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งพบว่าการใส่ปุ๋ยหมักหรือการใส่ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีในระยะยาวยังสามารถรักษาระดับผลผลิตที่ดีกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว พวกเราหวังว่าแม่ธรณีจะให้ผลผลิตข้าวในนาที่ใส่ปุ๋ยหมักดีไปอีกหลายปี
บทคัดย่อ (EN): Surin Rice Research Center conducted a long-term experiment of rice straw compost and chemical fertilizer applied continuously for 25 years from 1976-2000 then stop applying any fertilizer from 2001-2010 in loamy sand infertile soil. Split plot design with 3 replications was used. Two main plots were with and without chemical fertilizer at the rate of 8-4-4 kg of N-P2O5-K2O kg/rai. Subplots were 5 rates of rice straw compost. RD7 rice variety was planted continuously for 22 years, then replaced by KDML105 variety to test the accumulated deposit of fertilizer. The results of the 25 years applied fertilizer, average rice yield of only chemical fertilizer applied was 523 kg/rai, which was 37.6% higher than without any fertilizer. The application of only compost at the rate of 500, 1,000, 1,500 and 2,000 kg/rai produced yield of 448, 501, 529, and 558 kg/rai, respectively whereas combined with chemical fertilizer produced yield of 613, 633, 663, and 690 kg/rai, respectively. Yield increased as increasing the rate of rice straw compost. Soil analysis after 26 years of continuously compost allocation was found to be increased in soil pH, organic matter, P and K with increasing the rate of rice straw compost. The application of 2,000 kg/rai compost with chemical fertilizer resulted in 1.97% soil had organic matter, 58 and 13 mg/kg soil P and K, respectively. After stop application fertilizer for 10 years, average yield of KDML 105 without any fertilizer plot was 408 kg/rai and with only chemical fertilizer residue was 453 kg/rai . Average rice yield of only compost deposit at the rate of 500, 1,000, 1,500 and 2,000 kg/rai were 462, 508, 523 and 545 kg/rai, respectively whereas compost with chemical fertilizer deposit rice yield were 486, 506, 532 and 534 kg/rai, respectively. These results showed that long term application of compost or compost combine with chemical fertilizer can still enhance higher yield than those of application only chemical fertilizer. Hopefully, Mother land still give us good yield of Hom Mali Rice in compost deposit field for many more years.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2519
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/329720
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ฝากสะสมปุ๋ยหมัก 25 ปี แม่ธรณีให้ผลผลิตข้าวหอมมะลิดีและยั่งยืน
กรมการข้าว
2553
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม ผลการรณรงค์เพิ่มผลผลิตข้าวคุณภาพดี ปี 2540 การทดสอบผลผลิตของพันธุ์ข้าวตามระดับความเหมาะสมของดิน ในเขตจังหวัดราชบุรี รูปพรรณข้าวขึ้นน้ำผลผลิตสูง อิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มีต่อผลผลิตของถั่วแกรมสไตโล (1)ในดินชุดบ้านทอน อัตราปุ๋ยที่มีผลต่อผลผลิตและองค์ประกอบทางเคมีของหญ้าขนพันธุ์ควีนส์แลนด์และพันธุ์พื้นเมือง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก