สืบค้นงานวิจัย
โครงการบ่มเพาะเทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากความหลากหลายทางชีวภาพ
กรรณิกา ศรีลัย - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการบ่มเพาะเทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากความหลากหลายทางชีวภาพ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรรณิกา ศรีลัย
คำสำคัญ: บ่มเพาะเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แชมพูกำจัดเหาที่มีส่วนประกอบสำคัญจากหนอนตายหยาก มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้สามารถตอบสนอง ความต้องการของชุมชน เนื่องจากปัญหาเหาที่ระบาดอย่างมากในโรงเรียน ซึ่งก่อความรำคาญให้กับนักเรียน เป็นอย่างมาก จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูล พบว่า หนอนตายหยาก (Stemona tuberosa Lour.) สามารถฆ่าเหาได้ จึงได้นำรากหนอนตายหยากที่มีอยู่กระจายในพื้นที่สูงมาสกัดสารออกฤทธิ์ โดยนำรากหนอนตายหยากมาหั่นแล้วผึ่งให้แห้ง หลังจากนั้นบดให้ละเอียดก่อนนำมาแช่ในตัวทำละลายเอทานอล หมักทิ้งไว้ 3 วัน จากนั้นนำมากรอง แล้วจึงนำมาระเหยเอาตัวทำละลายออกให้หมดด้วยเครื่องระเหยสารแบบหมุน (Rotary evaporator) พบว่า สารสกัดหยาบจากหนอนตายหยากที่สกัดด้วยเอทานอลมีลักษณะเป็นของเหลวค่อนข้างหนืด สีน้ำตาลแดง สารสกัดจากว่านน้ำ มีเปอร์เซ็นต์สารสกัดหยาบที่ได้ต่อน้ำหนักวัตถุดิบแห้ง เท่ากับ 2.39 เปอร์เซ็นต์ เก็บในขวดสีชา และเก็บในตู้เย็น ในส่วนของการตั้งสูตรตำรับแชมพูกำจัดเหา ได้ทำการสำรวจผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ประกอบกับการสอบถาม จึงคัดเลือกแชมพูที่มีลักษณะใส (Clear shampoo) ซึ่งสูตรตำรับแชมพูที่พบโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยสารชำระล้างหลัก สารชำระล้างรอง สารบำรุงเส้นผม สารเพิ่มความหนืด สารที่ทำให้ฟองอยู่ตัว สารกันเสีย และสารที่เป็นตัวออกฤทธิ์ ในสัดส่วนต่างกัน (ดังตารางที่ 2) และเมื่อนำไปทดสอบประสิทธิภาพในการกำจัดเหากับอาสาสมัคร พบว่า นักเรียนที่เป็นเหาส่วนใหญ่ พึงพอใจในกลิ่น และฟองของแชมพู นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถกำจัดตัวเต็มวัยของเหาได้ โดยพบว่าเมื่อใช้หวีสาง เส้นผมภายหลังจากสระแล้วจะมีตัวเต็มวัยของเหาหลุดร่วงออกมาด้วย แต่ไข่ของเหายังไม่ฝ่อ ดังนั้น จึงควรหมักทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีก่อนจึงล้างออก ซึ่งจะสามารถช่วยทำให้ไข่เหาฝ่อได้ ทั้งนี้ยังต้องมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่อไปอีก เมื่อนำสูตรตำรับผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่คัดเลือกได้มาคำนวณต้นทุนเบื้องต้น พบว่า ต้นทุนเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์คิดเป็น 62.84 บาทต่อ 100 กรัม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการบ่มเพาะเทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากความหลากหลายทางชีวภาพ
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2555
โครงการประเมินระดับความพร้อมของเทคโนโลยีที่เกิดจากผลิตภัณฑ์บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพในการพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โครงการสื่อความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังและพื้นที่ใกล้เคียงทะเลอันดามัน โครงการสื่อความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังและพื้นที่ใกล้เคียงทะเลอันดามัน การศึกษาความหลากหลายและโครงสร้างของสังคมพืชบริเวณพื้นที่เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โครงการวิจัยและบ่มเพาะเทคโนโลยีการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง การสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าจากไหมป่า การสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากเส้นใยไหมป่า การพัฒนาศักยภาพของหม่อนผลสดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความยั่งยืนทางการเกษตรเชิงพื้นที่ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีดินผสมและปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มมูลค่าบัว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก