สืบค้นงานวิจัย
การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรในจังหวัดเชียงใหม่
รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรในจังหวัดเชียงใหม่
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชน สภาพการผลิตการตลาด การบริหารจัดการ และระดับศักยภาพความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่ความเข้มแข็ง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรในจังหวัดเชียงใหม่ที่เกิดจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR)โดยมีวิธีการดำเนินการศึกษาวิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ตามคำแนะนำของสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ และตามจำนวนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 4 กลุ่มจากทั้งหมด 125 วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีศักยภาพสามารถสู่การยกระดับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่อไป ได้แก่ ในพื้นที่อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอสันทราย อำเภอหางดง อำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอแม่ริม และเก็บข้อมูลรวบรวมจากผู้บริโภค และนักท่องเที่ยวโดยรวมทั้งสิ้นประมาณ 400 ราย และกลุ่มตัวแทนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแต่ละแห่ง แสดงถึง การประสานงานความร่วมมือในการรวมกลุ่มกันดำเนินธุรกิจระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ร่วมค้า และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน ความร่วมมือทั้งผู้นำหน่วยงานภาครัฐและผู้นำชุมชน ต้องมีความพร้อม ความร่วมมืออย่างเต็มที่ โดยมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ร่วมกันที่มาจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและชุมชน ข้อเสนอแนะควรมีการทำการศึกษาวิจัยและพัฒนา ในด้านการบริหารจัดการในทุกๆด้าน เช่น ด้านการจัดทำบัญชีต้นทุน เป็นต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานองค์กรมากยิ่งขึ้น
บทคัดย่อ (EN): This study aimed to 1) Study the community context, production and marketing conditions, and strength pintail level analyse of factors affecting the development leading to strength, proposed guidelines for the development of the community in Chiang Mai by mean of Participatory Action Research (PAR). The samples were selected according to of academician in Chiang Mai Provincial Extension Office and Chiang Mai Provincial Community Development Office. They were divided into 4 groups from 125 groups in Sansai, Hang Dong, Doi Saket,and Mae Rim where the community enterprises are potential to improve efficiency of the groups. Data was collected from 400 consumers’ tourists and representative in government and private agenises. It was found that participatory management of the community enterprise showed collaboration related to business grouping among member in the community enterprise, joint venture, and government agencies in community product. The collaboration of government agency and community leaders must be ready and full to achieve common goals. The suggestion of study should research and develop management of every aspect involve for example the cost accounting with community resulting efficiency of performance managements
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเศรษฐศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-60-049
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://it.mju.ac.th/researchDetailPublic.aspx?rid=4874
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรในจังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2560
เอกสารแนบ 1
การศึกษากระบวนการปลูกกาแฟ การแปรรูปกาแฟ และการบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ จังหวัดชุมพร การพัฒนาเครื่องจักรกึ่งอัตโนมัติสำหรับการคว้านเมล็ดและปอกเปลือกเงาะเพื่อการแปรรูปผลผลิตระดับวิสาหกิจชุมชน ต้นแบบกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำพริกกลุ่มวอเตอร์แอกติวิตี้สูงในระดับวิสาหกิจชุมชน (SMCE) เพื่อการยกระดับคุณภาพ ความปลอดภัย และยืดอายุการเก็บรักษา การศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปไม้ไผ่ ในเขตปฏิรูปที่ดินตำบลถ้ำฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน : กรณีโรงสีชุมชนครบวงจรตำบลไก่คำ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ การปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขนมทองม้วนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปบ้านกุดกุ่ม ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกยางพารา ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ การจัดการความรู้เพื่อยกระดับมาตรฐานการจัดการวิสาหกิจชุมชน (มจก) อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ การจัดการความรู้ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวฮางในจังหวัดสกลนคร โครงการศึกษาการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก