สืบค้นงานวิจัย
ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโต การฟื้นตัวจากการขาดน้ำและการเพิ่มผลผลิตของข้าวนาน้ำฝน 5 พันธุ์
อิสรา สุขสถาน, สุชาดา บุญเลิศนิรันดร์, กฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโต การฟื้นตัวจากการขาดน้ำและการเพิ่มผลผลิตของข้าวนาน้ำฝน 5 พันธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Chiosan on Growth, Drought Recovery and Yield Potential on Five Cultivars Rainfed Rice
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวนาน้ำฝน 5 พันธุ์ ได้ทดลองที่ศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา (หันตรา) ระหว่างเดือนสิงหาคม – ธันวาคม 2551 แต่เนื่องจากมีน้ำหลากท่วมคันดินที่ล้อมรอบแปลงทดลองของสถานีในช่วงข้าวออกรวง ทำให้แปลงทดลองข้าวเสียหาย เหลือเพียงแปลงข้าวพันธุ์น้ำลึกอยุธยา 1 จึงเสนอผลที่สามารถเก็บบันทึกได้ดังนี้ การทดลองวางแผนเป็นแบบ split plot มี 3 ซ้ำ main plot คือ การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการใส่ปุ๋ยแบบเกษตรกร และ sub plot ได้แก่ การฉีดพ่นไคโตซาน และไคโตซานปูแดง (จำหน่ายในท้องตลาด) เปรียบเทียบกับการไม่ฉีดพ่น ผลการทดลองพบว่า การเจริญเติบโตวัดเป็นความสูงของข้าวพันธุ์อยุธยา 1 ในระยะกล้า ระยะออกรวง และระยะเก็บเกี่ยว ไม่แตกต่างกันในทางสถิติ จากผลของการฉีดไคโตซาน 2 ชนิดกับการไม่ฉีดพ่น ส่วนผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิต การฉีดพ่นไคโตซานทั้ง 2 ชนิดกับการไม่ฉีดพ่นก็ให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่ผลผลิตจากแปลงที่ฉีดไคโตซานมีแนวโน้มว่าจะดีกว่าแปลงที่ไม่ฉีดพ่น แม้จะประสบสภาวะน้ำท่วมหนัก จึงควรได้ทำการทดลองซ้ำในพื้นที่หลายแห่งในสภาวะปกติการศึกษาผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวนาน้ำฝน 5 พันธุ์ ได้ทดลองที่ศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา (หันตรา) ระหว่างเดือนสิงหาคม – ธันวาคม 2551 แต่เนื่องจากมีน้ำหลากท่วมคันดินที่ล้อมรอบแปลงทดลองของสถานีในช่วงข้าวออกรวง ทำให้แปลงทดลองข้าวเสียหาย เหลือเพียงแปลงข้าวพันธุ์น้ำลึกอยุธยา 1 จึงเสนอผลที่สามารถเก็บบันทึกได้ดังนี้ การทดลองวางแผนเป็นแบบ split plot มี 3 ซ้ำ main plot คือ การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการใส่ปุ๋ยแบบเกษตรกร และ sub plot ได้แก่ การฉีดพ่นไคโตซาน และไคโตซานปูแดง (จำหน่ายในท้องตลาด) เปรียบเทียบกับการไม่ฉีดพ่น ผลการทดลองพบว่า การเจริญเติบโตวัดเป็นความสูงของข้าวพันธุ์อยุธยา 1 ในระยะกล้า ระยะออกรวง และระยะเก็บเกี่ยว ไม่แตกต่างกันในทางสถิติ จากผลของการฉีดไคโตซาน 2 ชนิดกับการไม่ฉีดพ่น ส่วนผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิต การฉีดพ่นไคโตซานทั้ง 2 ชนิดกับการไม่ฉีดพ่นก็ให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่ผลผลิตจากแปลงที่ฉีดไคโตซานมีแนวโน้มว่าจะดีกว่าแปลงที่ไม่ฉีดพ่น แม้จะประสบสภาวะน้ำท่วมหนัก จึงควรได้ทำการทดลองซ้ำในพื้นที่หลายแห่งในสภาวะปกติ
บทคัดย่อ (EN): Field experiment was conducted to determine growth and yield of 5 rainfed rice varieties at Pra Nakorn Sri Ayuttaya Rice Research Center (Huntra) during August-Decenber 2008. Unfortunately, heavy flooded in October 2008 destroyed 4 rice varieties plots except those of Ayuttaya 1 deep water rice variety. Thus, only Ayuttaya 1 variety could be harvested and will be presented as follows: The experimental design was split plot with 3 replications. Main plots were soil analysis fertilizer application and farmer fertilizer application while subplots were application of chitoson (laboratory prepare), chitosan (Poodang from company) compared to control (non-spray). The results revealed that all treatments showed no significant in plant growth during seedling, flowering and harvesting stages. No significant in seed yield and yield component were also obtained but it was observed that seed yield from chitosan sprayed plots trended to perform better than that of non-sprayed, even in the severe flooded before harvesting time. So, the experiment should be repeated in different locations and in the normal condition. Field experiment was conducted to determine growth and yield of 5 rainfed rice varieties at Pra Nakorn Sri Ayuttaya Rice Research Center (Huntra) during August-Decenber 2008. Unfortunately, heavy flooded in October 2008 destroyed 4 rice varieties plots except those of Ayuttaya 1 deep water rice variety. Thus, only Ayuttaya 1 variety could be harvested and will be presented as follows: The experimental design was split plot with 3 replications. Main plots were soil analysis fertilizer application and farmer fertilizer application while subplots were application of chitoson (laboratory prepare), chitosan (Poodang from company) compared to control (non-spray). The results revealed that all treatments showed no significant in plant growth during seedling, flowering and harvesting stages. No significant in seed yield and yield component were also obtained but it was observed that seed yield from chitosan sprayed plots trended to perform better than that of non-sprayed, even in the severe flooded before harvesting time. So, the experiment should be repeated in different locations and in the normal condition.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโต การฟื้นตัวจากการขาดน้ำและการเพิ่มผลผลิตของข้าวนาน้ำฝน 5 พันธุ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2551
ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ การศึกษาประสิทธิภาพของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของปทุมาพันธุ์ลัดดาวัลย์ การใช้ไคโตซานในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในเมล็ดพันธุ์ (ระยะที่ 2) การใช้ประโยชน์ของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพดอกดาวเรือง การใช้ไคโตซานในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในเมล็ดพันธุ์ (ระยะที่ 1) ผลของไคโตซานและไมคอร์ไรซ่าที่มีต่อสรีรวิทยาการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวาน (Zea mays L. var. saccharata) ผลไคโตซานต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีวิทยา การเจริญเติบโต และ ศักยภาพการให้ผลผลิตของข้าวภายใต้สภาพโรงเรือนดัดแปลงอุณหภูมิสูง ผลของการขาดน้ำต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและปริมาณน้ำมันในเมล็ดทานตะวัน การประยุกต์ใช้ไคโตซานร่วมกับสารสกัดจากสับปะรดและมะละกอเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรคแอนแทรกโนสในพริกในพื้นที่ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของยางพารา ปีที่1
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก