สืบค้นงานวิจัย
โรคสแคปขององุ่น (Sphaceloma ampelinum de Bary)
กรรณิการ์ เพี้ยนภักตร์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โรคสแคปขององุ่น (Sphaceloma ampelinum de Bary)
ชื่อเรื่อง (EN): Sphaceloma ampelinum of Grape Scab in thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรรณิการ์ เพี้ยนภักตร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kanika Pienpuck
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ: องุ่น
คำสำคัญ (EN): Grape Disease Scab
บทคัดย่อ: เชื้อรา Sphaceloma ampelinum ตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2533 จากผลองุ่นเป็นโรค Scab หรือรู้จักกันทั่วไปในหมู่ของชาวสวนองุ่น โรค "อีบุบ" เพื่อให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโรคนี้ จึงได้ทำการศึกษาในปีต่อมาพบว่า โรคนี้นอกจากพบเชื้อที่ผลแล้ว ยังตรวจพบที่กิ่ง ใบ เถา และก้านช่อ โดยเฉพาะบริเวณเนื้อเยื่อเจริญหรือส่วนที่ยังอ่อนพบว่าเป็นโรครุนแรงกว่าส่วนอื่น ลักษณะอาการของโรคเห็นเป็นแผลสีน้ำตาลถึงดำขนาดแผลไม่แน่นอน ลักษณะคล้าย canker บริเวณที่เชื้อเข้าทำลายมีการหดตัวของเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ทำให้เกิดการบิดงอหรือบุบลงไป โรคนี้พบระบาดในท้องที่ ทำให้เกิดการบิดงอหรือบุบลงไป โรคนี้พบระบาดในท้องที่ปลูกองุ่น จ. นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี เชียงราย ลำปาง พิจิตร และนครราชสีมา สภาพอากาศที่มีฝนตกปรอย ๆ หรือมีน้ำค้างลงจัดพบว่าเหมาะแก่การเจริญของเชื้อและแพร่ระบาดของโรค ได้แยกเชื้อบริสุทธิ์จากส่วนต่าง ๆ ขององุ่นเป็นโรคจากหลายท้องที่ พบเชื้อทั้งหมด 15 isolates เชื้อราที่พบเจริญได้ดีบนอาหาร Grape Juice Agar, PDA, PSA และ Czapek Agar ตามลำดับ แต่การเจริญของเชื้อราชนิดนี้ช้ามาก ได้นำเชื้อรา บริสุทธิ์จาก isolate ราชบุรีไปทดลองพิสูจน์โรค (Koch's Postulate) โดนพ่นสปอร์ของเชื้อราที่เลี้ยงบนอาหาร PDA อายุ 2 เดือนบนกิ่งตอนและผลองุ่นไวท์มะละกา อายุ 2 เดือน องุ่นแสดงอาการของโรคภายใน 10-20 วัน และมีลักษณะอาการเหมือนที่เกิดในธรรมชาติ จึงยืนยันได้ว่าเชื้อรา S. ampelinum เป็นสาเหตุจริงของโรคอีบุบขององุ่นในประเทศไทย ซึ่งตรงกับรายงานในต่างประเทศ
บทคัดย่อ (EN): In Thailand in 1990, s. ampleinum de Bary was first isolated and identified from fruit lesion of grape scab disease (local name e-Bub). The disease occurred in chiang Rai Nakhon Prathom Nakhon Ratchsima Ratchabrui Lampang Samutsakhon and Phichit provinces. The symptomatology of the disease and morphology of the fungus were studied in details in 1991 - 1992. The fungus caused severe damages on grape growing shoots and fruits. Dark brown cankerlike irregular spots appeared between and on large veins of leaves and on petioles caused distortion. Drizzling rain and abundant dew favoured the disease occurrence. Koch's postulates were carried out in greenhouse on grape marcotts variety White malaga growing whith 2-3 young shoots and 2 months old detached fruits were inoculated with conidial suspension of s. ampelinum. Typical disease symptoms appeared on yound shoots and fruits after 10-20 days under greenhouse and laboratory conditions. The fungus was successfully reisolated from the inoculated lesions and thus confirmed that it was indeed the cousal organism of grape scab in Thailand.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2536
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2536
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โรคสแคปขององุ่น (Sphaceloma ampelinum de Bary)
กรมวิชาการเกษตร
2536
เอกสารแนบ 1
การปรับปรุงพันธุ์องุ่น (Vitis spp.) ให้ต้านทานต่อโรคราน้ำค้างและโรคสแคบ ระยะที่ 2 การจัดการสวนองุ่นเพื่อเพิ่มผลผลิต ระยะที่ 2 โครงการวิจัยเพื่อทดสอบพันธุ์องุ่นรับประทานสด และพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกองุ่นพันธุ์ Beauty Seedless การจัดการสวนองุ่นเพื่อเพิ่มผลผลิต 2558A17002098 การศึกษาสายพันธุ์องุ่นที่เหมาะสมสำหรับการทำไวน์ในพื้นที่เขตร้อนทางภาคเหนือของประเทศไทยและความหลากหลายของยีสต์ที่พบในสภาพแวดล้อมการปลูกองุ่น การศึกษาสายพันธุ์องุ่นที่เหมาะสมสำหรับการทำไวน์ในพื้นที่เขตร้อนทางภาคเหนือของประเทศไทยและความหลากหลายของยีสต์ที่พบในสภาพแวดล้อมการปลูกองุ่น การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตองุ่นบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยเพื่อทดสอบพันธุ์องุ่นรับประทานสดและการวิจัยเพื่อลดต้นทุนและปรับปรุงคุณภาพผลผลิต การศึกษาและวิเคราะห์การผลิตและการตลาดขององุ่นโครงการหลวง 2559A17002054 การศึกษาสายพันธุ์องุ่นที่เหมาะสมสำหรับการทำไวน์ในพื้นที่เขตร้อนทางภาคเหนือของประเทศไทยและความหลากหลายของยีสต์ที่พบในสภาพแวดล้อมการปลูกองุ่น โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตองุ่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก