สืบค้นงานวิจัย
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตไผ่และหวายบนพื้นที่สูง
กมลทิพย์ เรารัตน์ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตไผ่และหวายบนพื้นที่สูง
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Bamboo and Rattan Productions
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กมลทิพย์ เรารัตน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษา รวบรวมชนิดไผ่และหวายที่มีการปลูกและใช้ประโยชน์บนพื้นที่สูง (2) ศึกษาและคัดเลือกลักษณะไผ่ที่ดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตต้นพันธุ์ (3) ศึกษาวิธีการจัดการที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของไผ่และหวาย (4) ศึกษาและวิเคราะห์ระบบการผลิตและการตลาดของไผ่และหวาย ผลการศึกษาสรุปดังนี้ (1) มีข้อมูลชนิดไผ่ที่มีการใช้ประโยชน์ทั้งหมด 62 ชนิด แบ่งเป็นไผ่ท้องถิ่นในประเทศไทย 12 สกุล 45 ชนิด และไผ่ต่างประเทศ 6 สกุล 17 ชนิด และพบว่ามีหวายที่ใช้ประโยชน์บนพื้นที่สูง 2 สกุล 13 ชนิด (2) รวบรวมไผ่ที่มีลักษณะที่ดีเหมะสำหรับการผลิตต้นพันธุ์ จำนวน 5 ชนิด (3) วิธีการจัดการที่เหมาะสมสำหรับเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของไผ่ สำหรับผลิตหน่อ คือการให้น้ำ ใส่ปุ๋ย คลุมโคน ตัดแต่งลำ และสางกอ ซึ่งช่วยให้ผลิตหน่อนอกฤดูฝนได้ โดยหน่อชุดแรกจะออกเดือนเมษายน-มิถุนายน สำหรับการปลูกไผ่เพื่อผลิตลำ ต้องตัดลำอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปออกให้หมด โดยตัดให้ชิดพื้นดิน เพื่อให้อาหารสะสมที่เหง้า ช่วยกระต้นการแตกหน่อใหม่ที่สมบูรณ์แข็งแรง ฤดูกาลตัดฟันที่เหมาะสมคือเดือนพฤศจิกายน-มกราคม สำหรับการปลูกหวายเพื่อตัดหน่อ พบว่าการปลูกในที่โล่งแจ้ง มีการให้น้ำ การให้ปุ๋ย รวมถึงการสางกอและตัดแต่งใบอยู่เสมอ จะกระตุ้นให้เกิดการแตกหน่อและเพิ่มขนาดของหน่อหวาย หวายหน่อแรกสามารถตัดได้เมื่ออายุ 2-3 ปี และควรตัดให้สูงจากระดับดินเหนือข้อตาที่หนึ่งเป็นหลัก ขนาดหน่อที่เหมาะสมกับการตัดคือหน่อที่กำลังแทงยอดอ่อนยาวไม่เกิน 30 เซนติเมตร สำหรับการปลูกหวายเพื่อใช้ลำ ต้องอาศัยต้นไม้อิงอาศัยและปลูกภายใต้ร่มรำไร และจำนวนลำหวายต่อต้นไม้อิงอาศัยมีความเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับหวายแต่ละชนิด และควรตัดลำหวายที่แก่สูงจากระดับพื้นดิน 10-15 เซนติเมตร (4) การศึกษาความต้องการตลาดและโอกาสทางการตลาดของไผ่และหวาย พบว่า ตลาดยังมีความต้องการไผ่และหวายเพื่อเป็นวัตถุดิบจำนวนมาก ซึ่งโอกาสทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์จากไผ่และหวายในอนาคตเป็นไปในทางที่ดี ในขณะที่อุตสาหกรรมหน่อไม้ปี๊บมีช่องทางการจัดจำหน่ายลดลง เนื่องจากความนิยมรับประทานหน่อไม้ลดลง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตไผ่และหวายบนพื้นที่สูง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตไผ่และหวายบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของข้าวบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1: การวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวสำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 โครงการวิจัยและพัฒนาหวายเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน โครงการ พัฒนาเยาวชนบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยและพัฒนาไก่เบรสเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูง การวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชพลังงานท้องถิ่นบน พื้นที่สูง โครงการวิจัยและพัฒนาเห็ดท้องถิ่นเพื่อเป็นแหล่งอาหารและรายได้สำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยและพัฒนาสีย้อมธรรมชาติพร้อมใช้จากพืชให้สีบนพื้นที่สูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก