สืบค้นงานวิจัย
การจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำยางพาราในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินจังหวัดอุตรดิตถ์
ชุติมา จันทร์เจริญ, ทรายแก้ว อนากาศ, พัฒน์พงษ์ เกิดหลำ, พิลาสลักษณ์ ลุ่นลิ่ว, สาธิต กาละพวก - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำยางพาราในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินจังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อเรื่อง (EN): Soil Management Using Organic Fertilizer (High Nutrient Content) and Chemical Fertilizer on Para Rubber Growth and Latex Quality in Uttaradit Land Development Area Project.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดลองการจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำยางพาราในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินจังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำยางพาราในเขตพัฒนาที่ดินจังหวัดอุตรดิตถ์ ศึกษาสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของดินจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีในพื้นที่ปลูกยางพาราในเขตพัฒนาที่ดินจังหวัดอุตรดิตถ์ และศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของยางพาราที่ปลูกในแต่ละกรรมวิธี ทำการทดลองในพื้นที่เกษตรกร หมู่ที่ 15 บ้านแพะ ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนกันยายน 2559 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCBD) จำนวน 7 ตำรับการทดลอง 3 ซ้ำ คือ ตำรับที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง ตำรับที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งของคำแนะนำของสถาบันวิจัยยางร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ตำรับที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ตำรับที่ 4 ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ตำรับที่ 5 ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งของค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ตำรับที่ 6 ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งของค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 4 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ตำรับที่ 7 ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งของค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 6 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี การใส่ปุ๋ยในแต่ละตำรับการทดลองจะมีการแบ่งใส่เป็น 2 ครั้งต่อปี ผลการศึกษาพบว่า ตำรับการทดลองที่ 4 การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปีให้ผลผลิตยางพาราสูงที่สุดเท่ากับ 284.69 กิโลกรัมต่อไร่ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับตำรับการทดลองที่ 1 2 และ 6 ซึ่งให้ผลผลิต 204.07 194.69 และ 208.71 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ ส่งผลให้ตำรับการทดลองที่ 4 มีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งสูงที่สุดเท่ากับ 36.56 เปอร์เซ็นต์แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติในแต่ละตำรับการทดลอง สำหรับการเจริญเติบโตของยางพารา พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติในแต่ละตำรับการทดลอง ตำรับการทดลองที่ 5 การใส่ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งของค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี เป็นตำรับที่มีการเพิ่มขึ้นของขนาดรอบลำต้นยางพาราสูงที่สุด ตำรับการทดลองที่ 1 การใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยางมีการเพิ่มขึ้นของขนาดรอบลำต้นยางพาราต่ำที่สุด ส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่า ตำรับการทดลองที่ 1 การใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยางเป็นตำรับการทดลองที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงที่สุด มีมูลค่าผลผลิตและผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเท่ากับ 9,591 และ 4,461 บาทต่อไร่ ตามลำดับ รองลงมาคือตำรับการทดลองที่ 3 การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีมูลค่าผลผลิตและผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเท่ากับ 12,672 และ 4,290 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ตำรับการทดลองที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจต่ำที่สุด คือ ตำรับการทดลองที่ 7 การใส่ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งของค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 6 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี มีมูลค่าผลผลิตและผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเท่ากับ 11,704 และ -15,617 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินภายหลังการทดลองพบว่า ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
บทคัดย่อ (EN): The three objectives of this research were conducted to examine the change of soil properties as affected by organic (high nutrient content) and chemical fertilizer in Uttaradit land development area project, to study the response of Para rubber growth and latex quality from soil management using organic (high nutrient content) and chemical fertilizer and to study economic returns of Para rubber yield. The experiment was carried out at Baan Pae, Borthong subdistrict, Thong Saen Khan district, Uttaradit province for three years since October 2013-September 2016, the experimental design employed in this study was randomized complete block design with three replications which the application of fertilizers consisted of 7 treatments as follows; T1: using chemical fertilizer at the recommended rate of Rubber Research Institute, T2: using a half of chemical fertilizer at the recommended rate of Rubber Research Institute combined with organic fertilizer (high nutrient content) at the rate of 2 kg/plant/year, T3: using of site-specific chemical fertilizer, T4: using of site-specific chemical fertilizer combined with organic fertilizer (high nutrient content) at the rate of 2 kg/plant/year, T5: using a half of site-specific chemical fertilizer combined with organic fertilizer (high nutrient content) at the rate of 2 kg/plant/year, T6: using a half of site-specific chemical fertilizer combined with organic fertilizer (high nutrient content) at the rate of 4 kg/plant/year and T7: using a half of site-specific chemical fertilizer combined with organic fertilizer (high nutrient content) at the rate of 6 kg/plant/year. The fertilizer application in each treatments were split for two times a year. Results showed that T4: using of site-specific chemical fertilizer combined with organic fertilizer (high nutrient content) at the rate of 2 kg/plant/year significantly gave highest yield of 284.69 kg/rai, there were higher than T1 T2 and T6 which the yield of 204.07, 194.69 and 208.71 kg/rai, respectively. According to that, T4 tended to gave the highest dry rubber content (DRC) of 36.56%. In the case of growth, there were no different among treatments, T5: using a half of site-specific chemical fertilizer combined with organic fertilizer (high nutrient content) at the rate of 2 kg/plant/year tended to give highest girth of Para rubber while T1: using chemical fertilizer at the recommended rate of Rubber Research Institute tended to give the lowest. Moreover, T1 gave the highest economic returns which yield value and total income were 9,591 and 4,461 baht/rai, respectively followed by T3: using of site-specific chemical fertilizer, yield value and total income were 12,672 and 4,290, baht/rai, respectively. T7: using a half of site-specific chemical fertilizer combined with organic fertilizer (high nutrient content) at the rate of 6 kg/plant/year gave the lowest economic returns, yield value and total income were 11,704 and -15,617, baht/rai, respectively. Using of organic (high nutrient content) and chemical fertilizer had no effect on the changes of soil physical and chemical properties.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำยางพาราในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินจังหวัดอุตรดิตถ์
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2559
ผลของอัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของยางพารา การศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของยางพารา (ช่วงอายุก่อนเปิดกรีด) ผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติดิน การเจริญเติบโตและผลผลิตของแก่นตะวัน การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น 2 ( การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น 3 ( การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น1 (S การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่ไม่มีความเหมาะสม (N) การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น2 (S การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น3 (S การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก