สืบค้นงานวิจัย
โครงการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขความสำเร็จของชุมชนต้นแบบด้านการทำการเกษตรแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
จรวยพร สมแก้ว - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขความสำเร็จของชุมชนต้นแบบด้านการทำการเกษตรแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ชื่อเรื่อง (EN): Study of Best Practice for Environmental-Friendly Agriculture
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จรวยพร สมแก้ว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษานี้ได้คัดเลือกชุมชนในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 4 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ศึกษาต้นแบบ ซึ่งได้แก่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่ หนองหอย แม่โถ และ ทุ่งหลวง เนื่องจากเป็นชุมชนเผ่าม้ง ซึ่งคาดว่าจะมีบริบทการดำรงชีพที่คล้ายคลึงการชุมชนบ้านป่ากล้วยซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมาย โดยใช้กรอบแนวคิดด้านความมั่นคงการดำรงชีพ และ Driver-Pressure-State-Impact-Respond (DPSIR) ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนเกษตรกรในพื้นที่ศึกษา รวมทั้งการประชุมกลุ่ม (Focus group discussion) ตัวแทนชุมชนและเจ้าหน้าที่ในชุมชนเป้าหมาย เพื่อทำความเข้าใจบริบทการดำรงชีพ และเงื่อนไขปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมการยอมรับของเกษตรกรในการผลิตพืชผักภายใต้ระบบมาตรฐาน GAP บริบทการดำรงชีพและการปรับเปลี่ยนวิธีและกลยุทธ์การดำรงชีพของชุมชนในพื้นที่ศึกษาต้นแบบในช่วงเริ่มแรกเป็นระบบการเกษตรแบบยังชีพ ที่มีฝิ่นเป็นพืชที่สร้างรายได้หลักให้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูง จากนั้นปรับเปลี่ยนมาเป็นการปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อทดแทนฝิ่น ซึ่งเป็นผลมาจากแรงผลักดันจากนโยบายยกเลิกการปลูกฝิ่นของรัฐ และมีปัจจัยสนับสนุนจากการเข้ามาส่งเสริมด้านการเกษตรของโครงการหลวงในขณะนั้น ซึ่งมีการส่งเสริมให้ความรู้และเทคโนโลยีการเพาะปลูกพืชผักชนิดใหม่ สนับสนุนด้านเมล็ดพันธุ์ และการจัดการด้านการตลาด ต่อมาการผลิตพืชผักเพื่อการค้านี้มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทั้งที่เป็นการผลิตภายใต้การสนับสนุนของโครงการหลวงและที่เกษตรกรผลิตเอง ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่ต้องใช้สารเคมีทางเกษตรเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสมดุลระบบนิเวศลุ่มน้ำ การเสื่อมสภาพของทรัพยากรดินและน้ำ รวมทั้งเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยของเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักและผู้บริโภค มูลนิธิโครงการหลวงจึงได้นำแนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP มาใช้ในระบบการผลิตพืชผักในพื้นที่ศูนย์พัฒนาฯ ต่างๆ ทำให้เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตให้สอดคล้องแม้จะรู้สึกว่าเป็นภาระที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้มีปัจจัยเงื่อนไขผลักดันที่สำคัญคือการที่เกษตรกรจำเป็นต้องพึ่งพาการสนับสนุนด้านการตลาดจากทางโครงการ ทำให้มีตลาดและราคาที่ค่อนข้างแน่นอนและลดภาระด้านการขนส่งผลผลิตไปขายภายนอก โดยเฉพาะในพื้นที่อยู่ห่างไกล ที่มีข้อจำกัดด้านการคมนาคมขนส่ง จากการพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่สูงที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความต้องการผลผลิตพืชผักที่ผลิตได้เฉพาะในเขตพื้นที่สูงมีปริมาณที่มากขึ้น นำไปสู่การเข้าถึงระบบการตลาดที่ง่ายขึ้นของเกษตรกร ทำให้ลดเงื่อนไขและระดับของการพึ่งพาของเกษตรกรที่มีต่อระบบตลาดของโครงการหลวง และปลอดจากมาตรการควบคุมคุณภาพที่เกษตรกรรู้สึกว่าเป็นภาระและไม่สอดคล้องกับวิถีการผลิตแบบเดิมที่คุ้นเคย ผลจากการศึกษา สามารถสังเคราะห์สรุปเงื่อนไขและปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมการผลิตพืชผักที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ดังนี้ 1.การส่งเสริมด้านการตลาดของโครงการหลวง ที่มีราคาค่อนข้างแน่นอน 2.การส่งเสริมชนิดพืชผักที่มีความเฉพาะเจาะจง มีตลาดที่จำเพาะ 3.เกษตรกรรู้สึกว่า การผลิตตามระบบ GAP มีความยุ่งยาก เป็นภาระมากขึ้น ไม่สอดคล้องกับราคาที่ได้ และไม่มั่นใจในผลลัพธ์ที่ได้ มีความเสี่ยงต่อความเสียหายผลผลิตในช่วงระยะเวลารอการเก็บเกี่ยว 4.ระบบการผลิตแบบ GAP ไม่สอดคล้องกับความต้องการและวิธีปฏิบัติแบบเดิมของเกษตรกร ที่เน้นการมีรายได้ที่มาก และทันต่อความต้องการ 5.ผลกระทบการใช้สารเคมีต่อสุขภาพของเกษตรกรยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่เป็นที่ประจักษ์แน่ชัดด้วยการตรวจเลือดโดยวิธีที่ใช้ในปัจจุบัน 6.ทัศนคติและความเชื่อของเกษตรกร ที่เคยชินกับระบบการผลิตพืชผักแบบเดิม 7.การเข้าถึงระบบตลาดที่ง่ายและสะดวก ลดการพึ่งพาระบบการผลิตและการตลาดของโครงการหลวง ส่งผลในเชิงลบกับการส่งเสริมการผลิตพืชผักที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 8.ระบบการผลิตในโรงเรือนแบบประณีต เป็นข้อจำกัดด้านการลงทุนและการหาพื้นที่ที่เหมาะสม 9.โครงการขยายผลโครงการหลวง มีข้อจำกัดด้านการจัดการตลาด 10.ไม่มีหลักฐานเป็นที่แน่ชัด ด้านความแตกต่างของต้นทุนการผลิตระหว่างวิธีการผลิตแบบเดิม และแบบ GAP 11.ในปัจจุบันไม่มีเทคโนโลยีการผลิตด้านการทดแทนการใช้สารเคมี ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม 12.ค่านิยมของผู้บริโภคที่ต้องการผลผลิตที่มีรูปลักษณ์สวยงาม สนับสนุนให้เกษตรกรยังคงรูปแบบการผลิตที่ใช้สารเคมีมาก สภาพการผลิตและการตลาดของเกษตรกรในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วยที่เป็นพื้นที่เป้าหมายของทาง สวพส. ในการส่งเสริมระบบการผลิตพืชผักทางเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น มีบริบททางด้านการดำรงชีพ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีพที่ไม่แตกต่างกันมากจากชุมชนต้นแบบ การเข้าถึงตลาดยังไม่สะดวกนักโดยเฉพาะในฤดูฝน ระบบการตลาดของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของศูนย์ฯ บางส่วนต้องพึ่งพิงระบบการตลาดของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงที่อยู่ใกล้เคียง และบางส่วนเกษตรกรยังคงต้องหาตลาดเอง ยังไม่มีเทคโนโลยีการผลิตด้านการทดแทนการใช้สารเคมี ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ แนวทางการส่งเสริมการผลิตพืชผักที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง ป่ากล้วย มีดังต่อไปนี้ 1.คัดเลือกเกษตรกรที่มีศักยภาพ เพื่อจัดทำแปลงสาธิต ให้เกษตรกรรายอื่นได้เห็นเป็นที่ประจักษ์ 2.ต้องการงานวิจัยเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นข้อดีของการปฏิบัติที่ดีทางเกษตร ในด้านแรงงานและต้นทุนปัจจัยการผลิตที่ใช้ เปรียบเทียบกับระบบการผลิตในปัจจุบันของเกษตรกรทั่วไปกับการผลิตตามแบบ GAP 3.ส่งเสริมด้านการตลาดเพิ่มมากขึ้น ควบคู่กันกับการส่งเสริมชนิดพืชที่เฉพาะเจาะจงด้านการตลาด ที่มีความเหมาะสมในพื้นที่ นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกษตรกรยังคงใช้วิธีการผลิตแบบเดิมที่มีการใช้สารเคมีในปริมาณมาก คือค่านิยมเลือกซื้อและรับประทานผลผลิตพืชผักที่มีรูปลักษณะสวยงามของผู้บริโภค โดยตระหนักถึงความปลอดภัยของผลผลิต การปรับเปลี่ยนค่านิยมและสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยของผลผลิตพืชผัก และผลกระทบของระบบการผลิตที่มีต่อทรัพยากรสิ่งแวด้อม ต้องการการดำเนินงานเชิงบูรณาการของหลายหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และการสนับสนุนทางด้านนโยบายของรัฐที่มีความชัดเจนและต่อเนื่องเป็นสำคัญ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขความสำเร็จของชุมชนต้นแบบด้านการทำการเกษตรแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2557
โครงการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลิตผลพืชผักในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง โครงการย่อยที่ 2 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยี/องค์ความรู้โครงการหลวงในการพัฒนาประสิทธิภาพการปลูก โครงการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักปลอดภัยบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาชุมชนต้นแบบโครงการหลวงเพื่อให้คนอยู่อาศัยร่วมกับป่าไม้และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอาหารปลอดภัยบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย วิธีลอยกระทงให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สถานการณ์เกษตรและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในปัจจุบัน วัชพืชในระบบการปลูกพืช การผลิตอาหารสัตว์จากขยะอินทรีย์ของชุมชน การชักนำให้เกิดแคลลัสในกล้วย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก