สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบสารเคมีในการควบคุมเชื้อรา Cylindrocladium sp. สาเหตุโรคใบจุดของยูคาลิปตัส
วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การทดสอบสารเคมีในการควบคุมเชื้อรา Cylindrocladium sp. สาเหตุโรคใบจุดของยูคาลิปตัส
ชื่อเรื่อง (EN): Fungicide evaluation for controlling Cylindrocladium leaf spot of eucalyptus
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: นำสารเคมีกำจัดเชื้อรา 7 ชนิด ได้แก่เทอร์ราโซล® คลอโรทาโลนิล® Rovral® คาร์เบนดาซิม® แมนโคเซบ® ไตรฟลอกซิลโตรบิน® และ โฟริเคอร์® มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Cylindrocladium sp. ในห้องปฏิบัติการโดยผสมในอาหารเลี้ยงเชื้อ Potato Dextrose Agar (PDA) ให้มีความเข้มข้นสุดท้ายในอาหาร คือ อัตราที่แนะนำ (1X) มากกว่าอัตราที่แนะนำ 10 เท่า (10X) และน้อยกว่าอัตราที่แนะนำ 10 เท่า (0.1X) ผลการทดลองพบว่า สารเคมีคาร์เบนดาซิม และโฟลิเคอร์ ทุกความเข้มข้นยับยั้งการเจริญของเส้นใยของเชื้อรา Cylindrocladium sp. ทำให้เส้นใยไม่มีการเจริญออกมาจากชิ้นวุ้น (inoculum plug ) ในขณะที่การไม่ใช้สารเคมี เชื้อราเจริญเติบโตเป็นปกติมีเส้นผ่า ศูนย์กลางของโคโลนี 8.34 ซม. เมื่อนำสารเคมีคาร์เบนดาซิมและโฟลิเคอร์มาทดสอบในสภาพเด็ดใบและเรือนทดลอง พบว่าสารเคมีคาร์เบนดาซิม และโฟลิเคอร์ ในอัตราที่แนะนำ ทำให้ยูคาลิปตัสแสดงอาการของโรคโดยมีระดับความรุนแรงที่ 1.40 และ 1.05 ตามลำดับ ในขณะที่การไม่ใช้สารเคมีใบยูคาลิปตัสมีระดับความรุนแรงของโรค 3.65 แต่สารเคมีโฟลิเคอร์ ทำให้เกิดอาการใบไหม้ในต้นยูคาลิปตัส ภายใน 5-10 นาทีหลังการพ่น ดังนั้นสารเคมีคาร์เบนดาร์ซิม จึงเหมาะสมที่จะนำไปใช้ควบคุมโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อรา Cylindrocladium sp. ในยูคาลิปตัส
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=91P-PHATO-073.pdf&id=924&keeptrack=16
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบสารเคมีในการควบคุมเชื้อรา Cylindrocladium sp. สาเหตุโรคใบจุดของยูคาลิปตัส
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2556
เอกสารแนบ 1
ศึกษาประสิทธิภาพของสารเคมีบางชนิดกับเชื้อราโรคใบจุดตานก การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma spp. ในการกระตุ้นความต้านทานโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ Cylindrocladium reteaudii และ Cryptosporiopsis eucalypti ของต้นกล้ายูคาลิปตัส การศึกษาปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคใบจุดสีน้ำตาล (Brow Spot) และโรคใบด่าง (Stackburn) รวมทั้งเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวคลุกที่สารเคมี ความไวต่อสารเคมี Propiconazole ของเชื้อรา Bipolaris oryzae สาเหตุโรคใบจุดสีน้ำตาลในพื้นที่นาภาคกลาง การต้านทานสารเคมี propiconazole ของเชื้อรา Bipolaris oryzae สาเหตุโรคใบจุดสีน้ำตาลในพื้นที่เขตภาคกลาง การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี การทดสอบใช้เชื้อรา Trichoderma spp. เพื่อควบคุม กระตุ้นการเจริญเติบโตและความต้านทานโรคในต้นกล้ายูคาลิปตัส ประสิทธิภาพน้ำส้มควันไม้ยูคาลิปตัสในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum truncatum s. l. สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของถั่วเหลืองฝักสดที่ต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม การคัดเลือกเชื้อราเอนโดไฟท์ที่สามารถควบคุมโรคเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani ของต้นกล้ายูคาลิปตัส

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก