สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาต้นทุนการผลิต กำไรเบื้องต้นจากการขาย และความรู้-ทัศนคติ การปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอจังหวัดชัยนาทและนครปฐมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน 2534
ปัญญา หิรัญรัศมี - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาต้นทุนการผลิต กำไรเบื้องต้นจากการขาย และความรู้-ทัศนคติ การปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอจังหวัดชัยนาทและนครปฐมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน 2534
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปัญญา หิรัญรัศมี
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิต และกำไรเบื้องต้นจากการปลูกส้มโอในจังหวัดชัยนาทและจังหวัดนครปฐม นอกจากนี้ยังศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน การวิจัยครั้งนี้ ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรโดยตรงที่ปลูกส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาในจังหวัดชัยนาท ซึ่งปลูกกันอยู่ประมาณ 1,000 ไร่ มีผู้ปลูกประมาณ 100 คน และเกษตรกรที่ปลูกส้มโอพันธุ์ขาวทองดีจังหวัดนครปฐม ซึ่งปลูกกันอยู่ประมาณ 4,500 ไร่ มีผู้ปลูกประมาณ 150 คน โดยจะใช้วิธีการแบบสัดส่วนโดยเลือกในสัดส่วน 1:4 จะได้เกษตรกรตัวอย่างในจังหวัดชัยนาท 25 คน และจังหวัดนครปฐม 35 คน และจะใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์ จำนวนเกษตรกรทั้ง 2 จังหวัด รวม 60 คน จะใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยพิจารณาลักษณะประกอบคือ ขนาดของสวนเล็ก 1-10 ไร่ กลาง>10-20 ไร่ และใหญ่>20 ไร่ อายุของส้มที่ปลูก 1-3 ปี 4-6 ปี และ 7 ปี ขึ้นไป ลักษณะการปลูกยกร่องน้ำปลูกและไม่ยกร่องน้ำปลูก เขตพื้นที่ปลูก ชลประทานหรือน้ำฝน ลักษณะการขายในประเทศหรือส่งออก ฤดูการผลิตในฤดูกาลหรือนอกฤดูกาล ระยะการปลูกแบบเดิมไม่มีระบบหรือแบบใหม่มีระบบ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชใช้มากหรือใช้น้อย ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ (1) เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอทั้ง 2 จังหวัด อายุเฉลี่ย 45.49 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นชายร้อยละ 89.99 ระดับการศึกษาจบ ป.4 ร้อยละ 78.92 ส่วนใหญ่แต่งงานแล้วร้อยละ 95.74 จำนวนคนในครอบครัวเฉลี่ยร้อยละ 5.79 คน ทำสวน 2.78 คน รายได้หลักส่วนใหญ่จากภาคเกษตร ร้อยละ 60.64 ประมาณรายได้/ปี 71,601 บาท สภาพถือครองที่ดินส่วนใหญ่เป็นเจ้าของร้อยละ 97.24 ขนาดของสวนส่วนใหญ่ 1-10 ไร่ ร้อยละ 50.35 อายุของส้มที่ปลูกส่วนใหญ่ 4-6 ปี ร้อยละ 50.56 ลักษณะการปลูกยกร่อง ร้อยละ 74.01 ระบบน้ำที่ได้รับจากชลประทานร้อยละ 59.21 ลักษณะภายในประเทศร้อยละ 87.50 ฤดูการผลิตในฤดูกาลร้อยละ 87.50 ระยะการปลูก 6x6 เมตร ร้อยละ 49.50 การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีการใช้น้อยร้อยละ 59.95 (2) ความรู้ด้านพันธุ์โดยส่วนใหญ่จะขยายพันธุ์เองร้อยละ 47.50 เมื่อมีปัญหาจะได้คำแนะนำช่วยเหลือจากเพื่อนบ้านและเกษตรตำบล ก่อนปลูกจะทราบปัญหาก่อน เป็นปัญหาด้านโรค และแมลงบางชนิด เช่น แคงเคอร์ หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ เป็นต้น ปัญหาด้านปุ๋ยราคาสูง สารเคมีกำจัดศัตรูพืชราคาสูง เกษตรกรทราบถึงผลเสียของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อตัวผู้ใช้และต่อสภาพแวดล้อม (3) ทัศนคติของเกษตรกรมีสูงมากเกี่ยวกับสารเคมีฯว่าจะต้องได้รับความรู้อย่างถูกต้อง มีตารางการใช้และวิธีการใช้อย่างเป็นระบบ และเชื่อว่าการเลือกพันธุ์ดีจะช่วยลดค่าใช้จ่ายการใช้สารเคมีโดยแต้มคะแนนเฉลี่ย 2.92 (4) การปฏิบัติของเกษตรกรโดยส่วนใหญ่จะคัดกิ่งพันธุ์ โดยเลือกใช้จากสวนเกษตรกรเอง หรือหาจากแหล่งที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉลี่ยร้อยละ 70.10 เกษตรกรจะตรวจนับและดูความเสียหายจากโรคและแมลง และเกษตรกรจะทำการป้องกันกำจัด โดยการตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคและแมลงทำลาย แต่การใช้สารเคมีฯในปัจจุบันก็ยังมากกว่าในอดีตร้อยละ 54.00 เพราะโรคและแมลงมีมากกว่าในอดีตเกษตรกรจะใช้วิธีการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง และขอคำแนะนำบ้างจากเกษตรตำบลปริมาณการใช้ โดยส่วนใหญ่จะใช้เท่ากับคำแนะนำร้อยละ74.50 แลนเนทจะเป็นสารเคมีหลัก และผสมบางครั้งกับสารเคมีสารอื่นๆ เช่น โคไซด์ เซฟวิน 85 คูปราวิท เป็นต้น ระหว่างฉีดมีการใช้เครื่องป้องกันสารพิษบนร่างกาย แต่เกิดอาการหลังฉีด โดยมีอาการวิงเวียนถึงแม้จะทำความสะอาดร่างกายหลังฉีด การฉีดสารเคมีฯ มีตั้งแต่เวลาเช้าและเย็น ภาชนะบรรจุสารเคมีจะเก็บรวบรวมในถุงหรือฝังดิน การปฏิบัติในช่วงระยะแตกใบอ่อน ระยะออกดอก ลูกเล็ก ลูกใหญ่ จะมีการให้น้ำสม่ำเสมอ ให้ปุ๋ยมากน้อยแล้วแต่ประเภทสวนเล็กใหญ่โดยใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 16-16-16 เป็นหลัก ปริมาณ 0.5-1 กิโลกรัม/ตัน สารเคมีที่ใช้ดังได้กล่าวมาแล้ว โดยเน้นการกำจัดหนอนชอนใบ ไรแดง แคงเคอร์ และเพลี้ยไฟ ส่วนระยะเก็บเกี่ยวมีการปฏิบัติต่อการให้น้ำและปุ๋ยสารเคมีฯ น้อยมาก (5) ต้นทุนการผลิตและกำไรเบื้องต้น นครปฐมต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่อปี 14,903.25 บาท รายได้เฉลี่ยต่อไร่ต่อปี 24,558.23 บาท กำไรเบื้องต้นต่อไร่ต่อปี 9,654.99 บาท ส่วนชัยนาทต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 12,495.09 บาท รายได้ 8,880.68 บาท กำไรเบื้องต้น -3,614.41 บาท ปัญหาสำคัญที่พบด้านการผลิตส้มโอมีโรค และแมลงทำลายมากช่วงอายุ 5-7 ปี ต้นทุนการผลิตสูงโดยเฉพาะด้านสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ย เกษตรกรต้องการให้มีตลาดกลาง และต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปแนะนำให้การอบรมแจกเอกสาร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2534
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2534
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาต้นทุนการผลิต กำไรเบื้องต้นจากการขาย และความรู้-ทัศนคติ การปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอจังหวัดชัยนาทและนครปฐมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน 2534
กรมส่งเสริมการเกษตร
2534
การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การจัดการการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานแปรรูปในจังหวัดสกลนคร การจัดการความรู้ของเกษตรกรที่ทำการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตำบลหินดาต อำเภอปาศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร ความรู้และการปฏิบัติในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ สถานการณ์การผลิตส้มโอเพื่อการส่งออกของเกษตรกรจังหวัดนครปฐม ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามแนวทางเกษตรชีวภาพของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ จังหวัดสระบุรี ความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรที่มีต่อการป้องกันกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย โดยวิธีผสมผสาน ความรู้และทัศนคติของเกษตรกรในการป้องกันกำจัด เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยวิธีผสาน ความรู้และการป้องกันกำจัดศัตรูอ้อยโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในจังหวัดลำปาง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก