สืบค้นงานวิจัย
การย้อมสีเส้นไหมด้วยพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณป่าพรุ จังหวัดนราธิวาส
สุภาภรณ์ ไกรวิมล1, สุมาลี ทองอร่าม2, กรณ์ฑิมา จุทอง1, สุรพงศ์ จันทร์พงษ์2 - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: การย้อมสีเส้นไหมด้วยพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณป่าพรุ จังหวัดนราธิวาส
ชื่อเรื่อง (EN): Dye Silk Yarn with Plants from Peat Swamp Forest in Naratiwat Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ป่าพรุของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ 20 ล้านเฮกแตร์ หรือคิดเป็น พื้นที่ 2 ใน 3 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นประเทศ อินโดนีเซีย ประเทศบรูไนดารุซาลาม และป่าพรุที่สมบูรณ์ที่สุดคือ ป่าพรุโต๊ะแดง มีพื้นที่จำนวน 26,600 เฮกแตร์ ครอบคลุม 3 อำเภอในจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี และ อำเภอสุไหงโกลก ใบไม้และซากพืชซากสัตว์ได้ทับถมหล่นในป่าพรุ เป็นเวลานับพันปี จนดินในป่าพรุมีลักษณะเป็นดินเลน มีน้ำลักษณะสีน้ำตาลท่วมขัง และไหลเอื่อย ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินในป่าพรุ มีค่าระหว่าง 4.5 - 6 ชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบบริเวณป่าพรุนำเอาไม้จากป่าพรุไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น นำไม้มาสร้างบ้าน ต่อเรือ ย้อมแห และอวนที่ใช้ในการทำประมง ได้ศึกษาชนิดพรรณไม้ในบริเวณป่าพรุและทดลองนำส่วนของเปลือกไม้ และใบไม้ของพรรณไม้ในป่าพรุ มาย้อมสีเส้นไหม พบว่าพรรณไม้ในป่าพรุที่สามารถใช้ย้อมสีเส้นไหมได้สีคุณภาพดี มีความคงทนของสีต่อการซักได้ดี ได้แก่ สีน้ำตาล ย้อมได้จากใบของพืชต่างๆ ดังนี้ ต้นจิกน้ำ เม่าไข่ปลา เที๊ยะ ปอลังเค้า ขี้ไต้ สักน้ำ กล้วย พิกุลพรุ หันลัด ตีนนก มะขามแป แพ มะฮังใหญ่ มันปู ช้างไห้ ตังหนใบใหญ่ ดังหวาย ไม้เสม็ดขาว ไม้ช้างไห้ ไม้เสม็ดขาวผสมกับใบเสม็ดขาว ไม้เสม็ดแดงผสมกับใบเสม็ดแดง ไม้ช้างไห้ผสมกับใบช้างไห้ จากใบของพืชต่างๆ ดังนี้ ต้นฝาดแอ๊ก ขี้กวาง เมาตะโกพรุ กระพ้อเขียว สีเสียดพรุ ไข่เน่า ย่านตีเมีย จอกทอก เข็มทอง กันเกรา หว้าหิน เคลงช้าง อ้ายบ่าว สามง่าม เถากาพุ่ม ขี้หนอนพรุ กล่ำ พังแหรใบใหญ่ สะท้อนรอก ขี้หนอนแดง กระทังทู้ ทุ ตะขบน้ำ ปอฟาน หว้านา หญ้าหนูต้น นมควาย หัวหงอก ใบผสมไม้อ้ายบ่าว ใบผสมเถาลำเท็ง คุณภาพความคงทนของสีต่อการซัก ระดับดีได้แก่สีเขียว ย้อมได้จากใบคุระ ใบกระพ้อ คุณภาพความคงทนของสีต่อการซัก ระดับดีได้แก่สีม่วงอ่อน ย้อมได้จากเถาต้นอรคนธ์ ส่วนพรรณไม้ที่ใช้ย้อมเส้นไหมติดสีคุณภาพความคงทนของสีต่อการซักระดับต่ำ ได้แก่ ใบของพืชต่างๆ ดังนี้ ต้นปอทะเล กระพ้อแดง กง ไอ้แกรก ขี้หนอนขาว เหง้ากง ใบกง ลูกกระพ้อแดง ผักหวานป่า และระไมป่า
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: https://qsds.go.th/newosrd/wp-content/uploads/sites/115/2021/08/2554-7.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การย้อมสีเส้นไหมด้วยพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณป่าพรุ จังหวัดนราธิวาส
กรมหม่อนไหม
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมหม่อนไหม
ความชุกชุมของปลาบริเวณปะการังเทียม จังหวัดนราธิวาส การใช้วัสดุปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตหญ้าอาหารสัตว์บริเวณขอบพรุ เห็ดเกี่ยวข้องกับมนุษย์และสำคัญกับป่าอย่างไร คุณภาพนํ้าบางประการในพรุควนเคร็ง ความหลากหลายทางชีวภาพของนกบริเวณเขาซับแกงไก่ จังหวัดลพบุรี การศึกษาเบื้องต้นการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายขอบพรุเพื่อการเลี้ยงแพะ ปัจจัยที่มีผลต่อธุรกิจแปรรูปส้มแขกของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดนราธิวาส การเสริมแร่ธาตุสำหรับโคที่ปล่อยเลี้ยงในพื้นที่สภาพพรุ การแพร่กระจายและอัตราการสะสมของโลหะหนักในสัตว์น้ำ บริเวณแม่น้ำเพชรบุรี สัตว์เกาะติดขนาดใหญ่บนพื้นผิวปะการังเทียม จังหวัดนราธิวาส

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก