สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบผลผลิตและการยอมรับของเกษตรกรต่อข้าวนาน้ำฝน สายพันธุ์ปรับปรุงใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
ไวพจน์ กันจู - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การทดสอบผลผลิตและการยอมรับของเกษตรกรต่อข้าวนาน้ำฝน สายพันธุ์ปรับปรุงใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Evaluation of Grain Yields and Farmer Adoption for New Improved Rainfed Lowland Rice in Upper North Areas
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ไวพจน์ กันจู
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Vaiphot Kanjoo
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้าวเหนียวและข้าวเจ้าสายพันธุ์ปรับปรุงใหม่ที่ได้จากการพัฒนาพันธุ์โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยในการคัดเลือก โดยหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว(RGDU) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) จำนวน 13 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวเหนียว กข6 สายพันธุ์ต้านทาน โรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง จำนวน 3 สายพันธุ์ ข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ 105 สายพันธุ์ทนแล้งจำนวน 5 สายพันธุ์ และข้าวเจ้า IR57514 สายพันธุ์ปรับปรุงให้มีความหอม ทนแล้ง และทนน้ำท่วม จำนวน 5 สายพันธุ์ นำมาปลูกทดสอบผลผลิตในสภาพแปลงเกษตรกรในพื้นที่ จ.พะเยา และจ.เชียงราย จำนวน 2 แปลง ในฤดูปลูกนาปีพ.ศ. 2556 พบว่าข้าวเหนียว กข6 สายพันธุ์ปรับปรุงใหม่ มีผลผลิตสูงกว่า กข6 และมีคุณภาพเมล็ด-หุงต้มไม่แตกต่างจาก กข6 ยกเว้นลักษณะความหอม ขณะที่กลุ่มข้าวเจ้าสายพันธุ์ปรับปรุงมีผลผลิตต่อไร่ และคุณภาพเมล็ด-หุงต้มไม่แตกต่างจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวเจ้าIR57514 สายพันธุ์ปรับปรุงซึ่งมีปริมาณแป้งอะไมโลสปานกลาง มีลักษณะเมล็ดข้าวเปลือกที่สั้นกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 เมื่อประเมินการยอมรับของเกษตรกรต่อพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ปรับปรุงใหม่แบบมีส่วนร่วม พบว่าเกษตรกรทั้ง2 จังหวัดมีความชอบต่อข้าวเหนียว RD6-BLBB-2 ที่ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้งต้นเตี้ย สายพันธุ์ (RGD07585-7-B-MAS-47-2-6) มากที่สุด จากผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าข้าวสายพันธุ์ปรับปรุงใหม่มีศักยภาพที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ และเพาะปลูก เพื่อลดความเสียหายของผลผลิตอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และการหักล้มในพื้นที่นาน้ำฝนของภาคเหนือตอนบนของไทยต่อไป
บทคัดย่อ (EN): New improved thirteen varieties of rainfed lowland glutinous and non-glutinous rice derived from marker assisted breeding program by Rice Gene Discovery Unit, Thailand National Center of Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC) were investigated for grain yield and farmer adoption. The thirteen rice varieties viz. three lines of blast (BL) and bacterial leaf blight (BB) resistant RD6 (RD6-BL-BB), five lines of drought tolerant Khao Dawk Mali 105 (KD-DT) and five lines of improved IR57514 (IR57514-aroma) were grown and evaluated in two farmer’s fields at Phayao and Chiang Rai Provinces in wet season 2013. Grain yield of all 13 varieties were compared to Khao Dawk Mali 105 (KDML 105: non-glutinous variety) and RD6 (glutinous variety). The result showed that RD6-BL-BB displayed higher grain yield than RD6. Grain appearance and cooking quality (excluding aroma) in all RD6-BL-BB varieties were not significantly different from RD6. For new nonglutinous varieties, the mean values of grain yield and cooking qualitiey were not different from KDML 105, but these lines were infected by BB. For IR57514-aroma, medium amylose rice, had shorter grain than KDML105 which was not accepted by farmers.Farmer’s adoption for new improved rice varieties was assessed by participatory analysis method. RD6-BL-BB line RGD07585-7-B-MAS-47-2-6 showed high grain yield and dwarf type which were accepted by farmers in both of locations.This study indicates that new improved rice varieties can be the potential crop for rainfed lowland areas in the upper northern region of Thailand.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบผลผลิตและการยอมรับของเกษตรกรต่อข้าวนาน้ำฝน สายพันธุ์ปรับปรุงใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
กรมวิชาการเกษตร
2558
การยอมรับของเกษตรกรในการทำการเกษตรทฤษฏีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การทดสอบผลผลิตเพื่อการคัดเลือกข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมสำหรับเป็นพันธุ์ส่งเสริมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การจำแนกสายพันธุ์และความต้านทานต่อโรค Streptococcosis ของปลานิล (Oreochromis niloticus Linnaeus) การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา ผลการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่าง ๆ ของข้าวไทย การประเมินความเข้มข้นของซิลิคอนในลำต้นและใบของเชื้อพันธุกรรมข้าวพันธุ์ไทย 29 พันธุ์ การยอมรับและแพร่กระจายเทคโนโลยีของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ปรับปรุงระบบชลประทานขนาดใหญ่ การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต และการยอมรับของเกษตรกรของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวเหนียว กข6 สายพันธุ์ปรับปรุงในพื้นที่นาน้ำฝนของภาคเหนือตอนบน ทดสอบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 ในจังหวัดน่าน และจังหวัดเชียงใหม่ การทดสอบองค์ประกอบผลผลิตและผลผลิตของสายพันธุ์สบู่ดำที่ผ่านการคัดเลือก ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่มีอายุ 2 -4 ปี ใน 3 สภาพพื้นที่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก