สืบค้นงานวิจัย
พันธุกรรมของการสังเคราะห์สารแอนโธไซยานินในข้าวเหนียวดำ (Oryza sativa L. indica)
ช่อแก้ว อนิลบล - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: พันธุกรรมของการสังเคราะห์สารแอนโธไซยานินในข้าวเหนียวดำ (Oryza sativa L. indica)
ชื่อเรื่อง (EN): Genetics of anthocyanin synthesis in purple glutinous rice (Oryza sativa L. indica)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ช่อแก้ว อนิลบล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chorkaew Aninbon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้อมูลพันธุกรรมและการถ่ายทอดของลักษณะแอนโธไซยานิน มีความสำคัญต่อการคัดเลือกพันธุ์ในโปรแกรม ปรับปรุงพันธุ์พืช การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพันธุกรรมของการสังเคราะห์สารแอนโธไซยานินในข้าวเหนียวดำ การถ่ายทอดทางพันธุกรรมของลักษณะแอนธไซยานิน และประเมินค่าสหสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารแอนโธไซยานินกับ ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของข้าว ศึกษาโดยสร้างประซากรชั่วรุ่นที่ 1 (F ) ซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างข้าวเหนียวดำพันธุ์ เหนียวดำ Gs.no.09475 และ ข้าวเหนียวดำพันธุ์ เหนียวดำ Gs.no.00621 (พันธุ์แม่) กับข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 (พันธุ์พ่อ) ในปี 2552 ที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำเมล็ดที่ได้จากทั้ง 2 คู่ผสมมาปลูกและปล่อยให้ประซากรต้น ข้าวผสมตัวเองจนกระทั่งได้เมล็ดชั่วรุ่นที่ 3 จากนั้นปลูกประชากรชั่วรุ่นที่ 3 (F ) ที่แปลงเกษตรกร จ.ขอนแก่น ในประซากร ชั่วรุ่นที่ 2 (F ) บันทึกข้อมูลเฉพาะสีเยื้อหุ้มเมล็ด และจะบันทึกลักษณะทางสัณฐานวิทยาและปริมาณสารแอนโธไซยานิน ของพันธุ์พ่อ พันธุ์แม่ และประชากรชั่วรุ่นที่ 3 ผลการศึกษาพบว่า ยีนที่ควบคุมการเกิดสีดำบริเวณเยื่อหุ้มเมล็ดในข้าวเป็น ยี่นเด่น และถูกควบคุมด้วยยีนจำนวน 1 คู่ ความสามารถในการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมแบบกว้างและแบบแคบของ การสังเคราะห์สารแอนโธไซยานินในคู่ผสม เหนียวดำ Gs.no.09475xกข6 เท่ากับ 0.68 และ 0.13 ตามลำดับ และใน คู่ผสมเหนียวดำ Gs.no.00621 xกข6 เท่ากับ 0.31 และ 0.14 ตามลำดับ ปริมาณสารแนโธไซยานินมีสหสัมพันธ์อย่างมี นัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับสีข้าวกล้อง โดยมีค่าสหสัมพันธ์ของลักษณะที่ปรากฎ และมีค่าสหสัมพันธ์ของพันธุกรรมเท่ากับ 0.64 และ 0.95 ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวดำต่อไป
บทคัดย่อ (EN): : The information on genetic basis and inheritance for anthocyanin synthesis is important for varietal selection in plant breeding program. The objectives of this experiment were to study genetics and inheritance of anthocyanin synthesis in black glutinous rice, and to evaluate the correlation between anthocyanin content and rice morphological traits. The progenies of the first generation (F1 ) were from the crossing between Neiwdam Gs.no.09475 and Neiwdam Gs.no.00621 (female parents), and RD6 (male parent) initiated in 2009 at the Faculty of Agriculture, Khon Kaen University. The F1 progenies were grown, and self-pollination was done to receive the progenies of the third generation (F3 ). The F3 progenies were then planted at a farmer’s field in Khon Kaen province. Data recorded for the progenies of the second generation (F2 ) was pericarp color. Data recorded for the male and female parents, and the F3 progenies were morphological traits and anthocyanin content. The results indicated that anthocyanin synthesis traits were controlled by a single dominant gene. The estimated values for broad and narrow sense heritabilities of anthocyanin for Neiwdam Gs.no.09475×RD6 were 0.68 and 0.13, respectively; and for Neiwdam Gs.no.00621×RD6 were 0.31 and 0.14, respectively. Highly significant correlation between anthocyanin content and pericarp color was recorded. The values for phenotypic and genotypic correlations were 0.64 and 0.95, respectively. The data from this study would be valuable information for further improvement of black glutinous rice.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=10 Chorkaew1.pdf&id=1716&keeptrack=9
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
พันธุกรรมของการสังเคราะห์สารแอนโธไซยานินในข้าวเหนียวดำ (Oryza sativa L. indica)
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของกระบวนการสกัดและการให้ความร้อนต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในการผลิตแอนโทซัยยานินชนิดผงจากข้าวเหนียวดำ การศึกษาการทำงานร่วมกันของยีนควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินสองชนิดในข้าวเพื่อการสร้างแอนโทไซยานินและการใช้เป็นยีนเครื่องหมายในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว การศึกษาผลของสภาวะเครียดที่มีต่อการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในข้าวและยาสูบที่มีการแสดงออกของยีนสร้างแอนโทไซยานิน ลักษณะทางการเกษตรและปริมาณแอนโทไซยานินในประชากรลูกผสมกลับ (BC2F2) ของข้าวเหนียวดำ ผลของชนิด ความเข้มข้น และขั้นตอนการใช้น้ำสมุนไพรต่อสารต้านอนุมูลอิสระในข้าวกล้องงอก ผลของวัสดุและสภาพการเก็บรักษาข้าวกล้องนึ่งเฉดสีต่อการเปลี่ยนแปลงสีและปริมาณแอนโธไซยานิน ผลของความร้อนต่อคุณภาพการสี คุณสมบัติทางเคมี กายภาพ และสารต้านอนุมูลอิสระของข้าวใหม่ที่ปลูกแบบนาขั้นบันได ในจังหวัดพิษณุโลก สัณฐานวิทยาโครโมโซมของข้าวเหนียวดำ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีแอนโทไซยานินสูงโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ข้าวเหนียวในเขตภาค-เหนือของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก