สืบค้นงานวิจัย
การคัดเลือกจุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ในตะกอนอินทรีย์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
นวลจันทร์ ชะบา, จันจิรา แสงสีเหลือง, วุฒิชัย จันทรสมบัติ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกจุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ในตะกอนอินทรีย์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
ชื่อเรื่อง (EN): Selection of effective microorganisms for degrading organic sediment in Songkla lake
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแยกและคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในตะกอนอินทรีย์พื้นที่ทะเลสาบสงขลาและการทดสอบประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ที่มีอยู่ในตะกอนอินทรีย์ โดยดำเนินการทดลองในห้องปฏิบัติการกองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน ระหว่างปี 2557-2558 ประกอบด้วย การแยกและคัดเลือกจุลินทรีย์ 2 กลุ่ม ได้แก่ แบคทีเรียย่อยสลายเซลลูโลส และแบคทีเรียสังเคราะห์แสงกลุ่มสังเคราะห์แสงสีม่วงไม่สะสมซัลเฟอร์ ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่จำเพาะเจาะจง ทดสอบกิจกรรมในอาหารเลี้ยงเชื้อ และประสิทธิภาพการย่อยสลายตะกอนอินทรีย์ในห้องปฏิบัติการ พบว่า จากการเก็บตัวอย่างน้ำและตะกอนในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา จำนวน 45 ตัวอย่าง สามารถแยกคัดเลือกแบคทีเรียย่อยสลายเซลลูโลส ได้ 118 ไอโซเลต และแบคทีเรียสังเคราะห์แสงได้ 66 ไอโซเลท แบคทีเรียย่อยเซลลูโลสที่มีกิจกรรมการสร้างเอนไซม์เซลลูโลสได้สูงสุด คือ Bacillus sp. มีกิจกรรมเอนไซม์สูงสุด 24 m unit/ml ที่ระยะเวลาการเลี้ยงเชื้อ 6 วัน รองลงมาคือ Bacillus thuringiensis กิจกรรมเอนไซม์สูงสุด 12 m unit/ml ที่ระยะเวลาการเลี้ยงเชื้อ 3 วัน สำหรับแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสามารถคัดเลือกลุ่มที่เป็นแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วงไม่สะสมซลเฟอร์ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดสารอินทรีย์ในสภาพไม่มีออกซิเจนหรืออกซิเจนน้อย 2 สายพันธุ์ คือ Rhodobacter aphaeroides strain S3W10 และRhodobacter sp. และเชื้อผสม 4 สายพันธุ์เมื่อนำมาทดสอบประสิทธิภาพการย่อยสลายสารอินทรีย์ในตะกอนอินทรีย์ในสภาพห้องปฏิบัติการสามารถย่อยสลายอินทรีย์คาร์บอน จาก 2.6 เปอร์เซ็นต์ เป็น 1.7 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา 15 วัน
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research was to isolate and select effective microorganisms using for degrading organic substance in Sonkla Lake area and to test the microbial efficiency. The experiment was conducted during 2014-2015 in Laboratory at Division of Soil Biotechnology, Land Development Department. Cellulolytic bacteria and photosynthetic bacteria were isolated from a total number of 45 water and soil sediment which were collected from Sonkla Lake in the south of Thailand. A total of 118 cellulolytic bacteria and 66 photosynthetic bacteria were isolated for those samples. Activities of celluluolytic bacteria were measured as cellulase enzyme. The result showed that the maximum cellulae activities was 24 U unit/ml producing from Bacillus sp. Moreover Bacillus thuringiensis produced cellulase 12 U unit/ml. Two species of purple non-sulfur photosynthetic bacteria were selected from sediment including Rhodobacter aphaeroides strain S3W10 and Rhodobacter sp. Moreover mix culture of 2 cellullytic bacteria and 2 photosynthetic could decompose organic carbon in sediment. Organic carbon content decreased from 2.6 % to 1.7% within 15 days in laboratory.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดเลือกจุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ในตะกอนอินทรีย์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2558
วิจัยการใช้จุลินทรีย์เพื่อย่อยสลายตะกอนอินทรีย์ในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา ศึกษาอัตราและวิธีการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตะกอนอินทรีย์พื้นที่ทะเลสาบสงขลา ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเจริญของจุลินทรีย์เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ย่อยสลายตะกอนอินทรีย์ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ความสัมพันธ์ของการใช้สารอินทรีย์ต่างคุณภาพเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมกับจุลินทรีย์ดิน ประสิทธิภาพการย่อยสลายหินฟอสเฟตด้วยจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.9 การสำรวจและศึกษาความหลากหลายของจุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์ในพื้นที่เกษตรอินทรีย์ภาคใต้ของประเทศไทย การคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยกากขี้แป้ง การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในการควบคุมทางชีวภาพ การลดจำนวนจุลินทรีย์ในเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์โดยการใช้สารอินทรีย์ที่ไม่มีอันตรายทดแทนสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อในกระบวนการผลิต (ระยะที่ 1)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก