สืบค้นงานวิจัย
ความถี่ อัตราและช่วงระยะเวลาการให้น้ำสำหรับอ้อยในเขตชลประทานภาคกลาง
วันชัย ถนอมทรัพย์ และ ทักษิณา ศันสยะวิชัย - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความถี่ อัตราและช่วงระยะเวลาการให้น้ำสำหรับอ้อยในเขตชลประทานภาคกลาง
ชื่อเรื่อง (EN): Irrigation Frequency, Rate and Period for Sugarcane in the Central Plain
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วันชัย ถนอมทรัพย์ และ ทักษิณา ศันสยะวิชัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wanchai Thanomsub and Taksina Sansayawichai
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ความถี่อัตราและช่วงระยะเวลาการให้น้ำเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลผลิตและต้นทุนการผลิตอ้อย การทดลองเพื่อตรวจสอบการตอบสนองอ้อยต่อความถี่ อัตราการให้น้ำและช่วงระยะเวลาการให้น้ำในสภาพดินเหนียวชุดราชบุรี ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ในฤดูปลูกอ้อยปี พ.ศ. 2543-2546 พบว่าการให้น้ำทุกครั้งเมื่อค่าการระเหยสะสมครบ 60 มม. ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันกับการให้น้ำทุกครั้งเมื่อค่าการระเหยสะสมครบ 90 มม. แต่สูงกว่าการปลูกโดยไม่มีการให้น้ำ 58.8, 41.9 และ 59.3% สำหรับการทดลองปี พ.ศ. 2543/44 2544/45 และ 2545/46 ตามลำดับ การตอบสนองของอ้อยพันธุ์อู่ทอง 3 และ K 84 -200 อัตราการให้น้ำ พบว่าไม่มีปฎิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์และอัตราการให้น้ำ การให้น้ำที่อัตราระหว่างปริมาณน้ำที่ให้ต่อค่าการระเหย 1.2 ให้ผลผลิต ไม่แตกต่างกับทางสถิติกับการให้น้ำที่อัตราส่วนระหว่างปริมาณน้ำที่ให้ต่อการระเหย 0.6, 0.8 และ 1.0 แต่สูงกว่าการปลูกโดยไม่มีการให้น้ำ 22.8, 46.7 และ 35.7% สำหรับการทดลองปี พ.ศ. 2543/44 2545/45 และ 2545/46 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าการให้น้ำในช่วงระยะตั้งตัว และระยะ vegetative หรือระยะ vegetative กับระยะสร้างน้ำตาล หรือระยะตั้งตัวถึงระยะสร้างน้ำตาล ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติเช่นกัน แต่สูงกว่าการให้น้ำในช่วงระยะเวลาอื่น ๆอย่างมีนัยสำคัญ โดยการให้น้ำช่วงระยะตั้งตัวถึงระยะสร้างน้ำตาลให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกโดยไม่มีการให้น้ำ 57.2 และ 39.2% สำหรับการทดลองปี พ.ศ. 2544/45 และ 2545/46 การเพิ่มขึ้นของผลผลิตเมื่อเพิ่มความถี่ อัตราและช่วงระยะเวลาการให้น้ำ เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของความสูงลำและจำนวนลำ/ไร่
บทคัดย่อ (EN): Irrigation frequency, rate and period directly affect yield and cost of sugarcane production. A series of experiments was carried out to investigate responses of sugarcane to these factors at Chai Nat Field Crop Research Centre during the 2000-2003 growing seasons. The highest yields were obtained with irrigated every after 60 and 90 mm cumulative pan evaporations. These irrigation frequencies showed no significant differences in yields among themselves, but irrigation applied every after 60 mm cumulative pan evaporation attained 58.8. 41.6 and 59.3% higher yields than with no irrigation for experiments carried out in 2000/01, 2001/02 and 2002/03, respectively. The responses of U-thong and K 84-2000 varieties to irrigation rates were similar. Irrigation applied at the ratio of irrigation water to evaporation, IW/E of 1.2 (IW/E 1.2) gave no significant difference in yield with IW/E 0.6 to 1.0. IW/E 1.2, however, increased yields by 22.55, 46.7 and 35.7% when compared with no irrigation for experiments conduction in 2000/01, 2001/02 and 2002/03, respectively. It was also found that far highest yields were obtained with irrigation applied during the periods of crop establishment and vegetative growth, or vegetative growth and yield formation, or from crop establishment to yield formation. These irrigation periods showed no significant differences in yields among all treatments bus irrigation applied from crop establishment to yield formation produced 57.2 and 39.2% higher yields than with no irrigation for experiment carried out in 2001/02 and 2002/03, respectively. Stalk height and stalk number were major component determining yield differences among irrigation frequencies, rates and periods.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความถี่ อัตราและช่วงระยะเวลาการให้น้ำสำหรับอ้อยในเขตชลประทานภาคกลาง
กรมวิชาการเกษตร
2552
เอกสารแนบ 1
การจัดการดินและน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ระยะที่ 2) การบริหารจัดการน้ำและปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพในพันธุ์อ้อยสะสมน้ำตาลเร็วในเขตภาคเหนือตอนล่าง การคัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสม ชุด CSB11 ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน (อ้อยปลูกและอ้อยตอ 1) ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 4 อุดรธานี การทดลองหาปริมาณการใช้น้ำที่เหมาะสมในแปลงปลูกอ้อย คั้นน้ำในระบบอินทรีย์ การเพิ่มมูลค่าให้กับชานอ้อยและสนิมเหล็กโดยการนำมาผลิตเป็นตัวดูดซับคาร์บอนที่มีสมบัติแม่เหล็ก เพื่อใช้ในการกำจัดสารพิษในบ่อบำบัดน้ำทิ้งจากภาคอุตสาหกรรมและแหล่งน้ำธรรมชาติ การคัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสม ชุด CSB11 ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐานในอ้อยปลูกอ้อยตอ 1 และอ้อยตอ 2 ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 4 อุดรธานี การใช้ประโยชน์ของสารเฟอร์ฟูรอลจากชานอ้อยสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์กาวจากน้ำยางธรรมชาติ การศึกษาคุณลักษณะของน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศของโรงงานผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลและการใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกอ้อย อัตราปุ๋ยไนโตรเจน และกากตะกอนน้ำตาลอ้อยที่เหมาะสมในการผลิตอ้อยในดินชนิดต่าง ๆ ในจังหวัดสระแก้ว ระบบขนส่งอ้อยเข้าโรงงานและผลกระทบจากมาตรการควบคุมการบรรทุกและการขนส่งอ้อยต่อผลผลิตอ้อยและน้ำตาล

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก