สืบค้นงานวิจัย
การปลูกและการจัดการพืชอาหารสัตว์ในสวนยางพารา (2) ผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้า 7 พันธุ์ในสวนยางพาราที่จังหวัดสกลนคร
ประเทศ ปุ้ยพันธวงศ์ - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การปลูกและการจัดการพืชอาหารสัตว์ในสวนยางพารา (2) ผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้า 7 พันธุ์ในสวนยางพาราที่จังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่อง (EN): Planting and Management of Forage Species under Rubber Plantation (2) Yield and Chemical Composition of 7 Forage grasses under Rubber Plantation at Sakonakorn
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประเทศ ปุ้ยพันธวงศ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของพืชอาหารสัตว์ 7 พันธุ์ในสวนยางพาราดำเนินการทดลองที่สวนยางพาราอายุ 5 ปี ของเกษตรกร ในหมู่บ้านคำบิด ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ระหว่างเดือนมีนาคม 2537 ถึง กุมภาพันธ์ 2539 โดยใช้พืชอาหารสัตว์ 7 พันธุ์คือ หญ้ารูซี่ (B.ruzizionsis) หญ้าซิกแนลนอน (B.decumbens) หญ้าชิกแนลเลื้อย (B.humidicola) หญ้าโคไร (B.millifiormis) หญ้ากินนี้ (P.maximum cv. common) หญ้ากินนี่สีม่วง (P.maximum cv. TD.58) และหญ้ากรีนแพนิค ( P.maximum var.trichoglume) ใช้แผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block มี4ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า หญ้ากินนีสีม่วงให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งสูงสุด 1,147 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าพืชอาหารสัตว์พันธุ์อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P<0.05) ส่วนหญ้าโคไรให้ผลผลิตต่ำสุด 348 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนประกอบทางเคมีของพันธุ์ต่าง ๆ พบว่าหญ้าชิกแนลเลื้อย, หญ้ากินนีสีม่วง, หญ้ากรีนแพนิคและหญ้ารูซี่มีโปรตีนสูงสุดอยู่ระหว่าง 7.26 - 7.53 เปอร์เซ็นต์
บทคัดย่อ (EN): The experiment was conducted to study yield and chemical composition of 7 forage grasses in rubber plantation (5 years) at Kumbid village, Sakonakorn province between March 1995 to February 1997. Designed in randomized complete block with 4 replicates which consisted of 7 forage grasses of B.ruziziensis, B.decumbens, B.humidicola, B.milliiformis, P.maximum cv. common, P.maximum cv. TD.58 and P.maximum var.trichoglume. The result indicated that total dry matter yields of P.maximum cv. TD.58 showed Significantly highest of 1,147 Kg./Rai.(P<0.05). B.milliiformis gave maximum yield of 348 Kg./Rai. Chemical composition of forage grass that. B.humidicola, P.maximum cv.TD.58, P.maximum var.trichoglume and B.ruziziensis gave the wide range of highest protein at 7.26 - 7.53 percentage.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2541
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2541
เอกสารแนบ: http://nutrition.dld.go.th/Research%20Report53-55/Research_Knowlage/RESEARCH/research_full/2541/R4110.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองอาหารสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปลูกและการจัดการพืชอาหารสัตว์ในสวนยางพารา (2) ผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้า 7 พันธุ์ในสวนยางพาราที่จังหวัดสกลนคร
กองอาหารสัตว์
2541
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมปศุสัตว์
พืชอาหารสัตว์พันธุ์ใหม่ กลุ่มวิจัยยางพารา อาหารสัตว์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนไทย การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation ศึกษาการจัดการธาตุอาหารของยางพารา การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ผลการปลูกพืชอาหารสัตว์บางชนิดแซมยางพารา ศึกษาผลผลิตและรายได้ของสวนยาง และสวนผสมพืชร่วมยาง ผลของเอทธิลีนต่อการให้ผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และ BPM 24 สมรรถภาพการผลิตไก่เบตงในพื้นที่ สวนลองกอง สวนสมรม และ สวนยางพารา ของเกษตรกรในจังหวัดยะลา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก