สืบค้นงานวิจัย
แนวทางการพัฒนาศักยภาพภูมิปัญญาการแปรรูปข้าวเม่าบ้านนายอ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
ชไมพร รักษาสุข - มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาศักยภาพภูมิปัญญาการแปรรูปข้าวเม่าบ้านนายอ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่อง (EN): An Approach to Developing Potential of Local Wisdom in Processing Unripe Rice Kernels Roasted and Pounded Flat in Ban Na Yaw Akatamnuai District Sakhon Nakhon Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ชไมพร รักษาสุข
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาการแปรรูปข้าวเม่าบ้านนายอ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการแปรรูปข้าวเม่าบ้านนายอ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1) ศึกษาบริบทชุมชน ระยะที่ 2) ศึกษาภูมิปัญญาการแปรรูปข้าวเม่าบ้านนายอ และระยะที่ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภูมิปัญญาข้าวเม่าบ้านนายอ กลุ่มเป้าหมายที่ทำการวิจัยในครั้งนี้เป็นผู้ผลิตข้าวเม่าและผู้นำชุมชน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การพรรณนา วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการการวิจัยพบว่า 1) บ้านนายอมีการปลูกข้าวหลายสายพันธุ์ เพื่อผลิตข้าวเม่าเป็นอาชีพเสริม ซึ่งพัฒนามาจากภูมิปัญญาดั้งเดิม ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อมียอดผลิตมากขึ้น ได้พัฒนาเครื่องมือการผลิตโดยใช้เครื่องจักรกลง่ายๆที่คิดค้นเองในชุมชนเพื่อประหยัดเวลาและแรงงานมีการถ่ายทอดกันในชุมชน ผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าบ้านนายอจะมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างจากข้าวเม่าของชุมชนอื่น คือมีความนุ่มเป็นพิเศษด้วยกระบวนการผลิตที่พิถีพิถัน ใช้ใบอ้อยตำผสมกับข้าวเม่าทำให้มีสีเขียวสวย รสหวานและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว บรรจุในใบบัวทำให้ข้าวเม่ามีความนุ่มพิเศษ 2) แนวทางการพัฒนาศักยภาพภูมิปัญญาการแปรรูปบ้านายอ พบว่า การผลิตข้าวเม่า มีหลายครัวเรือนที่มียอดการผลิตสูงประมาณวันละ 100 กิโลกรัม หรือมากกว่า ซึ่งต้องใช้แรงงานในการฝัดข้าวเม่าถึง 3 ครั้ง ทำให้มีปัญหาด้านสุขภาพและต้องเพิ่มต้นทุนในการจ้างคนฝัดข้าว กลุ่มผู้ผลิตมีความต้องการเครื่องฝัดข้าวเม่า ในการวิจัยได้ทดลองนำเครื่องฝัดเมล็ดหญ้า มาทดลองใช้ ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ผลิตได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาเครื่องให้เหมาะกับการผลิตข้าวเม่าของบ้านนายอทุกครั้ง และผู้ผลิตมีความพึงพอใจมาก เนื่องจากเครื่องฝัดข้าวเม่ามีความคุ้มค่าสามารถลดเวลา แรงงาน และต้นทุนการผลิต ซึ่งแนวทางการพัฒนาประกอบด้วย การกำหนดปัญหาและความต้องการ (Problem – P) การวางแผน (Plan – P) การปฏิบัติ (Action – A) และการประเมิน (Evaluation – E) โดยชุมชนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน (Participation – P) หรือ ย่อว่า P – P – A – E - P
บทคัดย่อ (EN): The purposes of this study were: 1) to investigate wisdom about processing pounded unripe rice in the Nayo village, 2) to examine a guideline to develop pounded unripe rice processing in the Nayo village, Akat Amnuai district, Sakon Nakhon province. Based on the qualitative research methodology, the study procedure was divided into 3 phases: phase – investigate the community context, phase 2 – examine wisdom about processing pounded unripe rice in the Nayo village, and phase 3 – inquire into a guideline to develop wisdom about processing pounded unripe rice in the Nayo village. The target group of the study was pounded unripe rice producers and community leaders derived by purposive sampling. The instrument used was an interview guide and a focus group discussion guide. Data were analyzed using descriptive and content analyses. The findings revealed as follows. The Nayo village has grown several breeds of rice for producing pounded unripe rice as a supplementary occupation, which has been developed from traditional wisdom and transmitted from generation to generation. When the production increases, there has been a need to develop a simple machine tool locally made for saving time and labor and then conveyed to each other in the community. The Nayo pounded unripe rice product has a unique identity that is different from that of other communities. It is very soft with a sophisticated production process by using the sugarcane leaves to mix with the pounded unripe rice to make it exclusively beautiful, sweet, fragrant and extra soft as packed in lotus leaves. 2) A guideline to develop potential of wisdom about processing pounded unripe rice in the Nayo village. Several households were found producing pounded unripe rice about 10 kilos or more per day. Labor must be employed to winnow 3 times. That caused health problems and required more cost to employ people winnowing rice. The producer group needed the threshing machine. In this study, a grass-seed threshing machine was introduced to be in experiment. The result appeared to be efficient. The rice producers have participated in suggestion on developing the machine to suit every production of pounded unripe rice. The rice producers were satisfied with this machine so much, since the threshing machine is worth for money, can reduce the time including labor and production costs. The development guideline includes problem identification (Problem-P), making a plan (Plan-P), taking action (Action-A), and making an evaluation (Evaluation-E) alongside the community participation (Participation-P) in every step. It would be called “P-P-A-E-P”.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แนวทางการพัฒนาศักยภาพภูมิปัญญาการแปรรูปข้าวเม่าบ้านนายอ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
30 กันยายน 2557
การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตโคขุนของสมาชิกสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด โครงการวิจัยเชิงวิเคราะห์การเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นในการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การพัฒนากระบวนการผลิตและการออกแบบเครื่องผลิตข้าวเม่าเพื่ออุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดย่อม การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากภูมิปัญญาข้าวฮาง การพัฒนาเอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวบริเวณชายแดน ไทย ลาว กัมพูชา การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตข้าวของชุมชน ตำบลเบิกไพร จังหวัดราชบุรี การพัฒนารูปแบบการศึกษาและประเมินศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมน้ำตาล การพัฒนาศักยภาพการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดพิษณุโลก การประเมินศักยภาพโดยเครื่องมือทางการวิเคราะห์เทคโนโลยี การพัฒนาศักยภาพโรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก