สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้ค้างในการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรม
ธงชัย สถาพรวรศักดิ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้ค้างในการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธงชัย สถาพรวรศักดิ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อรสา ดิสถาพร
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้ค้างในการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรมใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง ศรีเชียงใหม่ บึงกาฬ และอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย จำนวน 200 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการ วิธีการปฎิบัติในการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรม ทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้ค้าง สภาพปัญหา และข้อเสนอแนะของเกษตรกรต่อการใช้ค้างในการปลูกมะเขือเทศอุดสาหกรรม จากการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 43.4 ปี จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 มีสมาชิกในครัวเรือน 4-5 คน/ครัวเรือน มีสมาชิกช่วยในการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรม 1-2 คน/ครัวเรือน พืชหลักปลูกข้าว (ทำนา) พืชรองปลูกมะเขือเทศ มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 5.55 ไร่ /ครัวเรือน เป็นพื้นที่ถือครอง 3.35 ไร่/ครัวเรือน มีประสบการณ์ในการปลูกมาแล้ว 6.54 ปี ความรู้ในการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรมได้รับจากบริษัทที่รับซื้อผลผลิต เหตุผลในการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรมเนื่องจากขายผลผลิตได้ง่าย เมื่อเกิดปัญหาในการผลิตจะปรึกษาพ่อค้าท้องถิ่นที่จำหน่ายปัจจัยการผลิต เกษตรกรปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรมเฉลี่ย 3.20 ไร่/รุ่น ใช้เงินทุนเฉลี่ย 4,310 บาท/ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุนตนเอง ได้ผลผลิตมะเขือเทศเฉลี่ย 5,805 กิโลกรัม/ไร่ ขายผลผลิตได้ในราคา 2.00-2.50 บาท/กิโลกรัม มีรายได้จากการขายผลผลิตเฉลี่ย 11,800 บาท/ไร่ พันธุ์มะเขือเทศอุตสาหกรรมที่ใช้ คือ พันธุ์พีโต้ 94 โดยซื้อจากโรงงานที่รับซื่อผลผลิต เริ่มเพาะกล้าเดือนพฤศจิกายน ย้ายปลูกหลังจากกล้าอายุ 25-30 วัน โดยใช้เมล็ดพันธุ์อัตรา 50 กรัม/ไร่ ระยะปลูก 50x70 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยเคมีรวม 200 กิโลกรัม โดยแบ่งใส่ 3 ครั้ง ให้น้ำ 14 วัน / ครั้ง ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดโรคแมลงทุก 7 วัน/ครั้ง เกษตรกรเริ่มปักไม้ค้างหลังจากปลูกไปแล้ว 25-30 วันและเริ่มเก็บผลผลิตเมื่อปลูกไปแล้ว 85-90 วัน ทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้ค้างในการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรม เกษตรกรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นและมีทัศนคติที่ดี ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อหัวข้อ ท การใช้ค้างดีกว่าการไม่ใช้ค้าง ท การใช้ค้างช่วยทำให้ผลผลิตสูงขึ้น ท การใช้ค้างทำให้สะดวกในการดูแลรักษา ท การใช้ค้างทำให้สะดวกในการเก็บเกี่ยว ท การใช้ค้างทำให้คุณภาพผลผลิตดีขึ้น ท การใช้ค้างช่วยทำให้โรค แมลงลดลง ท การใช้ค้างทำให้เก็บผลผลิตได้หลายรุ่น ท ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการทำค้างเมื่อเปรียบเทียบกับผลตอบแทนจะคุ้มค่ากว่าการไม่ใช้ค้าง ท ค้างเป็นสิ่งจำเป็นในการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรม สำหรับหัวข้อ ค้างทุกรูปแบบให้ผลดีในด้านต่าง ๆ เหมือน ๆ กัน เกษตรกรมีความคิดเห็นและมีทัศนคติระดับที่เป็นกลาง ในระดับไม่แน่ใจ (เป็นกลาง) เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ค้างทุกครั้งเมือปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรม โดยใช้ค้างรูปแบบหน้าจั่ว (Triangle Method) ซึ่งได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่บริษัท/โรงงานที่รับซื้อผลผลิตเหตุผลในการใช้จะคำนึงถึงผลผลิตที่สูงขึ้นกว่าเดิม ปัญหาของการใช้ค้างเกษตรกรส่วนใหญ่เห็นด้วยที่ว่า ไม้ค้างมีราคาสูง ไม้ค้างหายาก เปลืองแรงงานในการทำค้าง เสียเวลาในการทำค้าง ไม้ค้างมีอายุการใช้งานสั้น และให้ข้อเสนอแนะว่าการใช้ค้างต้องทำในพื้นที่มาก ๆ ในแต่ละครั้งจึงจะคุ้มทุน ควรเก็บไม้ค้างในที่ร่มเมื่อใช้เสร็จเพื่อเป็นการยึดอายุการใช้งานและอยากให้มีการพัฒนาค้างซึ่งทำจากวัสดุอื่นๆ ที่สามารถใช้งานได้สะดวกและสามารถใช้ได้หลายครั้งจากการศึกษาครั้งนี้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ค้างในการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรมอย่างดีในทุก ๆ ด้าน และมีทัศนคติที่ดีเนื่องจากเห็นประโยชน์เพราะมีรายได้จากการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรมค่อนข้างสูง ปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง โรค แมลง ไม้ค้างหายาก การขากแคลนแรงงาน ซึ่งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับทางด้านวิชาการแต่เป็นเรื่องการวางแผนและการจัดการ ดังนั้นจึงสามารถกำหนดแนวทางการส่งเสริมและการแก้ไขปัญหาได้โดยด้านการส่งเสริมการเกษตรเน้น เรื่องการอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องการใช้ค้าง การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน การวางแผนการผลิตและการจัดการแรงงาน จัดทำแปลงสาธิต ส่งเสริมการใช้ค้างในการปลูกมะเขือเทศเพื่อการบริโภคสดและอุตสาหกรรม จัดทำโปสเตอร์ส่งเสริมการใช้ค้าง และแนะนำให้เกษตรกรปลูกไม้รวก ไม้ไผ่ เพื่อการใช้สอยและการจำหน่ายทดแทนไม้ตามธรรมชาติด้านการวิจัยและพัฒนาเน้น ศึกษารูปแบบค้างที่เหมาะสมเพื่อแนะนำให้เกษตรกรใช้ทดแทนไม้ตามธรรมชาติที่ลดน้อยลง โดยใช้วัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน อายุการใช้งานยาวและการทดสอบการใช้ค้างกับมะเขือเทศอุตสาหกรรมพันธุ์ต่าง ๆ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้ค้างในการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรม
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
สภาพการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรม ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าวของเกษตรกร อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย การตอบสนองของเกษตรกรต่อเทคโนโลยีของการปลูกมะเขือเทศในระบบข้าว มะเขือเทศ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่นี่ต่อโครงการส่งเสริมการปลูกโกโก้ในจังหวัดชุมพร และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สภาพการผลิตและการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในการผลิตมะเขือเทศของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร การจัดการการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานแปรรูปในจังหวัดสกลนคร การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อวิทยาการการทำนาครั้งที่ 2 ของจังหวัดราชบุรี การผลิตมะเขือเทศในฤดูกาลของเกษตรกร ตำบลกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก