สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการรมผลลำไยสดด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์
มานพ หาญเทวี - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการรมผลลำไยสดด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Fumigation Technology for Longan Fruit
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มานพ หาญเทวี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: มานพ หาญเทวี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การรมลำไยสดด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ที่โรงรม SO2 ในจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน ตามคำแนะนำในการตรวจรับรอง GMP ระหว่างเดือนตุลาคม 2548 ถึงกันยายน 2550 โดยปี 2549 ทดสอบ 24 โรงรม เมื่อวิเคราะห์การตกค้างของ SO2 ทันทีพบการตกค้างของ SO2 ในเนื้อ เปลือก และทั้งผล 10, 1,323 และ 192 มก./กก. ตามลำดับ และในปี 2550 ทดสอบ 16 โรงรม พบการตกค้างในเนื้อ เปลือก และทั้งผล 13, 1,518 และ 216 มก./กก. ตามลำดับ การใช้กำมะถันผงที่ใช้เหมาะสมเพื่อการส่งออกลำไยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งกำหนดค่า MRL ของ SO2 ในเนื้อลำไยไว้ที่ 50 มก. / กก. แต่จากการสุ่มตัวอย่างบางตะกร้า พบการตกค้างของ SO2 ในตะกร้าชั้นบนมากกว่าตะกร้าชั้นกลางและชั้นล่าง จึงเป็นประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาและศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระบบการหมุนเวียน SO2 ภายในโรงรม เนื่องจากหลายโรงรมมีระบบที่แตกต่างกัน ตลอดจนการบำบัดแก๊สที่เหลือออกจากห้องรม ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตกค้างของ SO2 นอกจากระยะเวลารมและปริมาณกำมะถันที่ใช้แล้วความชื้น ความสุกแก่ และแหล่งปลูกลำไยก็มีผลด้วย ผลลำไยที่มีความชื้นเหมาะสมไม่แห้งหรือเปียกเกินไปจะดูดซับ SO2 ได้ดี ผลลำไยมีความสุกแก่เกินไปมีการตกค้างของ SO2 สูงสุด การสลายตัวของ SO2 เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปริมาณ SO2 ในเนื้อลดลงอย่างรวดเร็วมากกว่า 50% หลังเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องนาน 5 วัน และที่อุณหภูมิ 2oC นาน 10 วัน เมื่อเปรียบเทียบสภาพการเก็บรักษาทั้งที่ห้องเย็นโรงคัดบรรจุและห้องปฏิบัติการ สวพ.1 พบว่าปริมาณ SO2 ในเนื้อลำไยเพิ่มขึ้นเมื่อทดลองเก็บที่อุณหภูมิ 2oC ในห้องเย็นของโรงคัดบรรจุสันนิษฐานว่ามาจากบรรยากาศภายในห้องที่เต็มไปด้วยแก๊ส SO2 ที่ระเหยออกมาจากลำไยจำนวนมากที่บรรจุ การศึกษาหาเทคโนโลยีควบคุมการเปลี่ยนสีน้ำตาลของเปลือกผลและการเน่าเสียของผลลำไยหลังเก็บเกี่ยวทดแทนการรม SO2 ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2548 ถึงกันยายน 2552 ได้แก่ 1) การแช่ผลลำไยในวัตถุกันเสีย 5 ชนิด ได้แก่ glacial acetic acid, sodium benzoate, potassium sorbate, hydrogen peroxide และ sodium metabisulphite แล้วเก็บรักษาที่ 5?C นาน 10 วัน พบว่า สีเปลือกผลที่แช่ในวัตถุกันเสีย 4 ชนิดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อเปรียบเทียบกับการแช่ใน sodium metabisulphite และน้ำกลั่น โดยการผสมวัตถุกันเสีย sodium benzoate 0.3% ในสารเคลือบผิวไคโตซาน 1.2% เคลือบผลภายหลังย้อมสีผลด้วยขมิ้นชัน บรรจุถาดโฟมหุ้มด้วยฟิล์ม PVC ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงสีผิวได้ไม่เกิน 30 วัน 2) การแช่ลำไยในสารต่อต้านอนุมูลอิสระและเกลือแคลเซียม 11 ชนิดได้แก่ citric acid, ascorbic acid, tartaric acid, calcium chloride, formic acid, calcium nitrate, 4-hexyl resorcinol, oxalic acid, L-cysteine, glutathione, sodium hexametaphosphate แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง และ 5?C พบว่ากรดทุกชนิดไม่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา แม้ช่วยฟอกสีเปลือกในวันแรกแต่การหุ้มฟิล์มทำให้เปลือกสีคล้ำลงรวดเร็ว การแช่ใน sodium hexametaphosphate 3% และไม่หุ้มฟิล์มดีที่สุด 3) การแช่ผลลำไยในสารละลายโอโซนที่กำลังผลิต 250 mg/h นาน 36 นาทีที่อุณหภูมิสารละลาย 5oC ให้ผลดีกว่าการรมด้วยโอโซน 4) การพ่นผลลำไยด้วยน้ำร้อน 49oC ทำสีเปลือกคล้ำลงเร็วขึ้นกว่าการใช้ความเย็นในการลดอุณหภูมิในผลทันที 5) การแช่ผลลำไยใน citric acid 2% + ascorbic acid 2% แล้วเก็บรักษาที่ 2?C นาน 6 สัปดาห์ มีค่าความสว่าง (L*) ของเปลือกสูงกว่าการจุ่มน้ำกลั่นแต่ก็ต่ำกว่าการรม SO2 นอกจากนี้การรม SO2 ได้รับการยอมรับจากผู้ชิมต่ำสุดเพราะเนื้อผลบริเวณขั้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู 6) การใช้โอโซนร่วมกับการลดอุณหภูมิทำให้ผลลำไยเก็บรักษาได้น้อยกว่าการรม SO2 7) การเพิ่มความเข้มข้น citric acid ถึง 40% ในไคโตซาน 0.5% (pH 1.37) และเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องช่วยลดการเปลี่ยนสีน้ำตาลของเปลือกผลลำไยได้ 7 วัน 8) การรมผลลำไยด้วย CO2 ภายใต้ความดัน 2 kg/cm2 แล้วเก็บรักษาที่ 10?C ช่วยชะลอการเปลี่ยนสีเปลือกได้ไม่เกิน 18 วันเปรียบเทียบกับการใช้ O2 และ NO2 เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการรมผลลำไยด้วย SO2 มากที่สุด คือ การแช่ผลลำไยใน HCl เป็นสารที่จัดเป็น GRAS ชนิดหนึ่งโดย FDA ใช้เป็น acidulant agent และปัจจุบันใช้ในเชิงการค้าในลิ้นจี่ส่งออก การแช่ผลใน 1.5 N นาน 20 นาที (pH 0.21) มีประสิทธิภาพควบคุมการเปลี่ยนสีเปลือกเป็นสีน้ำตาลสูงกว่าการแช่ใน oxalic acid 10% (pH 0.9) และ citric acid 50% (pH 0.8) นาน 60 นาที ขณะที่ ascorbic acid (pH 1.5-2.3) นาน 20-60 นาที ไม่ลดการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลของเปลือก การแช่ผลใน HCl มีต้นทุนต่ำกว่าสารทุกชนิด โดยการจุ่มผลลำไยใน HCl 1.5 N นาน 20 นาที ผึ่งสะเด็ดน้ำ และนำผลไปล้างในน้ำสะอาดให้ผลดีที่สุดคือลดการเปลี่ยนสีน้ำตาลเนื่องจากอาการสะท้านหนาวได้ใกล้เคียงกับการรม SO2 และเก็บรักษาได้นานถึง 60 วันเมื่อเก็บรักษาในตะกร้าพลาสติกความจุ 3 kg ที่อุณหภูมิ 3?1?C (85% RH) การยับยั้งการเกิดสีน้ำตาลของเปลือกเกิดจาก HCl ช่วยฟอกสีผิวเปลือกและลด pericarp pH ต่ำลงใกล้เคียงกับ 3.0 ในขณะที่ชุดควบคุมเกิดอาการสะท้านหนาวทั้งผลภายใน 5 วันและมีค่า pericarp pH ใกล้เคียง 5.0 การใช้ HCl ร่วมกับการล้างผลช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพเนื้อ ได้แก่ pH ของน้ำคั้น การตกค้างของกรดในเนื้อเมื่อวัดจากค่าปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ และคะแนนความชอบได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ HCl ที่ไม่ล้างสารออก นอกจากนั้นยังช่วยลดการเกิดโรค และมีคะแนนความชอบของคุณภาพเนื้อได้นานอย่างน้อย 3-4 วัน ระหว่างการวางจำหน่ายลำไยทั้งตะกร้าที่อุณหภูมิห้องนาน 7 วัน ภายหลังการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5?C นาน 45 วัน ดังนั้น การใช้ HCl 1.5 N นาน 20 นาที ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ และนำผลไปล้างสารออกในน้ำสะอาดเป็นวิธีที่ง่ายและต้นทุนต่ำซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ทดแทน SO2 ได้ในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): Investigation of fumigated longan with SO2 at the packing houses in the northern area, i.e. Chiang Mai and Lamphun Provinces were studied. (1.1)The method of sulfur burning and sulfur usages was practiced following guideline of GMP (Good Manufacturing Practice). After that, the fumigated fruit was immediately transferred to analyze SO2 residue in the fruit flesh at laboratory of Office of Agricultural Research and Development Region 1 (OARD1) in Chiang Mai. The experiments were carried out from October, 2005 to September, 2007. Results of the averaged SO2 residual values in fruit flesh, pericarp and whole fruit sampling from 24 packing houses was 10, 1,323 and 192 mg/kg in 2006 and sampling from 16 packing houses was 13, 1,518 and 216 mg/kg in 2007, respectively. Therefore, the appropriate rate of sulfur dosage of accredited GMP standard of packing houses had suitable to export to PR. China and SO2 residue in longan fruit flesh had less than 50 mg/kg (MRL). However, the SO2 residual samples in some baskets sampling from different position in fumigated room indicated that SO2 residue in flesh of the top position in room detected in high value than that of the middle and down position room. This problem occurrence was interesting in study to resolve solution. The hypothesis was also related to inconsistent movement of SO2 within fumigation room because of difference in circulated air system in the fumigation room of packing houses including the SO2 waste scrubber. (1.2) Factors affecting SO2 residue in longan fruit except for fumigation time and appropriated sulfur rate during fumigation was studied. The results showed that fruit moisture, maturity and grown location had resulted in the values of SO2 residue in fruit after fumigation. The suitable moisture fruits, too no dry or wet showed good efficacy in adsorbed SO2 content whereas the over-ripe fruit had the highest value of SO2 residue in fruit. The fruit harvesting from different grown location had resulted different in SO2 residual values after fumigation. The degradation of SO2 in fruit during storage was variable change though out the period of storage time. SO2 residue in flesh was rapidly declined more than 50% after day 5 at room temperature storage and at day 10 at 2 oC. In compared to the condition of cold room for storage between OARD1 laboratory and packing house, the result showed that SO2 residue in flesh increased when stored at 2 oC in cold room of packing house. The hypothesis was SO2 released in the air of cold room due to many fumigated fruit was stored in cold room. The objective of this experiment was to find alternative methods for the control of postharvest browning and disease in longan fruits with the replacing of sulfur dioxide (SO2). The experiments were carried out at laboratories of Office of Agricultural Research and Development region 1 in Chiang Mai and the laboratory at Post-harvest and Products Processing Research and Development Office in Bangkok from October, 2005 to September, 2009. The experiments were: 1) Total 2 kg of fruits were placed in commercial perforated plastic basket and dipped in 5 preservatives, i.e. glacial acetic acid, sodium benzoate, potassium sorbate, hydrogen peroxide and sodium metabisulphite for 10 min. They were stored at 5 ?C for 10 days. Fruits dipped in distilled water were used as controls. Results indicated that the after dipping in 4 preservatives, pericarp became browning after storage for 10 days in compared with dipping in sodium metabisulphite and distilled water. Addition of the preservative: sodium benzoate 0.3% in chitosan coating 1.2% + citric acid 3% was used for coating the fruits after dipping in turmeric colorant. They were packed in foam tray and wrapped with PVC film; however, this treatment delayed pericarp browning during storage at 5?C less than 30 day. 2) Dipping in 0.1-10% of 11 antioxidants and calcium salts, e.g. citric acid, ascorbic acid, tartaric acid, calcium chloride, formic acid, calcium nitrate, 4-hexyl resorcinol, oxalic acid, L-cysteine, glutathione, sodium hexametaphosphate for 5-10 min was studied. They were air-dried, packed in foam tray, wrapped with PVC film and storage at ambient temperature and 5?C. Results found that all treatments could not prolong storage life. All acids could better bleach pericarp color only the first day of storage, pericarp was tended to discolour and increased disease incidence caused by film wrap due to the high humidity inside the packaging which induced pericarp decay. The best result was dipping in sodium hexametaphosphate 3% and kept in dry condition (the fruits were stored in foam tray without film wrap). 3) Immersion the fruits in ozone dissolved in water in the form of a 5oC aqueous solution (ozonation) at 250 mg O3/h for 36 min, air-dried, packed in foam tray and wrapped with 11 ?m PVC film showed higher fruit quality than the fruit treated with directly ozone gas. 4) Spraying the fruits with hot water at 49oC increased pericarp darkening faster than the fruit treated with pre-cooling. 5) Dipping 1 kg fruits panicle attached in citric acid 2% + ascorbic acid 2% for 5 min had more L (Lightness) values of pericarp than control but less than SO2 fumigation significantly during storage at 2?C for 6 weeks. However, for sensory evaluation, SO2 fumigated treatment was the least acceptance from the testers because of pulp discoloration. 6) Application of ozone incorporated with pre-cooling had storage life shorter than the fruit treated with SO2. 7) In edible coating technology, increasing citric acid concentration up to citric acid 40% mixed with chitosan 0.5% at a pH of 1.37 and kept in dry condition could control pericarp browning for 7 days during storage at ambient temperature. Whereas untreated control fruit was rapidly pericarp browning by 4 days. However, the limiting factor for this treatment was the viscosity of the chitosan citric acid solution, longer drying time, coated fruit wet and high cost, compared to SO2 fumigation. 8) Fumigation with CO2 under high pressure at 2 kg/cm2, packed in foam tray and wrapped with 11 ?m PVC film delayed pericarp browning during storage at 10?C for 18 days when compared with O2 and NO2. The best technology which had high efficacy near by SO2 was dipping in HCl. It is generally recognized as safe (GRAS) by Food and Drug Administration (FDA) and used as an acidulate agent. It has gained commercial accept in exported litchi. Dipping in HCl 1.5 N (pH 0.21) for 20 min reduced pericarp browing better than the fruit dipping in oxalic acid 10% (pH 0.9) and citric acid 50% (pH 0.8) for 60 min whereas ascorbic acid at all concentration of 5-50%, at pH 1.5-2.3 and contact time of 20-60 min did not reduce pericarp browning. HCl had the cheapest and shortest contact time in compared to the other treatments. Dipping in HCl and the effects of subsequent rinsing in water on chilling injury and storage life during storage at 3?1?C (85% RH) for 60 days were investigated. The fruit was stored and packaged in commercial perforated plastic baskets. Dipping the fruits in 1.5 N HCl solution for 20 min followed by draining and subsequent rinsing in water as well as fumigating with SO2 gave the best control of pericarp browning for 60 days. Bleached with HCl reduce skin browning during storage by reducing pH of pericarp closer to 3.0. After 5 days, the pericarp of untreated fruits became brown and pericarp pH closer to 5.0. Dipping fruits in HCl with rinsing reduced the effects of acid penetration in flesh which was indicated by no change in juice pH and titratable acidity (indicated H+ residue) values and eating quality when compared with HCl without rinsing. In addition, dipping in 1.5 N HCl for 20 min and rinsing exhibited high efficacy in controlling fruit decay and maintaining fruit color and eating qualities during 7 days storage at 25 ?C following 45 days storage at 5 ?C. Therefore, dipping in 1.5 N HCl for 20 min, followed by rinsing in water can be considered for commercial application in replacing SO2 in the future.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการรมผลลำไยสดด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีจัดการหลังการเก็บเกี่ยวลำไย โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์ลำไย เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว : การใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์สำหรับลำไยสดเพื่อการส่งออก การศึกษาการตกค้างของซัลเฟอร์ในผลลำไย หลังการรรมด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ร่วมกับการวิเคราะห์การกระจายตัวและหาตำแหน่งของธาตุด้วยรังสีเอ็กซ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาลำไย โครงการวิจัยศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการอบแห้งเนื้อมังคุดด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อน โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องอบแห้งลำไย แผนงานวิจัยและพัฒนาลำไย การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาลิ้นจี่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก