สืบค้นงานวิจัย
การใช้การแข่งขันของจุลินทรีย์เพื่อรักษาคุณภาพและเพิ่มความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากปลาน้ำจืดเศรษฐกิจ
นิลุบล กิจอันเจริญ, สินีนาฏ ศิริ, สมสมร แก้วบริสุทธิ์, อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การใช้การแข่งขันของจุลินทรีย์เพื่อรักษาคุณภาพและเพิ่มความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากปลาน้ำจืดเศรษฐกิจ
ชื่อเรื่อง (EN): Utilization of Competitive Microorganisms to Prolong Quality and Improving Safety of Value-added Products from Economic Freshwater Fish
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดลองที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณแบคทีเรียเริ่มต้นในเนื้อปลานิลและเนื้อปลาดุก โดยใช้การจุ่มเนื้อปลาในน้ำคลอรีน ทำการทดสอบความเข้มข้นของ residual chlorine 4 ระดับ (0, 100, 200 และ 300 ppm.) และระยะเวลาในการจุ่มเนื้อปลาในน้ำคลอรีน 4 ระยะ (0, 1, 2, และ 3 นาที) เนื้อปลาที่จุ่มน้ำคลอรีนแล้ว จะนำมาวิเคราะห์ปริมาณ psychrotrophic bacteria, mesophilic bacteria และคะแนนของกลิ่นโดยใช้ประสาทสัมผัส การทดลองที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของการเติมแบคทีเรีย Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus ต่อพารามิเตอร์ที่สัมพันธ์กับคุณภาพ (psychrotrophic bacteria, mesophilic bacteria, ด่างที่ระเหยได้ทั้งหมด, ความเป็นกรด-ด่าง, และคะแนนทางประสาทสัมผัสของกลิ่น) และพารามิเตอร์ที่สัมพันธ์กับความปลอดภัย (coliforms, Staphylococcus aureus, Salmonella spp. และ Vibrio cholerae) ของเนื้อปลา โดยปริมาณแบคทีเรียที่เติมมี 2 ระดับ คือ 0 log cfu/g (ชุดควบคุม) และ 6 log cfu/g ผลการทดลองที่ 1 พบว่า การใช้น้ำคลอรีนที่มี residual chlorine เท่ากับ 200 ppm. และเวลาจุ่ม 3 นาทีให้ผลดีที่สุดในการลดปริมาณ psychrotrophic bacteria และ mesophilic bacteria แต่การใช้ความเข้มข้น residual chlorine ที่ 200 ppm. และเวลาจุ่ม 3 นาทีนี้ อาจทำให้เนื้อปลามีกลิ่นคลอรีน ผลการทดลองที่ 2 พบว่า เนื้อปลาที่เติม L. delbrueckii subsp. bulgaricus ปริมาณ 6 log cfu/g มีปริมาณ psychrotrophic bacteria, mesophilic bacteria, coliforms, S. aureus, ด่างที่ระเหยได้ทั้งหมด, ความเป็นกรด-ด่าง, และคะแนนทางประสาทสัมผัสของกลิ่น ไม่แตกต่างจากเนื้อปลากลุ่มควบคุมที่ไม่มีการเติมเชื้อ การทดลองไม่พบ Salmonella spp. และ V. cholerae ในทุกตัวอย่างที่ทำการศึกษา ปริมาณ L. delbrueckii subsp. bulgaricus ลดลงตามระยะเวลาในการเก็บรักษา สภาวะการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญของแบคทีเรียนี้ โดยเฉพาะอุณหภูมิต่ำ อาจมีส่วนทำให้ปริมาณ L. delbrueckii subsp. bulgaricus ลดลง ดังนั้นการเติม L. delbrueckii subsp. bulgaricus จึงไม่ให้ผลในการชะลอการเน่าเสียหรือเพิ่มความปลอดภัยของเนื้อปลานิลและเนื้อปลาดุก (คำสำคัญ: เนื้อปลาแล่, ปลานิล, ปลาดุก, คุณภาพ, ความปลอดภัย, น้ำคลอรีน, Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus)
บทคัดย่อ (EN): The first experiment was aimed to reduce the initial loads of quality related bacteria in tilapia and catfish fillets using chlorinated water. Four concentrations of residual chlorine (0, 100, 200 and 300 ppm.) in the chlorinated water and 4 levels of dipping times (0, 1, 2, and 3 minutes) were tested. After dipping tilapia and catfish fillets in the chlorinated water, bacterial counts (psychrotrophic and mesophilic bacteria) and sensorial odor score of the fillets were determined. The second experiment was aimed to investigate the effect of biopreservative/bioprotective Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus on quality and safety parameters of tilapia and catfish fillets. The fillets inoculated with L. delbrueckii subsp. bulgaricus at the levels of 0 log cfu/g (control) and 6 log cfu/g were kept in ice. Quality parameters (psychrotrophic bacteria, mesophilic bacteria, total volatile bases, pH, and sensorial odor score) and safety parameters (coliforms, Staphylococcus aureus, Salmonella spp., and Vibrio cholerae) as well as population of L. delbrueckii subsp. bulgaricus were determined at the storage period of 0, 4, 8, 12, 16, and 20 days. The results obtained from the first experiment showed that chlorinated water with the residual chlorine concentration of 200 ppm. and dipping time of 3 minutes were the most effective treatments in reducing psychrotphic and mesophilic bacteria in tilapia and catfish fillets. However, the treatments caused a perceivable chlorine odor in catfish and tilapia fillets. For the second experiment, the results showed that quality and safety parameters (psychrotrophic bacteria, mesophilic bacteria, coliforms, S. aureus, total volatile bases, pH, and sensorial odor score) of tilapia and catfish fillets inoculated with L. delbrueckii subsp. bulgaricus at the level of 6 log cfu/g were not significantly different compared with the control containing no bacterial inoculums. Salmonella spp. and V. cholerae were not found in all samples. Population of L. delbrueckii subsp. bulgaricus decreased over time. Storage conditions especially low temperature might contribute to the reduction of L. delbrueckii subsp. bulgaricus. Therefore, inoculation of L. delbrueckii subsp. bulgaricus did not either delay quality deterioration or increase safety of the fillets. (Keywords: fillet, tilapia, catfish, quality, safety, chlorinated water, Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้การแข่งขันของจุลินทรีย์เพื่อรักษาคุณภาพและเพิ่มความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากปลาน้ำจืดเศรษฐกิจ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
30 กันยายน 2552
การศึกษาความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลา การวิจัยและปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของน้ำตาลโตนดเข้มข้นและการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและคุณภาพของปลานิลจากการเลี้ยงแบบยั่งยืน การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าจากไหมป่า การวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของฟาร์มกวาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในการควบคุมทางชีวภาพ การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการเลี้ยงปลาหมอร่วมกับปลานิล ต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากปลาน้ำจืดเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาพลาสมาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยและเพิ่มมูลค่าสำหรับคะน้าและมะม่วง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก