สืบค้นงานวิจัย
ผลการเสริมไลซีนต่อสมรรถนะการผลิตไข่ของนกกระทาญี่ปุ่นช่วงให้ไข่
สว่าง กุลวงษ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลการเสริมไลซีนต่อสมรรถนะการผลิตไข่ของนกกระทาญี่ปุ่นช่วงให้ไข่
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of lysine supplementation on egg production of laying Japanese quails (Coturnix coturnix japonica)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สว่าง กุลวงษ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sawang Kullawong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของระดับไลซีนในอาหารต่อสมรรถนะการผลิตไข่ของนกกระทา ญี่ปุ่น ใช้นกกระทาญี่ปุ่น อายุ 6 สัปดาห์ จำนวน 400 ตัว สุ่มไก่ออกเป็น 5 กลุ่ม ตามปัจจัยที่ใช้ในการศึกษา คือ ระดับ ไลซีนในอาหาร 5 ระดับ คือ 1.10, 1.20, 1.30, 1.40 และ 1.50 % กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 20 ตัวให้นกกระทาญี่ปุ่น ได้รับอาหาร และน้ำดื่มอย่างเต็มที่ จนกระทั่งอายุ 18 สัปดาห์ การวิจัยครั้งนี้ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าผลของการเสริมไลซีนในสูตรอาหารนกกระทาญี่ปุ่นต่อสมรรถนะการผลิตไข่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) น้ำหนักไข่เฉลี่ยมีค่าเป็น 7.19, 7.32, 7.41, 7.42 และ 7.51 ก./ฟอง ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์การไข่ที่คำนวณได้จากจำนวน นกกระทาที่เริ่มต้นเลี้ยงมีค่าเป็น 84.59, 88.06, 87.10, 85.95 และ 86.99 % ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์การไข่ที่คำนวณได้ จากจำนวนนกกระทาที่เหลืออยู่ในวันนั้นมีค่าเป็น 85.31, 89.02, 87.39, 87.00 และ 87.45 % ตามลำดับ ปริมาณอาหาร ที่กินมีค่าเป็น 19.74, 19.69, 19.74, 19.75 และ 19.61 ก./ตัว/วัน ตามลำดับ ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นไข่มีค่า เป็น 2.75, 2.70, 2.67, 2.67 และ 2.62 และประสิทธิภาพการใช้โปรตีนมีค่าเป็น 1.82, 1.86, 1.88, 1.88 และ 1.92 ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าระดับไลซีนที่เหมาะสมในอาหาร สำหรับนกกระทาญี่ปุ่น ในช่วงอายุ 6 ถึง 18 สัปดาห์ มีค่าเป็น 1.10 %
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to determine the effect of lysine levels in diet on egg performance of Japanese quails (Coturnix coturnix japonica). A total 400 birds and age 6 weeks old Japanese quails were randomly allocated to 5 groups (5 difference lysine levels in diets 1.10, 1.20, 1.30, 1.40 and 1.50 % with 4 replicates of 20 birds each. The experiment was designed as Completely Randomized Design. Japanese quails received feed and water freely available at all time (ad libitum) during 18 weeks of age experimental periods. The results showed that egg performance of Japanese quails fed different lysine levels in diets were not significant difference (P > 0.05). The egg weights were 7.19, 7.32, 7.41, 7.42 and 7.51 g/egg, respectively. The hen house production were 84.59, 88.06, 87.10, 85.95 and 86.99 %, respectively. Similarly, the hen day production were 85.31, 89.02, 87.39, 87.00 and 87.45 %, respectively. The average daily feed intake were 19.74, 19.69, 19.74, 19.75 and 19.61 g/b/d, respectively. Feed conversion ratio were 2.75, 2.70, 2.67, 2.67 and 2.62, respectively and protein efficiency ratio were 1.82, 1.86, 1.88, 1.88 and 1.92, respectively. In conclusion, this study indicated that the proper lysine level in diet for Japanese quails during 6 to 18 weeks of age should be at 1.10 %.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P011 Ani16.pdf&id=2717&keeptrack=9
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลการเสริมไลซีนต่อสมรรถนะการผลิตไข่ของนกกระทาญี่ปุ่นช่วงให้ไข่
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลการเสริมเมทไธโอนีนต่อสมรรถนะการผลิตไข่ของนกกระทาญี่ปุ่นช่วงให้ไข่ ผลของสังกะสีไกลซีนต่อสมรรถนะการผลิต คุณภาพไข่ และความเข้มข้น ของสังกะสีในนกกระทาญี่ปุ่นไข่ ผลของระดับไลซีนต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของนกกระทาญี่ปุ่นเพศผู้ ผลการใช้หอยเชอรี่ป่นในอาหารต่อสมรรถนะการผลิตไข่และค่าโลหิตวิทยาของนกกระทาญี่ปุ่น ผลของการใช้หนอนนกป่นในสูตรอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ของนกกระทาญี่ปุ่น ผลของการเสริมฟ้าทะลายโจรผงต่อผลผลิตและคุณภาพไข่ในนกกระทาญี่ปุ่น ผลของการเสริมไลซีนและวาลีนในอาหารแม่สุกรกำลังให้นม ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมปูนสำเร็จรูปเป็นแหล่งแคลเซียมในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ และคุณลักษณะของเปลือกไข่ในช่วงระยะเริ่มให้ผลผลิตไข่ อิทธิพลของสัดส่วนเมทไธโอนีนต่อไลซีนต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของสุกรน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ผลการเสริมไข่น้ำในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและสีไข่แดงของเป็ดไข่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก