สืบค้นงานวิจัย
ทรัพยากรสัตว์ทะเลจากการประมงพื้นบ้านในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำทางฝั่งทะเลอันดามัน...
วิทยา พันธะกิจ, สนธยา บุญสุข, อรสา เพชรสลับศรี, ชลิต สง่างาม - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ทรัพยากรสัตว์ทะเลจากการประมงพื้นบ้านในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำทางฝั่งทะเลอันดามัน...
ชื่อเรื่อง (EN): Marine Resources from Small Scale Fisheries in the Seasonal Closed Area of the Andaman Sea
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การประมงพื้นบ้านในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำในฤดูปลามีไข่และวางไข่เลี้ยงลูก ทางฝั่งทะเลอันดามัน ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง เก็บข้อมูลจากเครื่องมืออวนจมกุ้งสามชั้น อวนลอยปลาทู อวนล้อมติดปลาทู อวนจมปู อวนปลาเห็ดโคน ลอบปูแบบพับได้ ลอบหมึก แร้วปูม้า และโป๊ะน้ำตื้น ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2553 พบว่าชาวประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่ใช้เวลาทำ การประมง 1-2 วันต่อเที่ยว ใช้แรงงานประมง 1-3 คน ออกทำการประมงด้วยเรือเครื่องหางยาวขนาด 6.0-11.0 เมตร ในแหล่งประมงที่ห่างฝั่ง 1.0-15.0 กิโลเมตร ระดับความลึกน้ำ 2.0-30.0 เมตร การทำประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่สามารถทำได้ตลอดทั้งปี อัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยจากเครื่องมืออวนจมกุ้งสามชั้น อวนลอยปลาทู อวนล้อมติดปลาทู อวนจมปู และอวนปลาเห็ดโคน เท่ากับ 0.35 1.41 15.08 0.88 และ 0.48 กิโลกรัม/อวน 100 เมตร ตามลำดับ เครื่องมือลอบปูแบบพับได้ ลอบหมึก และแร้วปูม้า เท่ากับ 0.75 3.67 และ 1.37 กิโลกรัม/ลอบ 10 ลูก ตามลำดับ ส่วนโป๊ะน้ำตื้นมีอัตราการจับเท่ากับ 6.08 กิโลกรัม/โป๊ะ 1 ลูก องค์ประกอบชนิดสัตว์น้ำที่จับได้จากเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ส่วนใหญ่จะพบกลุ่มชนิดสัตว์น้ำเป้าหมายของเครื่องมือชนิดนั้น เช่น อวนจมกุ้งสามชั้น และโป๊ะน้ำตื้น มีสัตว์น้ำเป้าหมาย คือ กุ้งแชบ๊วย พบร้อยละ 37.35 และ 29.56 อวนลอยปลาทู และอวนล้อมติดปลาทูพบปลาทูร้อยละ 25.97 และ 91.42 อวนปลาเห็ดโคนพบปลาเห็ดโคนร้อยละ 81.96 อวนจมปู ลอบปูแบบพับได้ และแร้วปูม้า พบปูม้าร้อยละ 56.81 77.00 และ 67.14 ตามลำดับ ลอบหมึกพบหมึกหอมและหมึกกระดองร้อยละ 82.78 และ 16.45 ตามลำดับ องค์ประกอบขนาดสัตว์น้ำ ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ปลาทู ปลาเห็ดโคน กุ้งแชบ๊วย ปูม้า และหมึกหอม ที่จับได้จากเครื่องมือประมงพื้นบ้านมีขนาดเฉลี่ยใหญ่กว่าขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ ยกเว้นปลาทูและกุ้งแชบ๊วยที่จับได้จากเครื่องมือ โป๊ะน้ำตื้นมีขนาดความยาวเฉลี่ยเล็กกว่าขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์
บทคัดย่อ (EN): The small-scale fisheries in the closed area during spawning and breeding season in the Andaman Sea were studied by collecting the data in Phuket, Phang-nga, Krabi and Trang provinces during January to December, 2010 from trammel net, mackerel gillnet, mackerel surrounding net, crab bottom gillnet, sand whiting gillnet, crab trap, squid trap, crab lift net and bamboo stake trap. The study found that the fishing were operated 1-2 days/trip, employed 1-3 fishing labours and operated by 6.0-11.0 m length longtail boats. The fishing ground was 1.0-15.0 km off the shoreline where the water depts were in the range of 2.0-30.0 m. The small-scale fisheries mostly operated throughout the year. The average catch rates of trammel net, mackerel gillnet, mackerel surrounding net, crab bottom gillnet and sand whiting gillnet were 0.35, 1.41, 15.08, 0.88 and 0.48 kg/100 m of nets, respectively. For crab trap, squid trap and crab lift net, the average catch rates were 0.75, 3.67 and 1.37 kg/10 traps, respectively. For bamboo stake trap, the average catch rate was 6.08 kg/trap. The main species from those gears mostly were the target species of each gear. The banana prawn was the main species of trammel net and bamboo stake trap for 37.35% and 29.56% of total catches. The mackerel was the main species of mackerel gillnet and surrounding net for 25.97% and 91.42% of total catches. The sand whiting (Sillago spp.) was the main species of the sand whiting gillnet for 81.96% of total catch. The blue swimming crab was the main species of crab bottom gillnet, crab trap and crab lift net for 56.81, 77.00 and 67.14% of total catches, respectively. For squid trap, soft cuttlefish and cuttlefish contributed 82.78% and 16.45% of the total catch. The average sizes of main economic species, including mackerel, sand whithing, banana prawn, blue swimming crab and soft cuttlefish, were mostly larger than their sizes at first mature. However, the average lengths of mackerel and banana prawn caught by bamboo stake trap were smaller than their lengths at first mature
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทรัพยากรสัตว์ทะเลจากการประมงพื้นบ้านในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำทางฝั่งทะเลอันดามัน...
กรมประมง
30 กันยายน 2554
กรมประมง
ความชุกชุมและการแพร่กระจายของสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนในเขตมาตรการอนุรักษ์ สัตว์น้ำทางฝั่งทะเลอันดามัน สภาวะทรัพยากรสัตว์ทะเลและการประมงพาณิชย์ในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำในฤดูปลาที่มีไข่และวางไข่ เลี้ยงลูกและพื้นที่ใกล้เคียงทางฝั่งทะเลอันดามัน ทรัพยากรสัตว์ทะเลจากเรือสำรวจประมงในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำทางฝั่งทะเลอันดามัน แพลงก์ตอนสัตว์ในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำในฤดูปลาที่มีไข่ และวางไข่ เลี้ยงลูก และพื้นที่ใกล้เคียงทางฝั่งทะเลอันดามัน ความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในลุ่มน้ำสงคราม สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำจากเครื่องมือประมงพื้นบ้านบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตชายฝั่ง 10 ไมล์ทะเลบริเวณ ฝั่งทะเลอันดามัน สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอในอ่าวไทย สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำจากการประมงพื้นบ้านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สภาวะทรัพยากรและวิถีตลาดกั้งกระดาน (Thenus spp.) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก