สืบค้นงานวิจัย
การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้าน บริเวณพื้นที่วนเกษตร ต. แม่พูล อ. ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
สุภาพร พงศ์ธรพฤกษ์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ชื่อเรื่อง: การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้าน บริเวณพื้นที่วนเกษตร ต. แม่พูล อ. ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อเรื่อง (EN): The Conservation of Biodiversity and Utilization of Herbal and Native vegetable in Agroforestry, Maepool sub-district, Lublae district, Uttaradit province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุภาพร พงศ์ธรพฤกษ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ชาติทนง โพธิ์ดง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้าน บริเวณพื้นที่วนเกษตร ต. แม่พูล อ. ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของสมุนไพรและผักพื้นบ้าน โดยดำเนินการสำรวจและรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านในบริเวณพื้นที่สวนวนเกษตรร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านและเกษตรกรในการสำรวจ จำแนกชนิดพันธุ์ของพืชและการใช้ประโยชน์ ทำการจัดเก็บตัวอย่างพันธุ์พืชโดยจัดทำตัวอย่างพรรณไม้แห้งเพื่อนำไปจัดจำแนกชนิด ศึกษาข้อมูลทางพฤกษศาสตร์และตรวจสอบความถูกต้อง ผลการศึกษามีการสำรวจพบพืชทั้งหมด 164 ชนิด จำนวน 87 วงศ์ จำแนกตามการใช้ประโยชน์ จัดเป็นพืชสมุนไพร 99 ชนิด เป็นผักพื้นบ้าน 38 ชนิด และใช้ประโยชน์ได้ทั้งเป็นสมุนไพรและผักพื้นบ้าน 27 ชนิด สำหรับลักษณะทางนิเวศวิทยาของพื้นที่วนเกษตร ได้ทำการศึกษาคุณสมบัติของดิน วิเคราะห์โครงสร้างสังคมพืช ทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างโดยวางแปลงสุ่มตัวอย่างขนาด 40 x 40 เมตร จำนวน 19 แปลง พบว่า ลักษณะของสังคมพืชในพื้นที่วนเกษตร อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพันธุ์ไม้ที่มีค่าดัชนีความสำคัญทางนิเวศวิทยาในพื้นที่สูงได้แก่ ทุเรียน ลองกอง และลางสาด ส่วนดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ (Shannon-Wiener Index) พบว่ามีค่า 2.48 ลักษณะสมบัติทางเคมีของดินในระบบวนเกษตร พบว่า ค่าปฏิกริยาของดินมีค่าอยู่ที่ระดับ 3.98 – 6.02 ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าอยู่ที่ระดับ 1.829 – 4.526 เปอร์เซ็นต์ สำหรับความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน พบว่า มีค่าอยู่ที่ระดับ 13.739 -23.735 me/100g ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ที่พบ มีค่าอยู่ที่ระดับ 0.006 – 0.028 เปอร์เซนต์ ปริมาณฟอสฟอรัสและปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ มีค่าอยู่ที่ระดับ 17.178-37.321 ppm และ 5.316 – 85.601 ppm ตามลำดับ
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้าน บริเวณพื้นที่วนเกษตร ต. แม่พูล อ. ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
30 กันยายน 2552
การศึกษาความหลากหลายและโครงสร้างของสังคมพืชบริเวณพื้นที่เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โครงการสื่อความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังและพื้นที่ใกล้เคียงทะเลอันดามัน โครงการสื่อความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังและพื้นที่ใกล้เคียงทะเลอันดามัน การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาด้านการใช้ประโยชน์ จากพืชสมุนไพร เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย ในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ความหลากหลายของผักพื้นบ้านและพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูงเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ สถานภาพและการใช้ประโยชน์ของข้าวพันธุ์พื้นเมืองของชนเผ่าม้ง อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โครงการประเมินระดับความพร้อมของเทคโนโลยีที่เกิดจากผลิตภัณฑ์บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพในการพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ น้ำสมุนไพรดื่มดีมีประโยชน์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก