สืบค้นงานวิจัย
การบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยพืชโดยใช้หินพัมมิชเป็นวัสดุปลูกร่วมกับดิน
ชวลี เฌอกิจ - กรมชลประทาน
ชื่อเรื่อง: การบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยพืชโดยใช้หินพัมมิชเป็นวัสดุปลูกร่วมกับดิน
ชื่อเรื่อง (EN): ORIGINAL
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชวลี เฌอกิจ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่: อื่นๆ
บทคัดย่อ: โครงการบำบัดน้ำเสียด้วยพืชโดยใช้หินพัมมิชเป็นวัสดุปลูกร่วมกับดิน แบ่งการดำเนินงาน ออกเป็น 2 ส่วน คือ ทดสอบประสิทธิภาพการดูดชับธาตุอาหารของหินพัมมิชผสมทรายขี้เป็ด และ ทดลองบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยวัสดุผสมระหว่างหินพัมมิชและทรายขี้เปิดร่วมกับการปลูกและไม่ปลูกพืช การทดสอบประสิทธิภาพดูดซับธาตุอาหารของวัสดุผสมระหว่างหินพัมมิชและทรายขี้เป็ด อัตราส่วน 0: 1, 1: 3, 1: 1, 3: 1 และ 1: 0 โดยน้ำหนัก (รวม 0.5 กิโลกรัม) บรรจุในท่อทดลองขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร ปล่อยสารละลายซึ่งมีความเข้มข้นของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ชนิดละ 50 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ไหลผ่าน พบว่า ทุกตำรับการทดลองมีประสิทธิภาพการ ดูดซับฟอสฟอรัสสูง (74.64-82.68%) โดยทรายมีประสิทธิภาพดูดซับไนโตรเจนและโพแทสเซียม 57.80 % และ 80.00 % แต่เมื่อใช้หินพัมมิชเป็นส่วนประกอบ 25 , 50, 75 และ 100% ทำให้ ประสิทธิภาพการดูดชับไนโตรเจนเพิ่มขึ้นเป็น 71.20-78.80 % ส่วนโพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบที่ ละลายน้ำได้ของหินพัมมิชจึงไม่สามารถดูดชับเพิ่มขึ้นอีก ผลการทดลองบำบัดน้ำเสียชุมชนในบ่อซีเมนต์ ด้วยวัสดุผสมระหว่างหินพัมมิชและ ทรายขี้เป็ดอัตราส่วน O: 1, 1: 3, 1: 1 และ 3: 1 โดยน้ำหนัก ร่วมกับการปลูกและไม่ปลูกพืชทดลอง (กกรังกา )พบว่า ทุกหน่วยทดลองสามารถบำบัดน้ำเสียได้เป็นอย่างดี โดยมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ มาตรฐานการระบายน้ำทิ้งลงทางน้ำชลประทาน และทางน้ำที่เชื่อมต่อกับทางน้ำชลประทานในเขต พื้นที่โครงการชลประทาน (BOD 20 มิลลิกรัมต่อลิตร pH 6.5-8.5 และ total N Z 35 มิลลิกรัมต่อ ลิตร โดยอิทธิพลอิสระของการปลูกพืชทดลองเกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่า pH (การปลูกพืชมีแนวโน้มค่า PH ต่ำกว่าในรอบการทดลองที่ 1 , 2 และ 4) และค่าปริมาณฟอสฟอรัส (การปลูกพืชมีแนวโน้มค่า pH ต่ำกว่าในรอบการทดลองที่ 1 , 2 และ 4) และค่ปริมาณฟอสฟอร์ส (/3/33333GA8L NAACbIbgNt NNGstaderlpH (ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยรอบที่ 3 และ 5 การปลูกพืชมีแนวโน้มค่าต่ำกว่า แต่ให้ผลตรงข้ามใน รอบที่ 3 และ 5) อิทธิพลอิสระของอัตราส่วนผสมของวัสดุปลูกระหว่างหินพัมมิชและทรายขี้เป็ดต่อคุณภาพน้ำ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าการนำไฟฟ้า (ใช้หินพัมมิช 50 % และ 75% โดย น้ำหนัก มีแนวโน้มของค่าสูงสุด รองลงมาคือ 25 4 โดยทรายเพียงอย่างเดียวมีค่าน้อยที่สุด ในรอบ การทดลองที่ 1-4) และค่าปริมาณโพแทสเซียม (รอบการทดลองที่ 2-4 เมื่อมีหินพัมมิชเป็นส่วนผสม ไม่ว่าปริมาณเท่าใดทำให้มีแนวโน้มของค่ามากที่สุด ส่วนการใช้ทรายเพียงอย่างเดียวมีค่าต่ำที่สุด ส่วนปัจจัยร่วมระหว่างการปลูกหรือไม่ปลูกพืชทดลอง และอัตราส่วนผสมของวัสดุปลูกระหว่าง หินพัมมิชกับทรายขี้เป็ดนั้นไม่มีอิทธิพลร่วมกันต่อคุณภาพน้ำภายหลังการบำบัด
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ: ความมั่นคง
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: การพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน
เลขทะเบียนวิจัยกรม: สวพ.7/2554
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: 5430007
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 523,855
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ตุลาคม 2553 ถึง กันยายน 2554
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมชลประทาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by migration@tarr.arda.or.th (migration@tarr.arda.or.th) on 2017-08-21T05:40:36Z No. of bitstreams: 0
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยพืชโดยใช้หินพัมมิชเป็นวัสดุปลูกร่วมกับดิน
ชวลี เฌอกิจ
กรมชลประทาน
30 กันยายน 2554
เอกสารแนบ 1
กรมชลประทาน
ความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ และพืช ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง การจัดทำถังบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจนสำหรับชุมชนริมคลองชลประทาน การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืชคลุมดินในพื้นที่มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบ ไหลนอง ผลิตภัณฑ์สารเร่งตกตะกอนในการบำบัดน้ำเสียชุมชน การติดตามการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินบางประการและพืชทดลองที่ได้รับน้ำเสียโรงพยาบาลชุมชนในร่องซึม การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการบำบัดน้ำเสียในโครงการคลองเปรมประชากรใต้ การลดความเป็นพิษของซัลไฟด์ในถังปฏิกรณ์แบบไร้อากาศจากการบำบัดน้ำเสียที่มีซัลเฟตสูง การศึกษากลุ่มประชากรจุลินทรีย์จากรากของต้นอะเมซอนใบกลมและการประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียปนเปื้อนไดเอทีลีนไกลคอล ศึกษาวัสดุและอัตราการผสมดินเพื่อชำยางในถุง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก