สืบค้นงานวิจัย
การควบคุมโรคเน่าดำของถั่วเขียวผิวดำพันธุ์พิษณุโลก 2 โดยใช้เชื้อราปฏิปักษ์
อังคณา กันทาจันทร์, สมบัติ ศรีชูวงศ์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การควบคุมโรคเน่าดำของถั่วเขียวผิวดำพันธุ์พิษณุโลก 2 โดยใช้เชื้อราปฏิปักษ์
ชื่อเรื่อง (EN): Controlling Charcoal Rot of Black Gram Seed cv.Phitsanulok 2 by Antagonistic Fungi
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Ungkana Kuntajun
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากการตรวจหาเชื้อรา Macrophomina phaseolina สาเหตุโรคเน่าดำ จากเมล็ดถั่วเขียวผิวดำพันธุ์พิษณุโลก 2 โดยวิธีเพาะบนกระดาษชื้น พบเชื้อรา M. phaseolina ร้อยละ 23.75 ผลการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อราปฏิปักษ์ 4 ชนิด ได้แก่ Trichoderma harzianum I103, T. harzianum, T. virens IG10 และ T. virens IG2 ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา M. phaseolina โดยวิธี dual culture พบว่าเชื้อรา T. harzianum I103  ให้ผลดีที่สุด ในการศึกษากลไกในการเข้าทำลาย โดยวิธี slide dual culture พบว่าเชื้อราปฏิปักษ์ทั้ง 4 ชนิด แสดงการเป็นปรสิตด้วยการพันรอบเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรค และแทงเส้นใยเข้าภายในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรค ทำให้เส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคสลายตัว และแฟบลง และเมื่อนำเชื้อราทั้ง 4 ชนิด ไปทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเชื้อรา พบว่า T. harzianum I103  สามารถลดการตายก่อนงอก การตายหลังงอก ต้นอ่อนผิดปกติ และช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอก ความยาวลำต้น ความยาวราก น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้ง ได้ดีที่สุด
บทคัดย่อ (EN): Blotter method was used to detect Macrophmina phaseolina, the causal agent of charcoal rot disease, on black gram seed cv. Phitsanulok 2. Only 23.75 % of seeds were contaminated with the fungus. The study on antagonistic effects of Trichoderma harzianum I103, T. harzianum, T. virens IG10 and T. virens IG2 on growth inhibition of M. phaseolina were carried out using dual culture method. It was indicated that T. harzianum I103 had given the best result. Antagonistic mechanisms of the tested fungi were also examined by slide dual culture technique. All four fungi showed the parasitic characters by coiling around and penetrated into the hyphae of M. phaseolina. The hyphae of M. phaseolina then became lysis and subsequently collapsed. Among them T. harzianum I103 had the abilities to decrease pre-emergence damping off, post-emergence damping-off and abnormal seedlings and to increase seedlings emergence, shoot length, root length, fresh weight and dry weight.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การควบคุมโรคเน่าดำของถั่วเขียวผิวดำพันธุ์พิษณุโลก 2 โดยใช้เชื้อราปฏิปักษ์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2552
เอกสารแนบ 1
อิทธิพลของการป้องกันกำจัดวัชพืชที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเขียวผิวดำ ผลของสารพิษที่ผลิตโดยเชื้อรา Cercospora canescens จากถั่วเขียว ผลของปริมาณการให้น้ำ และระยะเวลาสิ้นสุดการให้น้ำต่อถั่วเขียวบนดินชนิด Silty Clay Loam เชื้อรา Phytophthora palmiuora (Butl.) Butl. สาเหตุของโรคเน่าดำกล้ามะม่วง ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี โรคใบจุด corynespora ของถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ใหม่ชัยนาท 80 เพื่อการเพาะถั่วงอก การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวดำจากลักษณะภายนอกแบบไม่ทำลายด้วยวิธีการประมวลผลภาพดิจิตอล อิทธิพลของสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกและอัตราการหว่านต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตถั่วเขียวผิวดำ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก