สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาอาหารนกกระจอกเทศ
โอสถ นาคสกุล - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาอาหารนกกระจอกเทศ
ชื่อเรื่อง (EN): Ostrich Feed Formula Development
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: โอสถ นาคสกุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Osoth Naksakul
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษานี้ดำเนินขึ้นเพื่อทราบผลของระดับโปรตีนในสูตรอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของนกกระจอกเทศและการทดสอบสูตรอาหารในระดับฟาร์มการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ใช้ลูกนกกระจอกเทศของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์กบินทร์บุรี อายุ 1-7 วัน จำนวน 18 ตัว จัดแบ่งลูกนกออกเป็นคู่ ๆ แต่ละคู่มีอายุและน้ำหนักตัวใกล้เคียงกัน ให้อาหารทดลองที่มีโปรตีนแตกต่างกันตามช่วงอายุ( 0-3 เดือน และ 3-6 เดือน ) คือ อาหารที่มีระดับโปรตีน 26-22 และ 22-19% ส่วนที่ 2 นำอาหารที่ทราบผลการทดสอบแล้วไปทดสอบและปรับสูตรอาหาร ให้เหมาสมตามที่ฟาร์มนกกระจอกเทศปากช่องและศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์กบินทร์บุรีต้องการ การทดสอบส่วนที่1 ผลการทดสอบ พบว่า ในช่วงอายุ 0-3 เดือน นกระจอกเทศที่ได้รับอาหารที่มีระดับโปรตีน 26 และ 22% เมื่ออายุ 3 เดือน มีน้ำหนักตัว 28.13 และ 25.64 กิโลกรัมต่อตัวน้ำหนักเพิ่ม 27.35 และ 24.80 กิโลกรัมต่อตัว ปริมาณอาหารที่กิน 53.42 และ 61.51 กิโลกรัมต่อตัว อัตราการแลกเนื้อ 1.95 และ 2.48 และมีต้นทุนคำอาหาร 486.66 และ 491.70 บาทต่อตัวตามลำดับ ในช่วงอายุ 0-6 เดือน นกระจอกเทศที่ได้รับอาหารที่มีระดับโปรตีน 26-22 และ 22-19% เมื่ออายุ 6 เดือน มีน้ำหนักตัว 71.40 และ 72.90 กิโลกรัมต่อตัว น้ำหนักเพิ่ม 70.62 และ 72.06 กิโลกรัมต่อตัว ปริมาณอาหารที่กิน 195.45 และ 230.38 กิโลกรัมต่อตัว อัตราการแลกเนื้อ 2.77 และ 3.20 และมีต้นทุนค่าอาหาร 1,621.48 และ 1,705.16 บาทต่อตัว หรือ มีค่า 22.96 และ 23.66 บาทต่อกิโลกรัมของน้ำหนักเพิ่ม ตามลำดับ การทดสอบส่วนที่ 2 พบว่า นกกระจอกเทศของฟาร์มนกกระจอกเทศที่ใช้อาหารทดสอบของศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมามีน้ำหนักตัวสูงกว่า ปริมาณอาหารที่กินมากกว่า อัตราการแลกเนื้อดีกว่า อัตราการรอดตายสูงกว่า และมีโครงสร้างของกระดูกที่แข็งแรงกว่าอาหารสำเร็จรูปอื่นๆที่ใช้ทดสอบ ฟาร์มนกกระจอกเทศปากช่องพอใจในสูตรอาหารโดยไม่มีการปรับสูตรอาหารที่นำไปทดสอบและให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมาผลิตอาหารตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2546 ถึง กุมภาพันธ์ 2547 จำนวน 24,700 กิโลกรัม อาหารทดสอบที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์กบินทร์บุรีได้ปรับสูตรอาหารให้นกกระจอกเทศกินอาหารได้มากขึ้น โดยที่ไม่มีการปรับระดับของโภชนะในสูตรอาหาร อาหารที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมาผลิตจำเป็นต้องปรับสูตรให้สามารถผลิตได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
บทคัดย่อ (EN): This experiment had been conducted to determine the effect of dietary protein levels on growth performance of blue neck x red neck crossbreed ostriches between 0 to 6 months of age and feed formula test on farm trials. The experiment was divided into 2 parts. Parts I, eighteen young ostriches were arranged in 2 groups. Two patterns of dietary protein levels (26-22 and 22-19%) were applied to two growing phases, 0-3 and 3-6 months of age, respectively. Part II, feed formulas from part I were tested and suitable adjusted for Pakchong Ostrich Farm Co., Ltd. and Kabinburi Livestock Breeding and Research Center. Part I it was found, during 0 to 3 months that body weight, weight gain, feed intake, feed/gain and feed cost of ostriches fed diets contained 26 and 22% protein were 28.13 and 25.64 kilogram per bird, 27.35 and 24.80 kilogram per bird, 53.42 and 61.51 kilogram per bird, 1.95 and 2.48, and 486.66 and 491.70 baht per bird, respectively. During 0 to 6 months, body weight, weight gain, feed intake, feed/gain and feed cost of ostriches fed diets contained 26-22 and 22-19 % protein were 71.40 and 72.90 kilogram per bird, 70.62 and 72.06 kilogram per bird, 195.45 and 230.38 kilogram per bird, 2.77 and 3.22, and 1,621.48 and 1,705.16 baht per bird, respectively. For the other part, tested feeds performed better than comparison feeds in terms of body weight, feed intake, feed/gain, survival rate, and bone structure of ostriches. The owner of Pakchong Ostrich Farm Co., Ltd. was pleased for all of feed formulas and ordered 24,700 kilograms of feeds from Pakchong Animal Nutrition Research and Development Center. Kabinburi Livestock Breeding and Research Center asked for increasing feed intake of ostrich but did not change feed nutrients. Furthermore, appropriate technology was needed for efficiency of ostrich feed production
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
เอกสารแนบ: http://nutrition.dld.go.th/Research%20Report53-55/Research_Knowlage/RESEARCH/research_full/2547/R4742.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองอาหารสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาอาหารนกกระจอกเทศ
กองอาหารสัตว์
2547
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมปศุสัตว์
การเลี้ยงนกกระจอกเทศ การพัฒนาอาหารหอยหวาน การพัฒนาอาหารฟังก์ชันจากดอกชมจันทร์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร "น้ำส้มจากผง" 2553A17001020 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากพืชท้องถิ่นและวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการศึกษาตลาดอาหารวีแกน (Vegan) เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทย ภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์อัจฉริยะสารสนเทศอัจฉริยะอุตสาหกรรมอาหาร ปี2562 การพัฒนาข้าวขึ้นรูปกึ่งสำเร็จรูปเพื่ออาหารสุขภาพ การใช้ประโยชน์จากลูกยอในอาหารนกกระทา การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากลำไยของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดสระแก้ว ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานด้วยการพัฒนาปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก