สืบค้นงานวิจัย
แหล่งพันธุกรรมของความทนทานต่อการขาดธาตุโบรอนในข้าวบาร์เลย์
ศันสนีย์ จำจด - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: แหล่งพันธุกรรมของความทนทานต่อการขาดธาตุโบรอนในข้าวบาร์เลย์
ชื่อเรื่อง (EN): The Genetic Source for Boron Tolerance in Barley
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศันสนีย์ จำจด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sansanee Jamjod
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองครั้งนี้ได้ศึกษาการตอบสนองของสายพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ต่อการขาดธาตุโบรอน โดยศึกษาในฤดูปลูก 2540/41 และ 2541/42 ในฤดูปลูกแรกเป็นการทดสอบในขั้นต้นโดยใช้สายพันธุ์ข้าวบาร์เลย์จากชุดเปรียบเทียบผลผลิต BTYN 97/98 ปลูกในสภาพขาดโบรอนใน sand culture เปรียบเทียบกับข้าวสาลีพันธุ์มาตรฐานที่ทราบระดับความทนทานต่อการขาดโบรอน เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ที่มีระดับความทนต่อการขาดโบรอนแตกต่างกันปลูกทดสอบในฤดูปลูกถัดไป ฤดูปลูกที่สองเป็นการเปรียบเทียบสายพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ที่คัดเลือกและข้าวสาลีพันธุ์มาตรฐาน ในแปลงทดลองวางแผนการทดลองแบบ split plot มี 4 ซ้ำ ให้ระดับโบรอน 4 ระดับเป็น main plot และพันธุ์เป็น sub plot พบความแตกต่างระหว่างพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ในการตอบสนองต่อระดับธาตุโบรอนในลักษณะจำนวนเมล็ดต่อรวง จำนวนเมล็ดต่อช่อดอก ดัชนีการติดเมล็คและผลผลิต ความแปรปรวนทางพันธุกรรมพบว่าอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับที่พบในข้าวสาลี ในขณะที่ข้าวบาร์เลย์สายพันธุ์อื่น ๆ มีปัญหาการขาดธาตุโบรอน สายพันธุ์ BRB9604 และ BRB 9642 ทนทานต่อการขาดโบรอนได้ดีพอ ๆ กับข้าวสาลี Fang60 ซึ่งมีความทนทานสูงสุดต่อการขาดโบรอน สายพันธุ์เหล่านี้สามารถแนะนำปลูกหรือใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในโครงการปรับปรุงพันธุ์เพื่อส่งเสริมปลูกในท้องที่ที่ดินมีปัญหาขาดธาตุโบรอน
บทคัดย่อ (EN): Responses of barley genotypes to boron (B) were studied in two growing season, 1997/98 and 1998/99. A preliminary screening was conducted in the first season with advanced lines of barley from the Barley Thailand Yield Nurseries 97/98. The barley lines were tested in sand culture containing washed river quartz sand, watered with complete nutrient solution without added B. Boron efficient (Fang 60) and moderately inefficient (SW41) wheat genotypes were included as checks. Barley genotypes with different levels of B tolerance were selected for further screening in the next season. In 1998/99, the selected barley lines and 4 wheat checks (ranging from B inefficient to efficient) were evaluated on a low B soil in a split plot design. The B levels were in main plots in four replications and genotypes were in subplots. Boron levels included nil (B0), 1 kg borax ha-1 (B1), 10 kg borax ha-1 (B2) and 2000 kg lime ha-1, to accentuate B deficiency (BL). Barley genotypes were found to vary in their response to B in terms of number of grains ear-1, grains spikelet-1, grain set index (GSI) and grain yield. The range of responses found was comparable to that expressed in the wheat checks. In the low B treatments, grain set was severely depressed in many of the barley genotypes but not in BRB 9604 and BRB 9642. These two genotypes of barley appear to be as tolerant to B deficiency as Fang 60, the most B efficient wheat. Such barley genotypes may be expected to avoid B deficiency-induced grain set problem in low B soils in the Northern and Northeastern Thailand. BRB 9604 and BRB 9642 might also be used as sources of B efficiency in breeding programmes.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2542
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2543
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247172/169095
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แหล่งพันธุกรรมของความทนทานต่อการขาดธาตุโบรอนในข้าวบาร์เลย์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2543
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เปรียบเทียบการตอบสนองต่อการขาดธาตุโบรอนในข้าวบาร์เลย์และข้าวสาลี สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย การขาดธาตุอาหารในหงส์เหิน ผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานีในชุดดินสรรพยา ผลของแคลเซียมและโบรอนต่อการป้องกันการแตกของผลพลับพันธุ์ฟูยู ผลของการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลผลิตและประสิทธิภาพการใช้ธาตุไนโตรเจนจากปุ๋ยของข้าวสุพรรณบุรี 1 ที่ปลูกในชุดดินวัฒนา ความทนทานของกุ้งแชบ๊วย (Fenneropenaeus merguiensis) และกุ้งขาวแวนาไม (Litopenaeus vannamei) ต่อการทดสอบด้วยเชื้อไวรัส แบคทีเรียและความเครียดทางสิ่งแวดล้อม ผลของธาตุสังกะสีและโบรอนต่อคุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของผลลำไยพันธุ์ดอที่มีอาการความผิดปกติทางสรีรวิทยาของผิวเปลือกลำไย แร่ธาตุกับสัตว์เคี้ยวเอื้องในประเทศไทย ความทนทานต่ออุณหภูมิสูงของไหมอีรี่ต่าง ecorace

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก