สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาระยะห่างที่เหมาะสมของคูรับน้ำขอบเขาเพื่อปลูกข้าวไร่บนพื้นที่สูง ในพื้นที่จังหวัดน่าน
ศรัญณุพงศ์ ชัยวัฒนกุล - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การศึกษาระยะห่างที่เหมาะสมของคูรับน้ำขอบเขาเพื่อปลูกข้าวไร่บนพื้นที่สูง ในพื้นที่จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่อง (EN): The Study of Appropriate Spacing of Hill Side Ditch for Upland Rice Plantation on Highland in Nan Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศรัญณุพงศ์ ชัยวัฒนกุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Srunnupong Chaiwattanagul
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: คูรับน้ำขอบเขา เป็นการทำคูรับน้ำตามแนวระดับขวางความลาดเท ปัญหาของคูรับน้ำขอบเขาบนพื้นที่สูง คือ การเสียพื้นที่เพาะปลูก เนื่องจากสร้างคูรับน้ำขอบเขาในแนวดิ่ง 1.5-3.0 เมตร ซึ่งมีระยะห่างระหว่างคูรับน้ำขอบเขา ในแนวราบแคบ 10-12 เมตร จึงทำการศึกษาระยะห่างที่เหมาะสมของคูรับน้ำขอบเขา เพื่อปลูกข้าวไร่บนพื้นที่สูงในพื้นที่จังหวัดน่าน ฤดูปลูกปี พ.ศ. 2554 - 2556 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design มีจำนวน 4 ซ้ำ 4 วิธีการ ประกอบด้วย ปลูกข้าวไร่ไม่มีคูรับน้ำขอบเขา ปลูกข้าวไร่ และมีคูรับน้ำขอบเขาโดยมีระยะห่างของคูรับน้ำขอบเขาในแนวดิ่ง3 เมตร 6 และ 9 เมตร ผลการทดลองพบว่า ระยะห่างคูรับน้ำขอบเขาที่ระดับต่างๆ ไม่มีผลต่อสมบัติทางกายภาพของดิน โดยความหนาแน่นรวมของดินลดลงทุกวิธีการจาก 1.617 เป็น 1.299 ก./ซม.3 ในด้านสมบัติทางเคมีของดิน พีเอชของดินในทุกวิธีการเพิ่มสูงขึ้นจาก 4.26-4.40 เป็น 5.37–5.67 ปริมาณอินทรียวัตถุในดินทุกวิธีการลดลงจาก 2.53-2.73 เป็น 2.24-2.54 % ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ทุกวิธีการ มีค่าเพิ่มสูงขึ้นจาก 2.49-3.04 เป็น 15.07-22.58 มก./กก. ส่วนโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ มีค่าลดลงจาก 45.44-60.35 เป็น 40.15-51.16 มก./กก. ในส่วนของปริมาณการสูญเสียดิน พบว่า การใช้คูรับน้ำขอบเขาที่มีระยะห่างในแนวดิ่ง 3, 6 หรือ 9 เมตร มีปริมาณตะกอนดินต่ำกว่าการไม่มีคูรับน้ำขอบเขาอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีปริมาณตะกอนดิน 653, 627, 621 กก./ไร่ ตามลำดับ ในขณะที่วิธีไม่มีคูรับน้ำขอบเขามีปริมาณตะกอนดินสูงถึง 1,329 กก./ไร่ ด้านการสูญเสียธาตุอาหารที่ติดไปกับตะกอนดิน การใช้ ระยะห่างคูรับน้ำขอบเขาในแนวดิ่ง 6 เมตร มีการสูญเสียอินทรียวัตถุต่ำสุด 2.88 % สูญเสียฟอสฟอรัสต่ำ81.75 มม./กก. และสูญเสียโพแทสเซียมต่ำ 83.25 มม./กก. ตามลำดับ และต่ำกว่าวิธีไม่มีคูรับน้ำขอบเขาอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง สำหรับข้าวไร้ พบว่า ระยะห่างคูรับน้ำขอบเขาที่ระดับต่างๆ ไม่มีผลต่อความสูงของข้าวไร้ และไม่แตกต่างทางสถิติระหว่างการมีคูรับน้ำขอบเขา หรือไม่มีคูรับน้ำขอบเขา โดยข้าวไร่ที่ปลูกในพื้นที่ที่มีคูรับน้ำขอบเขามีความสูงเฉลี่ย 106-108 ซม. ใกล้เคียงกับวิธีไม่มีคูรับน้ำขอบเขา (106 ซม.) การใช้ระยะห่างระหว่างคูรับน้ำขอบเขาในแนวดิ่ง 6 เมตร ให้เปอร์เซ็นต์ เมล็ดดีเฉลี่ยสูงสุด 89.25 % และให้ผลผลิตข้าวไร่ เฉลี่ยสูงสุด 342 กก./ไร่ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับวิธีไม่มีคูรับน้ำขอบเขา(304 กก./ไร่) ระยะห่างคูรับน้ำขอบเขาในแนวดิ่ง 6 เมตร เสียพื้นที่ในการขุดคูรับน้ำขอบเขาเพียง 10 %ของพื้นที่ 1 ไร่ ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ค่าใช้จ่ายต้นทุนผันแปร ที่ได้รับเฉลี่ยระหว่างปี 2554 –2556 เมื่อหักค่าหน้าดิน และธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับตะกอนดิน พบว่า การปลูกข้าวไร่ และมีคูรับน้ำขอบเขา โดยมีระยะห่างคูรับน้ำขอบเขาในแนวดิ่ง 6 เมตร ให้กำไรสุทธิสูงสุด 928 บาท/ไร1 สูงกว่าวิธีไม่มีคูรับน้ำขอบเขา ที่ได้กำไรสุทธิ 757 บาท/ไร่ ระยะห่างในแนวดิ่งที่เหมาะสมสำหรับคูรับน้ำขอบเขา คือ6 เมตร เพื่อใช้เป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ บนพื้นที่สูงเพื่อปลูกข้าวไร่
บทคัดย่อ (EN): The hill side ditch are create a ditch contour terrace across slope. A problem of hill side ditch on highland is loss of cultivation area. Since it made hill side ditch vertical 1.5-3 meters. The distance between hill site ditch is narrow. Therefore the study of appropriate spacing of hill side ditch for upland rice plantation on highland in Nan Province. Was conducted at Ban Don Du Phong Moo.4, Du Phong Subdistrict, Santi SukDistrict, Nan Province. During the growing season of 2011, 2012 and 2013. The experiment was Randomized Complete Block Design with 4 replications, there were 4 treatment,Upland rice and no hill side ditch, Upland rice and spacing of hill side ditch vertical 3 meters 6 and 9 meters. The results showed that. The spacing of hill side ditch all levels. At different levels no effect physical properties of soils. The bulk density of soil reduction from 1.617 be 1.299 g/cm 3, The chemical properties of the soil. The pH of the soil. All treatment higher from 4.26-4.40 be 5.37–5.67, The organic matter in soil. All treatment to increase from 2.53-2.73 be 2.24–2.54 percent. The phosphorus all treatment higher from 2.49-3.04 be 15:07-22:58 mg/kg. The potassium in the soil extract was reduced from 45.44-60.35 be 40.15-51.16 mg/kg. The amount of soil loss spacing of hill side ditch vertical 3 meters, 6 meters, 9 meters, The amount of soil loss lowest of 653, 627, 621 kg/rai. And lowest than no hill side ditch (1,329 kg/rai) Significant. The chemical properties of sediment. Use the spacing of hill side ditch vertical 6 meters. A loss of organic matter lowest 2.88 %, A loss of phosphorus low 81.75 mg./kg. And a loss of potassium low 83.25 mg./kg. And lowest no hill side ditch. Significant. For upland rice. The spacing of hill side ditch all levels. At different levels no effect height of upland rice. And non Significant between hill side ditch or no hill side ditch, The upland rice have hill side ditch height of average 106-108 cm. Nearby no hillside ditch (106 cm.), Use spacing of hill side ditch vertical 6 meters give the good seed is highest average 89.25 %. And the yield upland rice is the highest average yield of 342 kg/rai. higher than no hill side ditch (304 kg/rai) Significance. The spacing of hill side ditch vertical 6 meters. Since waste of space only 10 % by the area 1 rai. The cost benefit from variable cost and benefit in 2011-2013 showed that, When calculating the soil loss and average nutrient loss to sediment. Found that upland rice and Spacing of hill side ditch vertical 6 meters. The net profit maximum was 928 Bath/rai. That give the profit more cost than the no hill side ditch, It’s give the profit 757 Bath/rai. The appropriate spacing of hill side ditch for upland rice plantation on highland that is spacing of hill side ditch vertical 6 meters.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาระยะห่างที่เหมาะสมของคูรับน้ำขอบเขาเพื่อปลูกข้าวไร่บนพื้นที่สูง ในพื้นที่จังหวัดน่าน
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2557
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การศึกษาระยะห่างที่เหมาะสมของคูรับน้ำรอบเขาเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูง ชุดดินหนองมด (Nm) กลุ่มชุดดินที่ 29 อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวไร่ในสภาพเกษตรบนพื้นที่สูง จังหวัดน่าน การปลูกชาร่วมกับมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูง การประเมินและคัดเลือกพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองประจำเผ่าบนพื้นที่สูง การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา โครงการย่อยที่ 4 การทดสอบพันธุ์ข้าวร่วมกับระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานในข้าวไร่และระบบนาน้ำน้อยในข้าวนาบนพื้นที่สูง ความหลากหลาย และการใช้ประโยชน์จากพันธ์ข้าวไร่ของเกษตรกรบนพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย โครงการทดสอบชนิดไม้ที่เหมาะสมในการปลูกเพื่อฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมบนพื้นที่สูง การคัดเลือกพันธุ์ข้าวไร่ที่มีปริมาณโปรตีน วิตามินอี และธาตุซีลีเนียมสูง เพื่อนำไปใช้ผลิตข้าวกล้องในพื้นที่สูงภาคเหนือของประเทศไทยให้มีมูลค่าเพิ่ม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก