สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยศึกษาการผลิตส้ม
ทวีศักดิ์ แสงอุดม - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยศึกษาการผลิตส้ม
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Citrus(Tangerine) Production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทวีศักดิ์ แสงอุดม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ทวีศักดิ์ แสงอุดม
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการผลิตส้มมี 5 กิจกรรม ดำเนินการปี 2549-2553 กิจกรรมที่ 1 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตในการปลูกส้มปลอดโรคในพื้นที่ จ.แพร่ ศรีสะเกษ และชุมพร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการการผลิต การจัดการศัตรูพืชรวมทั้งชนิดของต้นตอที่เหมาะสม ผลการทดลองพบว่า โรคกรีนนิ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำความเสียหายให้กับสวนส้ม ทำให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพและไม่คุ้มค่ากับการลงทุน โดยพื้นที่จังหวัดแพร่เกษตรกรจำต้องรื้อแปลงหลังปลูก 3 ปี พื้นที่ จ.ศรีสะเกษ ช่วง 1-3 ปีแรก ส้มมีการเจริญเติบโตได้ดี หลังจากนั้นเกิดโรคกรีนนิ่ง โดยในปีที่ 4 เก็บผลผลิตได้ 107 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนในพื้นที่ จ. ชุมพร ปลูกส้มโชกุนปลอดโรคบนต้นตอ 4 ชนิด หลังปลูก 42 เดือน พบว่าต้นส้มปลอดโรคต้นตอโวคาเมอเรียน่าและต้นตอกิ่งชำกิ่งชำโวคาเมอเรียน่า มีการเจริญเติบโตดีสุด รองลงมาคือ ส้มปลอดโรคต้นตอแรงเปอร์ไลม์และต้นตอทรอยเยอร์ ด้านผลผลิต ได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตในรอบใหญ่ 1 ครั้งหลังปลูก ในปีที่ 4 เข้าปีที่ 5 ส้มปลอดโรคที่ใช้ต้นตอทรอยเยอร์ให้ผลผลิตสูงสุด 202.5 กิโลกรัม หรือเฉลี่ย 5 กิโลกรัม/ต้น รองมาคือต้นตอโวคาเมอเรีน่า 3.97 กิโลกรัม/ต้น ต้นตอแรงเปอร์ไลม์ 3.64 กิโลกรัม/ต้น และต้นตอกิ่งชำโวคาเมอเรียน่า 3.27 กิโลกรัม/ต้น ส่วนคุณภาพผลด้านความหวาน ต้นตอโวคาเมอเรียน่า และต้นตอแรงเปอร์ไลม์และให้ความหวานสูงสุด ด้านแมลงศัตรูพืชหลังปลูก 20 เดือนพบการแพร่ระบาดของเพลี้ยไก่แจ้มากขึ้น ด้านต้นทุนการผลิตจะค่อนข้างสูงประมาณ 27,026-37,428 บาท/ไร่ กิจกรรมที่ 2 การฟื้นฟูสวนส้มเสื่อมโทรม พบว่าการฟื้นฟูสวนส้มเสื่อมโทรมโดยทำการจัดการดินใต้ทรงพุ่มและชนิดปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมในการผลิตส้มสายน้ำผึ้ง การใช้กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ หรือใช้ร่วมกับปุ๋ยทางใบ การใช้ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า ไม่สามารถทำให้ต้นส้มที่ทรุดโทรมจากโรคกรีนนิ่งกลับมาให้ผลผลิตตามปกติได้ และผลตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ด้านพันธุ์ปลูก พบว่า ส้มเขียวหวานที่ปลูกด้วยกิ่งพันธุ์ที่ติดตาบนต้นตอส้มทรอยเยอร์ มีการเจริญเติบโตดีสุด สำหรับการประเมินความเสื่อมโทรมของสวนส้มสามารถใช้ข้อมูลดาวเทียม SPOT ถ่ายภาพและวิเคราะห์ด้วยเทคนิค supervised classification มาประยุกต์ใช้ในการประเมินความเสื่อมโทรมของสวนส้ม กิจกรรมที่ 3 ศึกษาและปลูกส้มเปลือกล่อนพันธุ์ใหม่ ได้ทำการฉายรังสีเมล็ดพันธุ์ส้มโชกุน และได้สายต้นส้มชุกนไร้เมล็ดหรือเมล็ดน้อยจำนวน 15 สายต้น นำมาปลูกเปรียบเทียบที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่(ปี52-53) พบว่า ส้มโชกุนสายต้น A4V3-22-12 (Tr13) มีความสูงและขนาดทรงพุ่มมากที่สุด กิจกรรมที่ 4 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมะนาวปลอดโรคแคงเกอร์และปลอดภัยจากสารพิษ การผลิตมะนาวนอกฤดู ใช้เทคนิคการควั่นและรัดกิ่งต้นด้วยเชือกร่วมกับการให้สารแพคโคลบิวทราโซลทางดินอัตรา 0.25 และ 0.50 กรัมเนื้อสารต่อความกว้างทรงพุ่ม 1 เมตร ทำให้มะนาวออกดอกได้สูงขึ้น และให้ผลผลิตนอกฤดูในระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเมษายน พ.ศ.2549 และ พ.ศ.2550 ได้จำนวนเฉลี่ย 343.7 – 471.5 และ 336.8 – 622.5 ผลต่อต้นตามลำดับ และการพ่นสารแพคโคลบิวทราโซล ความเข้มข้น 400 ppm จำนวน 2 ครั้ง หลังตัดปลายยอด 15 และ 60 วัน ช่วยกระจายการผลิตมะนาว ทำให้ได้ผลผลิตต่อต้นมากกว่าการไม่พ่นสารฯ การทดสอบมะนาวพันธุ์ลูกผสมสายพันธุ์ M33 L4 และ B18 ที่ทนทานโรคแคงเกอร์ในท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่าง ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย พบว่า มะนาวลูกผสมทั้ง 3 สายพันธุ์มีการเจริญเติบโตด้านเส้นรอบวงโคนต้น ความสูง และความกว้างทรงพุ่มสูงกว่ามะนาวพันธุ์แป้นรำไพ นอกจากนี้มะนาวทั้ง 3 พันธุ์มีความต้านทานต่อโรคแคงเกอร์และให้ผลผลิตมากกว่ามะนาวพันธุ์แป้นรำไพ กิจกรรมที่ 5 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มจุก การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและฟื้นฟูส่งเสริมการปลูกส้มจุก ที่จ.สงขลา และศูนย์วิจัยพืชสวนตรังดำเนินการปี 2551-2553 พบว่าการให้ปุ๋ยคอกเพียงอย่างเดียว หรือ ใส่ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ และปฏิบัติดูแลรักษาตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม ต้นส้มจุกที่ปลูกใหม่มีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกัน ส่วนการฟื้นฟูสวนส้มจุกโดยใช้เทคโนโลยีการผลิต พบว่า ต้นส้มจุกมีความสมบูรณ์ แข็งแรงขึ้น ด้านต้นทุน รายได้ และผลตอบแทน ในปีแรกไม่มีรายได้ ปีที่ 2 และ 3 มีต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่มีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตส้มจุก
บทคัดย่อ (EN): The studies on citrus production have 5 activities, which were conducted during October 2005-september 2010. The first activity was studied on production technology for growing free disease mandarin at Phrae, Srisaket and Chumphon provinces. The objective was to management plant production and plant protection and suitable rootstocks of Som- Cho- Khun, grown at Chumphon provinces. The result found that, greening disease was the main problem to deteriorated in citrus orchards. It has effectsedon yield, quality , cost and income from the produce. In Phrae , the farmer was eradicated the plant after growing 3 years, because the plants were infected by greening disease more than 50 %. In Srisaket, could harvest the yield in 4 years after growing which gave only 107 kg/rai, and the plants became very weak because of greening disease. In Chumphon, was found that after growing 42 months, Som-Cho-Khun on volkamerina rootstock or volkamerin cutting for rootstock has the highest of growth rate followed by rangpurelime and troyer. The yield has been harvested after growing 4 years, yield of Chokun free disease on troyer rootstock, volkamerina ,rangpurelime and cutting branch for rootstock was 5 ,3.97,3.64 and 3.28 kg/plant,respectively. Volkamerina and rangpurelime rootstocks gave the highest total soluble solids. After growing 20 months, Diaphorina citri kuwayana was found on plants. The production cost was very high during 27,026-37,428 baht/rai. The second activity was to management the old mandarin orchards. One trial was soil management, kinds of organic fetilizers,effective microorganism, organic + chemical fetilizers,mycorhiza and foliar spray. The result found that all of these treatments can not help the plants vigor. The production cost was high and no profit. To forecast the deteriorated of mandarin orchards, it can used the data from sattlelite (SPOT) and was analized by supervised classification technique. The third activity was studied on growing the new cultivar of mandarin(Som-Cho-Khun:seedless or less seeds). To improved this cultivar by irradicated method, this method got 15 clones . The plant was grown at Phrae Agriculture Research and Development Center and found that the clonal no A4V3-22-12 had high growth. The fourth activity was research and development technology for the production of lime included off –season and canker disease. The result found that using technique of cincturing and soil application of 0.25-0.50 gram paclobutrazol/meter of canopy diameter. It can stimulate flowering. Yield of off-season was 343-471 and 336-622 fruits/plant in 2005 and 2006. The second trail sprayed 400 ppm paclobutrazol, 2 times, 15 and 60 days after terminal shoot cutting. It can distribute the yield and gave more fruits than control. The selection of hybrid cultivars of lime included M33, L4 and B18 were compared with Pan Ram Pai in Pichit and Sukhothai provinces. The result found that 3 hybrids cultivars had more higher growth, canker tolerance and yield more than Pan Ram Paicultivar. The fifth activity was development on production technology for Som Juke. This study was conducted at Songkha and Trang province during 2009-2010. The result found that manure fertilizers, organic fertilizers or chemical fertilizers did not effect on plant growth, but used of organic + chemical fertilizers gave the highest growth. The production technology of citrus(mandarin) by used good agricultural practice(GAP) was suitable for Som Juke, but the production cost was high in the first and second years and no income from the produce.It will receive more income in the future.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยศึกษาการผลิตส้ม
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มโอ โครงการวิจัยศึกษาการผลิตลิ้นจี่ โครงการวิจัยศึกษาการผลิตกวาวเครือ โครงการวิจัยการศึกษาการผลิตพริกไทยที่มีคุณภาพ โครงการวิจัยศึกษาการผลิตไพลที่มีคุณภาพ การวิจัยและพัฒนาการผลิตเห็ดกระดุมเขตร้อน โครงการวิจัยการวิจัยและพัฒนาการผลิตพันธุ์พืชเพื่อการผลิตพืชระบบเกษตรอินทรีย์ การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตมะเขือเทศ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมันเทศ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก