สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาศักยภาพในการนำเศษวัสดุจากการตัดแต่งกิ่งลำไยมาผลิตเอทานอล
ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน, มยุรา ศรีกัลยานุกูล, พงษ์ศักดิ์ รวมทรัพย์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาศักยภาพในการนำเศษวัสดุจากการตัดแต่งกิ่งลำไยมาผลิตเอทานอล
ชื่อเรื่อง (EN): A study on the possibility of longan tree trimming waste for the bioethanol production
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาศักยภาพในการนำเศษวัสดุจากการตัดแต่งกิ่งลำไยมาผลิตเอทานอล โดยไฮโดรไลซีสด้วยกรด เอนไซม์ และน้ำ การไฮโดรไลซีสใช้กรด 3 ชนิด คือ กรดฟอสฟอริก กรดไฮโดรคลอกริก และกรดซัลฟูริก โดยการออกแบบการทดลองด้วยวิธีการแสดงผลตอบสนองแบบโครงร่างพื้นผิว (response surface methodology) โดยใช้โปรแกรม Central Composite Design (CCD) พบว่า กรดที่เหมาะสมในการไฮโดรไลซีส คือ กรดซัลฟูริก ความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิ 148 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาทีได้ ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงสุดคือ 0.42 g/L การไฮโดรไลซิสเศษวัสดุจากการตัดแต่งกิ่งลำไยด้วยเอนไซม์เซลลูเลสในการทำปฎิกิริยา ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส อัตราส่วน 1:60 (g/unit) เวลา 30 นาที ให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ 0.601 (g/L) การไฮโดรไลซิสเศษวัสดุจากการตัดแต่งกิ่งลำไยด้วยน้ำกลั่นในอัตราส่วน 1:0.02 (g/L) เวลา 20 นาที และอุณหภูมิ 140 องศาเซลเซียส เป็นสภาวะที่เหมาะสมให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงสุด 0.647 (g/L) นำน้ำตาลรีดิวซ์ที่ได้จากการไฮโดรไลซิสเศษวัสดุจากการตัดแต่งกิ่งลำไยด้วยน้ำกลั่นไปหมักเอทานอลโดยใช้การออกแบบการทดลองด้วยโปรแกรม Design Expert โดยการออกแบบส่วนประสมกลาง (Central Composite Design)โดยมี 2 ปัจจัยคือ ปริมาณยูเรีย และเวลา ที่อุณหภูมิ 140 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที และใช้เชื้อ Saccharamyces cerevisiae TISTIR 5020 ในการหมัก พบว่า สภาวะที่เหมาะสมคือ ใช้ยูเรีย 0.14 กรัม หมักเป็นเวลา 48 ชั่วโมง ได้เอทานอล 0.048 (g/L) เมื่อทำการขยายขนาดปริมาตรเป็น 500 มิลลิลิตร พบว่าสามารถผลิตเอทานอลได้ 1.074 และ 1.122 (g/L) ตามลำดับ เมื่อใช้ระยะเวลาในการหมักนาน 48 และ 72 ชั่วโมง ตามลำดับ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าเศษวัสดุจากการตัดแต่งกิ่งลำไยมีศักยภาพในการนำมาใช้ในการผลิตเอทานอล คำสำคัญ: เศษวัสดุจากการตัดแต่งกิ่งลำไย เอทานอล เทคโนโลยีการหมัก การออกแบบส่วนประสมกลาง
บทคัดย่อ (EN): Bioethanol production from longan tree trimming waste was investigated in this research. The hydrolyzation of longan tree trimming waste with acid, enzyme and water were studied. Firstly, the acid hydrolysis of phosphoric, hydrochloric and sulfuric acid using response surface methodology (RSM) and Central Composite Design (CCD) program with various temperature and acid concentration were determined. The results showed that the acid hydrolyzation with 1 (%v/w) of sulfuric acid at 148 ?C for 10 minutes gave the highest reducing sugar of 0.42 g/L. Secondly, enzyme hydrolysis was prepared. The enzyme hydrolyzation with ratios between longan tree trimming waste and enzyme cellulose at 1:60 (g/unit) for 30 minutes at 50 ? gave the reducing sugar of 0.601 (g/L). Finally, the hydrolyzation of longan tree trimming waste with distilled water with ratios between longan tree trimming waste and distilled water at 1:0.02 (g/L) for 20 minutes and 140?C gave the maximum reducing sugar of 0.647 (g/L). The fermentation of bioethanol from longan tree trimming waste hydrolysate by RSM and CCD program with 2 factors of urea concentration at 140 ?C and fermentation periods 20 minutes using Saccharamyces cerevisiae TISTIR 5020 were investigated. The optimum conditions at 0.14 g of urea for 48 hours were showed. The bioethanol of 0.048 (g/L) was produced. The scaled up of bioethanol fermentation at 500 ml was studied. The 1.074 and 1.122 (g/L) of ethanol were found at 48 and 72 hours, respectively. It was indicated the longan tree trimming waste has potential of ethanol production. Key words: longan tree trimming waste, ethanol, fermentation technology, Central Composite Design (CCD)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาศักยภาพในการนำเศษวัสดุจากการตัดแต่งกิ่งลำไยมาผลิตเอทานอล
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2557
การผลิตเอทานอลจากกากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันโดยเชื้อผสมที่คัดเลือก การศึกษาศักยภาพการผลิตเอทานอลจากมันเทศ การใช้เซลลูโลสที่แยกได้จากเศษเหลือทะลายปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตเอทานอลผ่านกระบวนการย่อยสลายควบคู่กับการหมัก การศึกษาการผลิตแอซิโตน-บิวทานอล- เอทานอล(เอบีอี) จากมันสำปะหลังโดยกระบวนการหมัก การผลิตไบโอเอทานอลจากการหมักของยีสต์ทนร้อนโดยใช้ชีวมวลของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน การตัดแต่งกิ่งต่อการเจริญเติบโตของต้นจำปีและจำปา การศึกษาจลนพลศาสตร์การหมักเอทานอลจากมันสำปะหลัง ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำกระดาษเหลือใช้มาผลิตเป็นเอทานอล ผลของระดับการใช้กากมันสำปะหลังแห้งจากการผลิตเอทานอลในสูตรอาหารต่อกระบวนการหมักย่อยในกระเพาะหมักและการย่อยได้ในโคพื้นเมืองเจาะกระเพาะ การคัดเลือกแบคทีเรียจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลิตเอทานอล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก