สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาศักยภาพการผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อการบริโภคในภาคใต้ตอนล่าง
สุรพล มนัสเสรี - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาศักยภาพการผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อการบริโภคในภาคใต้ตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): A study of the Potential of Vegetable Soybeans Probeans Production for Consumption I Lower Southern Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุรพล มนัสเสรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Surapol Manatseree
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาศักยภาพการผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อการบริโภคในภาคใต้ตอนล่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อหาพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสด ระยะปลูกและอัตราปลูกที่เหมาะสม ชนิด และอัตราปุ๋ยที่ใช้กับถั่วเหลืองฝักสดที่เหมาะสมทำการทดลองใน จังหวัดสงขลา สตูล และนราธิวาส ระหว่างเดือนธันวาคม 2538 - เมษายน 2541 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete block Design การศึกษาด้านพันธุ์ ประกอบด้วยถั่วเหลืองฝักสด 5 พันธุ์ วิเคราะห์ค่าความแปรปรวน 12 ลักษณะ พบว่า มีความแตกต่างทางสถิติ 9 ลักษณะ โดยถั่วเหลืองพันธุ์กำแพงแสน 292- มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมดีที่สุด โดยมีองค์ประกอบเฉลี่ยจาก 4 แหล่งปลูกสูงสุดในลักษณะความสูง จำนวนกิ่งต่อต้น ผลผลิตฝักสดรวมต้น ผลผลิตฝักสด และน้ำหนัก 100 เมล็ด พันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดที่ดีเป็นลำดับสองคือถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 1 จากการศึกษาระยะปลูกและอัตราประชากรที่เหมาะสมสำหรับถั่วเหลืองพันธุ์กำแพงแสน 292 และพันธุ์เชียงใหม่ 1 ใน 2 แหล่งปลูกที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา อ. หาดใหญ่ และไร่เกษตรกร ต. บางเหรียง อ. ควนเนียง จ. สงขลา พบว่าอยู่ระหว่าง 26,664 - 53,328 ต้นต่อไร่ หรือที่ระยะปลูก 60x20x2 60x10x2 50x25x3 50x20x3 และ 50x20x2 จะมีองค์ประกอบผลผลิตไม่แตกต่างกัน แปลงปลูกทั้ง 2 แหล่งปลูกพบว่า ที่ระยะปลูก 60x10x2 ได้ผลผลิอตน้ำหนักฝักสดสูงสุด และการใช้ปุ๋ยเคมีจะเป็นสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยยูเรียอัตรา 25 และ 50 กก./ไร่ จะได้ผลผลิตน้ำหนักฝักสดรวมต้นและผลผลิตฝักสดสูงสุดไม่แตกต่างกันทั้ง 2 แปลงปลูก การเพิ่มอัตราการใช้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก. ไร่เป็น 100 กก./ไร่ จะได้ผลผลิตฝักสด และฝักสดรวมต้นเพิ่มขึ้น การใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กก./ไร่ ร่วมกกับปุ๋ยยูเรียอัตรา 50 กก./ไร่ มีแนวโน้มที่จะได้ผลผลิตฝักสด ฝักสดรวมต้นและน้ำหนักเมล็ดน้อยกว่าใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กก.ไร่ร่วมกับปุ๋ยยูเรียอัตราระหว่าง 25-50 กก./ไร่
บทคัดย่อ (EN): A study of the potential of vegetable soybean productionfor consumption in lower Southern Thailand aimed at selecting suitable varieties, spacing, plant population densities and fertilizer application. the trials were conducted at the Randomized Complete Block Design in the areas of Songkhal, Satoon and Naratiwat Provinces during December 1995-April 1998. Five varieties of vegeatable soybean were tested to analyze variances of 12 characters. The study found that 9 characters were significantly different. Kampangsean 292 had yjr nrdy ,rsm vjstsvyrtd om yjr sbrtshr [;smy jrohjy. number of branches/plant. The average yield, weighed including stalks and pods, fresh pods without stalks weighed and weight per 100 seeds. The seconds best was the Chiangmai 1 variety. As to the suitable space and plant population densities for Kampangsean 292 and Chiangmai 1 in the two areas trieal, it was found that between 26,664-53,328 plants/rai or at space in centimeters 60x20x2 , 60x10x2, 50x25x3, 50x20x3 and 50x20x2 showed no difference in yield. The trial at space 60x10x2 produced the highest yield of fresh pods without stalks weighed. For fertilizer application, the study found that the application of chemical fertilizer 15-15-15 at 100 kg/rai together with urea at 25 and50 kg/rai showed no different yield weighed with fresh pods and stalks or fresh pods excluding stalk between 2 plots trial. Increasing rate of fertilizdr 15-15-15 from 50 kg/rai to 100 kg/rai could increase yield weighed of fresh pods both with stalks and without stalks. Application of fertilizer 13-13-21 at 50 kg/rai with urea at 50 kg/rai showed the tendency of lower fresh pods weight with stalk and without stalk and seeds weight than when 15-15-15 was applied at 100 kg/rai with urea between 25-50 kg/rai
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2543
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาศักยภาพการผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อการบริโภคในภาคใต้ตอนล่าง
กรมวิชาการเกษตร
2543
เอกสารแนบ 1
การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองและสารเคมีตามคำแนะนำในระบบ GAP เพื่อควบคุม แมลงศัตรูพืชในการผลิตถั่วเหลืองฝักสดในจังหวัดเชียงใหม่ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มจุกในภาคใต้ตอนล่าง การคัดเลือกและทดสอบผลผลิตสายพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดที่มีกลิ่นหอมของไทย แผนงานวิจัยสภาวะการผลิตและการบริโภคสินค้าเกษตร สถานการณ์การผลิตและตลาดถั่วเหลืองปี 2528 การวิเคราะห์สถานการณ์การผลิต การบริโภค และทัศนคติในการบริโภคน้ำตาลของผู้บริโภคในประเทศไทย และโภชนาการของน้ำตาล การตรวจสอบสารตกค้างในการผลิตถั่วเหลืองฝักสดโดยการใช้ Gas Chromatography-Mass Spectrometry โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อการส่งออก การศึกษาศักยภาพการพัฒนาเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่สูง : กรณีศึกษาพื้นที่เกษตรชุมชนชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านตะเพินคี่ จังหวัดสุพรรณบุรี ความเป็นไปได้ในการผลิตกระชายดำเชิงพาณิชย์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก