สืบค้นงานวิจัย
การลดเชื้อ Campylobacter jejuni/coli ในไก่ด้วยระบบโอโซน
ประเวทย์ ตุ้ยเต็มวงศ์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชื่อเรื่อง: การลดเชื้อ Campylobacter jejuni/coli ในไก่ด้วยระบบโอโซน
ชื่อเรื่อง (EN): Reduction of Campylobacter jejuni/coli in Chicken Meat using Ozonation System
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประเวทย์ ตุ้ยเต็มวงศ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pravate Tuitemwong
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโอโชนต่อลักษณะสัณฐานวิทยาและการลดลงของเชื้อ Compylobacter spp. (C. jejuni, C. col) ของซากไก๋ในขั้นตอนการลดอุณหภูมิซากด้วยระบบน้ำ โอโซนแบบไหลสวนทาง ผลการศึกษาพบว่าความเข้มข้นของสารละลายโฮโชนที่ตำแหน่งเริ่มต้นปล่อยไก่ กลางถัง และปลายถังที่ใช้ลดอุณหภูมิซากมีค่าเฉลี่ย 1.75t0.13, 1.99-0.17 และ 2.23t0.20 ppm ตามลำดับ เมื่อซากไก่สัมผัสสารละลายโฮโซนเป็นเวลา 30 และ 60 นาที ปริมาณเชื้อ Campylobacter spp. ลดลงจาก 5.12 log cfu/ml เป็น 2.84 Log cfu/ml (ร้อยละ 99.76) และ 2.23 log cfu/ml (ร้อยละ 99.20) ตามลำดับ เมื่อเชื้อในบ่อไก่สัมผัสโอโซนในถังที่ใช้ลดอุณหภูมิซากนาน 30 และ 60 นาที จำนวนเชื้อมีการกระจายตัวแบบปกติ (Normal X 2.78 SD 1.28) มีค่าในช่วง 0.18-4.38 Log cfu/ml และ Normal X 2.89 SD 0.40 มีค่าในช่วง 2.26-3.55 log cfu/ml ตามลำดับ เทียบกับก่อน การสัมผัสโอโชน Normal X 5.13 SD 0.59 มีค่าในช่วง 4.0 -6.0 log cfu/ml ซึ่งแสดงถึงการลดลง อย่างชัดเจนทั้งสองช่วงเวลา ลักษณะสัณฐานวิทยาของเชื้อ Campylobacter spp. หลังจากสัมผัส โอโซนเมื่อส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดลำแสงส่องกราด พบว่า เมื่อเซลล์สัมผัสน้ำโอโซน นาน 20-30 นาที ทำให้เกิดการออกชิเดชั่นจนผนังเชลล์เสียหายเกิดเป็นรูขึ้น หากสัมผัสนาน 40 นาที เซลล์จะโค้งงอ ยุบตัว และเหี่ยวน และการสัมผัสนาน 50 นาที ทำให้เกิดรอยแยกที่ผิวเซลล์ ทำ ให้เสียสภาพไป ระบบโอโซนแบบไหลสวนทางสามารถลดเชื้อได้มากกว่าการไหลหิศทางเดียวกัน ผลจาก การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าระบบน้ำโอโซนแบบไหลสวนทางกันนาน 60 นาที ซึ่งเป็นเวลาปกติที่ใช้ใน การลดอุณหภูมิของซากไก่จาก 40-42 C ให้ไม่เกิน 4C มีประสิทธิภาพดีพอที่จะใช้ทดแทนระบบ คลอรีนเดิมที่ประเทศกลุ่มประชาคมยุโรปไม่ยอมรับเนื่องจากเกรงอันตรายของสารก่อมะเร็งคลอรามีน จากการใช้คลอรีน
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this study was to investigate the effect of ozone on the morphology and reduction of pathogenic Campylobacter spp. (C. jejuni and C. coli) in the chicken carcasses at a chilling step in a commercial poultry processing plant. The counter flow ozonation system was applied to the carcass chiller and compared its effect with the parallel flow ozonation system. The ozone concentrations of beginning, middle and the end of chilling tank were 1.75t0.13, 1.99t0.17 and 2.23+0.20 ppm, respectively. After exposure to ozone water for 30 and 60 minutes, the average numbers of the bacteria were reduced from 5.12 log cfu/ml to 2.84 log cfu/ml (99.76%) and 2.23 log cfu/ml (99.20%), respectively. The pathogen numbers were normally distributed (Normal X 2.78 SD 1.28) with the range of 0.18 to 4.38 log cfu/ml and X 2.89 SD 0.40 ranging from 2.26 to 3.55 log cfu/ml, respectively. The distribution of Campylobacter spp. in the chicken before the treatment was normal ( X 5.13 SD 0.59) with a range of 4.0 to 6.0 log cfu/ml. The reductions were evident in both treatments. The effect of ozone on the bacterial morphology examined under the scanning electron microscopy (SEM) revealed that there were holes in the cell wall of the bacteria cells treated for 20-30 min. The damage and deformity of the cell surface structure were visible at 40 min ozone treatment. The complete disintegration to cell debris was observed at 50 min ozone exposure. Counter current ozonation was more effective against the pathogens than the parallel flow system. Results from this study showed that counter current ozonation effectively caused cell damage leading to a complete destruction of the cells. Ozonation at the chilling step for about 60 min, as required to cool the carcasses from 40-42C down to 4c, is very promising to apply in place the chlorination chilling which is unacceptable to the European Community due to its ability to form carcinogenic chloramines.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 410,520.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2552
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การลดเชื้อ Campylobacter jejuni/coli ในไก่ด้วยระบบโอโซน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
30 กันยายน 2552
ศึกษาสภาวะการติดเชื้อ Brachyspira ในไก่ ประสิทธิภาพการป้องกันในไก่ของเชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบติดต่อสายพันธุ์ QX ที่ทำให้เชื้อลดความรุนแรงด้วยความร้อน การใช้แหนใหญ่เลี้ยงไก่พื้นเมือง ผลการใช้มันสำปะหลังแคโรทีนสูง (พันธุ์ระยอง 2) เป็นอาหารไก่กระทง ผลของระบบการเลี้ยงไก่แบบอินทรีย์ ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ส่วนประกอบซาก และคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองลูกผสม การกระจายตัวและความไวของกระบวนการแปรรูปไก่ต่อการปนเปื้อนเชื้อ L. monocytogenes ที่วิเคราะห์ด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อมาตรฐาน ALOA และ P76GXP ที่พัฒนาขึ้น การลดจำนวนจุลินทรีย์ในเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์โดยการใช้สารอินทรีย์ที่ไม่มีอันตรายทดแทนสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อในกระบวนการผลิต (ระยะที่ 1) ผลของอุณหภูมิสภาพแวดล้อมต่อกลไกการควบคุมวงจรการสืบพันธุ์โดยระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อในไก่พื้นเมืองไทยเพศเมีย: บทบาทของฮอร์โมนสเตียรอยด์ การควบคุมพฤติกรรมความเป็นแม่โดยระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อในไก่พื้นเมืองไทยเพศเมีย: บทบาทของวาโซแอคทีฟอินเทสทินอลเปปไทด์ การคัดแยกแบคทีเรียแลกติกเพื่อใช้เป็นกล้าเชื้อในการผลิตแหนมไก่ฮาลาล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก