สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝรั่ง
นางสาวธิติยา สารพัฒน์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝรั่ง
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Production Technology of Guava
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางสาวธิติยา สารพัฒน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝรั่งเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์ โดยมีการรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมฝรั่งที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร รวบรวมพันธุ์ฝรั่ง จำนวน 27 พันธุ์ ทำการบันทึกข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ฝรั่งได้จำนวน 10 พันธุ์คือ แป้นสีทองกลมสาลี่สาลี่ทองกิมจู เพชรพูทองแดงหวานพจ.13-10 สามสีกรอบ แดงฟิลิปปินส์ และแดงบางกอก เพื่อให้ได้พันธุ์ฝรั่งที่เหมาะสมต่อการบริโภคผลสด จึงได้ดำเนินปรับปรุงพันธุ์ฝรั่งเพื่อการบริโภคสดโดยวิธีการผสมข้ามพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ฝรั่งลูกผสมเนื้อสีขาวและฝรั่งลูกผสมเนื้อสีม่วงที่ให้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดี เหมาะสำหรับการบริโภค โดยการผสมข้ามพันธุ์ฝรั่งจำนวน 14 คู่ผสม ได้กล้าฝรั่งลูกผสมเนื้อสีขาว 1,120 ต้น และฝรั่งลูกผสมเนื้อสีม่วง 102 ต้น คัดเลือกพันธุ์ฝรั่งตามหลักเกณฑ์การคัดเลือก สามารถคัดเลือกพันธุ์ฝรั่งเนื้อสีขาวจากคู่ผสม 7 คู่ผสม และในส่วนของปัญหาหลักที่ส่งผลให้เกิดความสูญเสียของผลผลิต ณ ปัจจุบันนี้ คือโรคเหี่ยว และโรครากปม ซึ่งโรคเหี่ยวทำให้ฝรั่งแสดงอาการใบไหม้ ยอดเหี่ยว กิ่งแห้ง ต้นทรุดโทรม โคนต้นและรากถูกทำลาย ทำให้ฝรั่งยืนต้นตายเป็นจำนวนมากและเชื้อโรคสามารถลุกลามได้รวดเร็วสาเหตุเกิดจากเชื้อราNalanthamalapsidiiในส่วนของการระบาดของโรครากปมของฝรั่งมีสาเหตุจากไส้เดือนฝอยรากปม(Meloidogyne spp.)โรครากปมทำให้ต้นฝรั่งที่ถูกทำลายมีอาการแคระแกร็นใบเหลืองซีด ทรงพุ่มบาง ต้นโทรมผลผลิตลดลงทั้งขนาดและปริมาณซึ่งทั้งสองโรคนี้เกิดเป็นพื้นที่กว้างโดยเฉพาะ อ.บ้านแผ้ว จ.สมุทรสาคร อ.สามพราน จ.นครปฐม และ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เป็นพื้นที่การระบาดหนักและเป็นพื้นที่หลักในการปลูกฝรั่ง กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช จึงได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของสารต่างๆที่ใช้ในการจัดการทั้งโรคเหี่ยวและหรือโรครากปม สำหรับโรคเหี่ยวของฝรั่ง จากผลการทดลองพบว่ามี สาร 10 ชนิดที่มีประสิทธิภาพดีในในการควบคุมการเจริญของเชื้อราดังกล่าวที่ ระดับความเข้มข้น 500 ppmในระดับห้องปฏิบัติการคือ Prochloraz 45%EC Benomyl 50% WP Pyraclostrobin 25%WVEtridiazole 25%SCThiram 80% WG Tetraconazole 40%EW Difenoconazole 25%ECTridemorph 75%SCCarbendazim 50%WP Myclobutanil25%ECและโรครากปมสามารถใช้สาร abamectin1.8% EC fipronil5% SC carbofuran 3% GR dinotefuran 1% GR ภูไมท์โดโลไมท์ เชื้อรา Trichodermaharzianumและ Paecilomyceslilacinusในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในสวนฝรั่งที่มีการระบาดของโรครากปมเพราะสามารถลดประชากรของไส้เดือนฝอยรากปมได้ ถึงแม้การใช้ภูไมท์มีค่าอัตราการขยายพันธุ์ของไส้เดือนฝอยมากกว่าหนึ่งแต่ดีกว่าเมื่อเทียบกับชุดควบคุมที่ไม่ได้ใช้สารซึ่งไส้เดือนฝอยสามารถที่จะขยายพันธุ์ได้ถึง 5.83 เท่า เพื่อให้ได้วิธีการควบคุมเชื้อโรคให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำความเสียอย่างยั่งยืนจึงได้คัดเลือกต้นตอฝรั่งที่ทนทานหรือต้านทานต่อโรคเหี่ยวและโรครากปมฝรั่งโดยคัดเลือกต้นตอฝรั่งพันธุ์ขี้นกต้านทานต่อไส้เดือนฝอยรากปม พบว่าจากต้นฝรั่งขี้นก 155 ต้น มี 5 ต้น ที่สามารถต้านทานต่อไส้เดือนฝอยรากปมได้ และคัดเลือกต้นตอฝรั่งพันธุ์พื้นเมืองต้านทานต่อเชื้อราNalanthamalapsidii พบว่าจากต้นฝรั่งพันธุ์พื้นเมืองจำนวน จากจำนวน 110 ต้นพบว่ามีจำนวน 13 ต้นที่สามารถต้านทานต่อเชื้อราNalanthamalapsidiiได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/292209
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝรั่ง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2556
เอกสารแนบ 1
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย โครงการวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตห้อมในพื้นที่จังหวัดแพร่ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งและกระเจี๊ยบเขียว โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกลอย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตองุ่น โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสละ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก