สืบค้นงานวิจัย
สถานะของกำมะถันในดินที่ใช้ปลูกข้าวหอมมะลิและผลของปุ๋ยกำมะถันที่มีต่อข้าวขาวดอกมะลิ 105
ปภัชญา สนิทมัจโร - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: สถานะของกำมะถันในดินที่ใช้ปลูกข้าวหอมมะลิและผลของปุ๋ยกำมะถันที่มีต่อข้าวขาวดอกมะลิ 105
ชื่อเรื่อง (EN): Status of Sulfur in Jasmine Rice Growing Soil and Effect of Sulfur Fertilizer on Khao Dawk Mali 105 Rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปภัชญา สนิทมัจโร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Paphatchya Sanitmatcharo
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ชุดดินตัวแทนที่ใช้ปลูกข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ชุดดินพิมาย โคราช กุลาร้องไห้ ท่ตูม และอุบล ถูกคัดเลือกเพื่อ ศึกษา 1) ประสิทธิภาพของน้ำยาสกัดได้แก่ น้ำกลั่น, Ca(H PO ), NH OAc และ Mehich Il! ในการวิเคราะห์กำมะถัน ที่เป็นประโยชน์ในดินสำหรับสร้างสมการคาดคะเนผลผลิตขั้ว และ 2) ผลของปุ้ยกำมะถันที่มีต่อข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในสภาพโรงเรือนประกอบด้วยอัตรา 0, 3, 6, 9 และ 12 มก.กำมะถันกก. ดินแห้ง พบว่า ชุดดินพิมาย กุลาร้องไห้ และ โคราชมีกำมะถันอยู่ในระดับสูง ส่วนชุดดินที่เหลือมีปริมาณปานกลาง ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ตอบสนองต่อปุ้ยกำมะถัน ที่ใส่ยกเว้นในชุดดินพิมายที่การใส่ปุ้ยกำมะถันจะให้ผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิตของข้าวสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ แต่การใส่แต่ละอัตรให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติ กำมะถันที่สกัดด้วยน้ำยาสกัดทั้ง 4 ชนิดมีสหสัมพันธ์ กับความเข้มข้นของกำมะถันในเมล็ดและตอซังข้าวยกเว้นน้ำกลั่นโดย Mehlich II และ NH OAc ให้สหสัมพันธ์กับกำมะถัน ในตอซัง (r = 0.91*) และในเมล็ดข้าว ( = 0.97**) สูงที่สุด ตามลำดับ ส่วนกำมะถันที่สกัดโดย NH OAc มีสหสัมพันธ์ทาง สถิติกับน้ำหนักแห้งตอซัง (r =0.98*) ปริมาณกำมะถันที่คาดว่าเพียงพอต่อข้าวมีค่าแตกต่างกันไปตามชนิดน้ำยาสกัดดิน อยู่ในพิสัย 5-26 มก./กก. ผลผลิตที่ได้จากสมการที่ใช้น้ำยาสกัดกำมะถันทั้ง 4 ชนิดมีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยิ่งกับผลผลิตที่ได้รับจริงใกล้เคียงกัน (R = 0.69*-0.80 *) โดยน้ำยา Mehlich I! ให้สหสัมพันธ์สูงสุด สมการ I0g(100-y)= 2-0.2496b +1.498x และ l0g (100-y) =2-0.0 163b-0.185x เมื่อ y คือ ผลผลิตที่ได้คิดเป็นร้อยละของผลผลิตสูงสุด x คือ อัตราปุ้ยกำมะถันที่ใส่ (หน่วย มก./กก) และ b คือ ปริมาณกำมะถันที่สกัดโดย NH, OAc และ น้ำกลั่น (หน่วย มก./กก) ตามลำดับ มีความเหมาะสมในการประเมินความเป็นประโยชน์ของกำมะถันสำหรับข้าวที่ปลูกในดินเหล่านี้มากกว่าน้ำยา สกัดดินที่เหลือ อย่างไรก็ตาม สมการที่ได้อาจต้องปรับเปลี่ยนเมื่อมีการทดสอบในสนามในหลายๆ ดิน
บทคัดย่อ (EN): Representative soil series for growing jasmine rice, namely Phimai, Korat, Kula Ronghai, Tha Tum and Ubon soil series were selected for the studies comprising two parts; 1) the efficiency of four soil extractants such as H2O, Ca(H2PO4)2, NH4OAc and MehlichIII for the analysis of soil available S and subsequently used to make equation for rice yield prediction, and 2) the effect of S fertilizer on yield of Khao Dawk Mali 105 rice (KDML105) under greenhouse condition. Treatments consisted of 0, 3, 6, 9 and 12 mg S/kg dried soil. Results showed that Phimai Korat and Kula Ronghai had high level of available S while the others had medium level. KDML105 rice showed clear response to additional S fertilizer except for Phimai soil series. Sulfur fertilizer gave higher rice yield and components than did no application but with no statistical difference among different rates. Sulfur extracted from four soil extractants correlated with S concentrations in stover and grain except that extracted by H2O. Mehlich III and NH4OAc correlated highest with the concentration of S in stover (r = 0.91**) and in rice grain (r = 0.97**),respectively. Sulfur content extracted by NH4 OAc only statistically correlated with stover dry matter (r =0.98*). Critical level of S expectedly adequate was 5-26 mg/kg depending upon each extractant. Predicted yields retrieved from the equation using four S extractions were highly significantly correlated with actual rice yield (R2 = 0.69**- 0.80**) which Mehlich III was the most highly correlated. The equations of log(100-y)=2-0.2496b+1.498x and log (100-y)=2-0.0163b-0.185x, y was obtained grain yield in percent of maximum yield; x was rate of required S fertilizer in mg/kg; and b was S content extracted by NH4OAc and H2O, respectively, in mg/kg, were suitable for assessing S availability for growing rice on these soils. However, the equation may need to be adjusted, regarding field trials that cover more soils.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=05 Paphatchya.pdf&id=2880&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สถานะของกำมะถันในดินที่ใช้ปลูกข้าวหอมมะลิและผลของปุ๋ยกำมะถันที่มีต่อข้าวขาวดอกมะลิ 105
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของแคลเซียมและแมกนีเซียมต่อข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกในดินนาและดินที่ได้รับอิทธิพลจากเกลือ ผลของระดับฟอสฟอรัสที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ประสิทธิภาพการผลิตและรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิทั่วไปและข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่มีขนาดพื้นที่เพาะปลูกแตกต่างกัน ผลของกากแป้งมันสำปะหลังและถ่านแกลบชีวมวลต่อข้าวขาวดอกมะลิ 105 (KDML 105) ที่ปลูกในชุดดินร้อยเอ็ด ผลของสารกำจัดวัชพืชเมื่อใช้ร่วมกับน้ำส้มควันไม้ต่อการควบคุมวัชพืชและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในสภาพนาหว่านข้าวแห้ง ผลผลิตของข้าวหอมมะลิที่ปลูกบนดินภายใต้อิทธิพลของเกลือในทุ่งกุลาร้องไห้ ศักยภาพทางเศรษฐกิจการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในจังหวัดอุบลราชธานี การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินนาในการปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยเคมีและวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลทราย ผลของโสนและปุ๋ยไนโตรเจนต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตข้าวในดินนาชุดนครปฐม พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิ บ้านทุ่งนาเรา ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก