สืบค้นงานวิจัย
เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2543 ของเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา
อนุรัตน์ ศรีสุระ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2543 ของเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อนุรัตน์ ศรีสุระ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2543 ของเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึง สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และปัญหาอุปสรรคในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ทดสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาแล้วคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรแบบ Multi-Stage Random sampling ได้เกษตรกรตัวอย่าง จำนวน 377 ราย จากประชากรทั้งหมด 6,400 ราย และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC เพื่อหาค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 44 ปีสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 78.51 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน และส่วนมากเป็นแรงงานภาคการเกษตรมีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 56.47 ไร่ ใช้แรงงานในครัวเรือนและการจ้างเฉลี่ย 18 คน แหล่เงินทุนส่วนใหญ่มาจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและตนเอง ร้อยละ 58.89 มีเครื่องจักรเครื่องมือทางการเกษตรได้แก่ เครื่องพ่นยา รถไถเล็ก เครื่องหยอดเมล็ดและรถแทรกเตอร์ รายได้มาจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 110,433.57บาท/ครอบครัวเกษตรกรร้อยละ54.91 ได้รับการอบรมความรู้จากเจ้าหน้าที่ของทางราชการ ส่วนใหญ่จะได้รับการแนะนำร้อยละ 84.62 นอกจากนี้มีการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ร้อยละ 87.53 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมาเยี่ยมเยียนเฉลี่ย 2 ครั้ง/ฤดูการผลิต เกษตรกรมีการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2 ครั้ง/ปี พื้นที่ปลูกต้นฝนเฉลี่ย 42.57 ไร่ และปลายฝนเฉลี่ย 46.59 ไร่ ในต้นฝนปลูกมากช่วงเดือนเมษายนและปลายฝนปลูกมากในเดือนกรกฎาคม มีการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสมทั้งหมด ดินปลูกเป็นดินเหนียวสีดำ ร้อยละ 38.99 มีการเตรียมดินเฉลี่ย 2 ครั้งใช้ระยะปลูก 75x25 เซนติเมตร ใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 3.09 กิโลกรัม/ไร่ ไม่มีการถอนแยกต้นข้าวโพดร้อยละ 78.25 มีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ร้อยละ 67.90 มีการใช้ปุ๋ยเคมี ร้อยละ 98.41 โดยใช้ป๋ยเคมีเฉลี่ย 2 ครั้ง เก็บเกี่ยวข้าวโพดโดยการสังเกตสีเปลือกของฝักข้าวโพด ร้อยละ 52.78 ผลผลิตในต้นฤดูฝนเฉลี่ย 730.15 กิโลกรัม/ไร่ และปลายฤดูฝนเฉลี่ย 647.32 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อก็บเกี่ยวแล้วจะสีขายทันที ร้อยละ 63.13 โดยขายให้พ่อค้าท้องถิ่น ร้อยละ 73.47 ราคาที่ขายได้เฉลี่ย 4.10 บาท/กิโลกรัม เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้น้อยในเรื่องการป้องกันสารอะฟลาทอกซิน และพบว่าเกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตเฉลี่ย 1,875.53 บาท/ไร่ มีปัญหาอุปสรรคในการผลิตอยู่ในระดับมากในเรื่องเกี่ยวกับต้นทุนสูงผลผลิตต่ำ ปัจจัยการผลิตราคาแพง ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ คือ (1) ควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเพิ่มเติม ในเรื่องการถอนแยก การคัดแยกฝัก การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ยเคมี การปลูกข้าวโพดเพื่อหลีกเลี่ยงฝนทิ้งช่วงการป้องกันสารอะฟลาทอกซิน รวมไปถึงการอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆที่ทันสมัย (2) ควรมีการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรมีการช้เครื่องจักรกลในการผลิตทดแทนแรงงานในกรณีที่เกษตรกรมีพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมาก (3) พัฒนาการจัดตั้งกองทุนกลุ่มเกษตรกร (4)เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรจะมีการปรับปรุงละพัฒนาการถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรมากขึ้นโดยใช้กลุ่มการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (5) จัดทำแปลงทดสอบหรือแปลงเรียนรู้ในพื้นที่ของเกษตรกรเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยและถูกต้อง ให้เกษตรกรได้รับรู้และปฏิบัติตาม (6)รัฐบาลควรมีแนวนโยบายในการช่วยเหลือและสนับสนุนให้เกษตรกรมีการทำข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้า
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดนครราชสีมา
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ปี 2543
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2543 ของเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อให้ได้ผลผลิตและคุณภาพlสูงในเขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหนองบัวน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชนจังหวัดพะเยา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชนจังหวัดพะเยา ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด สภาพการผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น ปี 2539 การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก