สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ทนเค็ม ทนแล้ง และต้านทานโรคไหม้โดยวิธีผสมกลับ และใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก
ปิยะดา ธีระกุลพิศุทธิ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ทนเค็ม ทนแล้ง และต้านทานโรคไหม้โดยวิธีผสมกลับ และใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก
ชื่อเรื่อง (EN): Improvement of KDML105 for salt / drought tolerance and blast resistance using backcross breeding and marker assisted selection
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปิยะดา ธีระกุลพิศุทธิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Piyada Theerakulpisut
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การผลิตข้าวในเขตที่อาศัยน้ำฝนมักได้รับผลกระทบจากปัญหา ดินเค็ม ฝนแล้ง และการระบาดของโรค อัน เป็นผลเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงโดย ปัญหาดังกล่าวผลทำให้ผลผลิตของข้าวลดน้อยลง ดังนั้นการ พัฒนาพันธุ์ข้าวที่สามารถ ให้ผลผลิต ได้ในสภาพดินเค็ม ฝนแล้งและพื้นที่ๆ มีการระบาดของโรค ได้นั้นจึงมี ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งงานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ทนเค็ม ทนแล้ง และ ต้านทานโรคไหม้ ด้วยวิธีการผสมกลับและใช้เครื่องหมายโมลกุลช่วยในการคัดเลือก โดยทำการพัฒนาสายพันธุ์ข้าว ขาวดอกมะลิ 105 ที่ได้รับชิ้นส่วน (T ทนแล้งบนโครโมโซมที่ 8 จำนวนสองสายพันธุ์ คือ KDML-CSSL94 และ KDML-CSSL103 มาเป็นสายพันธุ์แม่ ผสมเข้ากับสายพันธุ์พ่อ RGD4 (BC.F.,-salt-blast resistance; เป็นสายพันธุ์ ผู้ให้ยืนทนเค็ม บนโครโมโซมที่ 1((St1aและ (St 1b)และยีนต้านทานโรคไหม้ บนโครโมโซมที่ 11 (QBI11) โดยวิธี ผสมกลับและใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกลักษณะความทนเค็ม ความทนแล้ง และต้านทานโรคไหม้ คู่ผสม KDML-CSSL94XRGD4ได้ประชากรลูกผสมชั่วรุ่น BC. F จำนวน 96 ต้น และได้ประชากรลูกผสม F2 เพื่อปลูก และคัดเลือกในการสร้างประชากร BC. F. เพิ่ม สำหรับคู่ผสม KDML-CSSL103xRGD4 ได้ประชากรลูกผสมชั่วรุ่น BC F:จำนวน 132ต้น และได้ประชากรลูกผสม F, ในการคัดเลือก เพื่อเพิ่ม ประชากร BC.F, ต่อไป ปัจจุบันอยู่ ระหว่างการดำเนินการคัดเลือกต้น BC. F, ต้นที่ผ่านการคัดเลือกจะ นำไปผสมกลับเข้าสู่พันธุ์ผู้รับเพื่อพัฒนาชั่วรุ่น BC.F,ต่อไป ซึ่งข้าวสายพันธุ์ใหม่นี้จะเป็นอีกหนึ่ง ทางเลือกที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้พื้นที่ดินเค็ม พื้นที่แห้ง แล้งให้เป็นประโยชน์และปลอดภัยจากการระบาดของโรคไหม้ได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนในการผลิต อีกทั้ง ยังมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
บทคัดย่อ (EN): Rice production under rainfed conditions in the northeast Thailand usually suffers from stresses due to drought, salinity and blast disease which are getting more severe due to the effects of climate change. Therefore, improvement of rice lines with enhanced resistance to drought, salinity and blast is one of the major focuses for rice breeding objectives. The aim of this project was to develop rice lines with elevated level of tolerance to drought and salinity, and resistance to blast through marker-assisted backcross breeding. Two rice lines introgressed with drought-tolerance QTL on chromosome 8 in a genetic background of KDML105 namely, KDMLCSSL94 and KDML-CSSL103, have been crossed with RGD4 (BC2F4-salt-blast resistance; carrying salt-tolerance QTL on chromosome 1, and blast resistance QTL on chromosome 11). From the crosses KDML-CSSL94xRGD4, and KDML-CSSL103?RGD4, 96 and 132 BC1F1 were obtained respectively. These BC1F1 are being screened for those carrying SSR markers for all three traits. The selected BC1F1 will be backcrossed to recurrent parents to obtain BC2F1 for further selection.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2558
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ทนเค็ม ทนแล้ง และต้านทานโรคไหม้โดยวิธีผสมกลับ และใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
2560
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ทนเค็ม ทนแล้ง และต้านทานโรคไหม้โดยวิธีผสมกลับ และใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนาข้าวพันธุ์บางแตนให้ต้านทานโรคไหม้แบบผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล การพัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียวต้านทานโรคไหม้โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัสนิวคลีโอโพลีฮีโดร (NPV) ของไหม โดยใช้ double-strand RNA interference ความก้าวหน้าการผนวกยีนความต้านทานโรคไหม้ ดินเค็ม และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ให้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล การปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ที่พัฒนาได้จากพันธุ์ข้าว กข15 และขาวดอกมะลิ 105 ให้มีความต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล การปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกสายพันธุ์ต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ในข้าวโพดหวานโดยวิธีการผสมกลับร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก ระยะที่ 4 การปรับปรุงข้าวพันธุ์ กข47 ให้ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งด้วยวิธีการผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก โดย น.ส.ณัฏฐา เสือชาวนา การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต้านทานโรคขอบใบแห้งโดยวิธีการผสมกลับและคัดเลือก ด้วยเครื่องหมายโมเลกุล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก