สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยศึกษาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลือง
สมชาย ผะอบเหล็ก - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยศึกษาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลือง
ชื่อเรื่อง (EN): Soybean Production Technology
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมชาย ผะอบเหล็ก
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สมชาย ผะอบเหล็ก
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ถั่วเหลืองเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ แต่ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ โดยเฉพาะถั่วเหลืองคุณภาพดีเพื่อการบริโภคและอุตสาหกรรมอาหาร ในปี 2549-2553 จึงได้ดำเนินโครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อได้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองที่ให้เปอร์เซ็นต์โปรตีนในเมล็ดสูงขึ้นอย่างน้อย 1.5 เปอร์เซ็นต์และหรือผลผลิตโปรตีนสูงขึ้น ตลอดจนมีคุณภาพเมล็ดดีตามความต้องการของตลาด การดำเนินการทดลองแบบสหสาขาวิชาเพื่อสนับสนุนให้บรรลุวัตถุประสงค์ ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยหมักจาก ต้นใบถั่วเหลือง ฟางข้าวและขี้เลื่อย ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมสามารถเพิ่มผลผลิตและคุณภาพถั่วเหลืองโดยการใส่ปุ๋ยหมักจากฟางข้าว อัตรา 2 ตันน้ำหนักแห้ง/ไร่ กับถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 มีผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นสูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตโปรตีน เพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์ และทำให้โปรตีนในเมล็ดเพิ่มขึ้น 1.56 เปอร์เซ็นต์ การฉีดพ่นปุ๋ยไนโตรเจนทางใบในรูปของยูเรียในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโตไม่ช่วยให้ผลผลิต เปอร์เซ็นต์โปรตีนและผลผลิตโปรตีนในเมล็ดถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น ผลที่ได้นี้จึงเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตในอนาคต การจัดการน้ำสำหรับผลิตถั่วเหลืองในดินร่วนปนทราย ที่จังหวัดเชียงใหม่ ปริมาณน้ำที่ให้ระหว่าง 202.9-362.4 มิลลิเมตร ขึ้นกับพันธุ์ถั่วเหลืองและวิธีการจัดการน้ำ กรณีมีน้ำอย่างเพียงพอการให้น้ำที่ระดับความชื้นสนามทุก 7 วัน จนถึงระยะ R7.5 ให้ผลผลิตเมล็ด และผลผลิตโปรตีนต่อพื้นที่สูงสุด ถ้ามีน้ำจำกัดการให้น้ำ 50 เปอร์เซ็นต์ ของระดับ FC จนถึงระยะ R7.5 ยกเว้นช่วง R1-R4 ให้ที่ระดับ FC ถึงแม้ผลผลิตจะลดลงแต่เป็นวิธีการใช้น้ำที่มีประสิทธิภาพสูงสุด การปลูกถั่วเหลืองตั้งแต่กลางพฤศจิกายน-กลางธันวาคม พบว่า ถั่วเหลืองมีการตอบสนองต่ออุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยตลอดช่วงปลูกในลักษณะของเส้นโค้ง โดยการปลูกตั้งแต่กลางพฤศจิกายนทำให้ผลผลิตถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นจนถึงปลายธันวาคมและเริ่มลดลงในการปลูกต้นมกราคม เมื่อถั่วเหลืองกระทบกับอุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้ผลผลิตถั่วเหลืองลดลง แต่การกระทบกับอุณหภูมิสูงทำให้เปอร์เซ็นต์โปรตีนในเมล็ดถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น งานวิจัยด้านการใช้ไรโซเบียมกับถั่วเหลืองนั้น พบว่าการใช้ไรโซเบียมสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพเฉพาะกับพันธุ์ถั่วเหลือง ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยหมักมีผลให้ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น โดยใช้ไรโซเบียมสายพันธุ์ DASA01014 และ DASA01029 กับถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 0-9-6 กิโลกรัม/ไร่ และปุ๋ยหมัก 800 กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลผลิตสูงสุด 410 กิโลกรัม/ไร่ ปริมาณโปรตีน 41.7 เปอร์เซ็นต์ และผลผลิตโปรตีน 171 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มขึ้น 147.2 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาทางด้านเทคโนโลยีการอารักขา พบว่า การใช้สารละลายไคโตซาน ที่ความเข้มข้น 0.08 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 3 ครั้ง/ฤดูปลูก สามารถลดการเกิดโรคพืชที่มีสาเหตุจากเชื้อราและแบคทีเรียได้ใกล้เคียงกับการใช้สารเคมีคาร์เบนดาซิม นอกจากนี้การใช้สารละลายไคโตซานไม่มีผลกระทบต่อประชากรของเชื้อรา แบคทีเรียในดินนอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประชากรยีสต์และแบคทีเรียบนใบถั่วเหลืองในระยะการออกดอกและติดฝัก โดยเป็นการครอบครองพื้นที่ใบถั่วเหลืองป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคพืชชนิดต่างๆได้ การใช้สารกำจัดวัชพืชทั้งประเภทใช้ก่อนและหลังงอกของวัชพืชมีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชได้ปานกลางจนถึงได้ระดับดี งานวิจัยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองนั้น พบว่า ระยะเก็บเกี่ยวตั้งแต่ R7.5-R8+10 วันไม่มีผลต่อผลผลิตเมล็ด ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ ตลอดจนปริมาณโปรตีนในเมล็ด การเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองที่ล่าช้ามีผลทำให้ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์เมื่อเก็บรักษาลดลง
บทคัดย่อ (EN): Soybean is the important economic crops. However, soybean production capacity is not adequate for local consumption especially high quality soybean for consumers and food industry. Therefore, during 2006-2010, soybean production technology study was performed. Objectives of the study were to search for soybean production technology in order to yield at least 1.5% higher protein content or yield higher protein and to yield quality soybean to meet with requirements of the market. In order to achieve those objectives, multidisciplinary principles study was performed. Results have found that the utilization of compost made from soybean leaves, saw dust, and rice straw together with rhizobium biological fertilizer increased soybean production and quality. Applying compost made from rice straw with rate 2 tons of dry weight per rai with soybean mutant variety CM60, it was found that maximum yield increasing was 20% while protein production was 25% increased and soybean protein content was 1.56% increased. Spraying of urea fertilizer on soybean leaves during different stage of plantation did not enhance higher level of protein production and soybean protein content. Regarding water management for sandy loam in Chiang Mai province, 202.9-362.4 millimeter of water was used to grow soybean depending on soybean varieties and water management methods. If there was plenty of water, the highest yield and protein production were obtained by applying water at field moisture level every 7 days until R7.5 growth stage was reached. If water amount was limited, study was performed by watering 50% of field capacity until R7.5 growth stage was reached except for R1-R4 where water at field capacity was applied, even though yield obtained was decreased but this was the most effective water utilization method. For soybean plantation during the middle of November to the middle of December, it was found that soybean responded to the maximum average temperature throughout plantation season in shape of curve. Plantation during the middle of November to the middle of December increased the production while production started decreasing when plantation in the beginning of January. Expose to higher temperature caused soybean production reduction. However, high temperature exposure enhanced increasing of soybean protein percentage. Research on the use of rhizobium with soybean has found that the use of effective rhizobium specifically for soybean together with chemical fertilizer and compost increased production efficiency. Utilization of rhizobium line DASA01014 and DASA01029 with CM60 variety together with chemical fertilizer and compost at rate 0-9-6 kg/rai and 800 kg/rai, respectively, yielded the maximum production capacity of 410 kg/rai with protein amount of 41.7% and protein production of 171 kg/rai. These numbers increased by 147.2%. Study on technology of protection was found that, the use of 0.08% concentration of chitosan solutions 3 times/plantation season reduced plant disease caused by fungi and bacteria similar to the use of carbendazim. In addition, the use of chitosan solutions did not impact amount of fungi and bacteria in soil. Also, it increased amount of yeast and bacteria on soybean leaves during flowering and vegetative phases by covering leave area and help protecting from plant disease infection. Herbicides utilization both pre and post emergence showed fair to good weed control. Research on soybean technology has found that harvest phase during R7.5-R8+10 days did not impact grain production, seed production as well as protein content. Late soybean harvest reduced seed vigor during storage.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยศึกษาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลือง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี การถ่ายทอดเทคโนโลยีกี่ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่งเหลือง สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดแพร่ สถานการณ์การผลิตและการตลาดถั่วเหลือง ปี 2527 เปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองฤดูแล้งของเกษตรกรในและนอกโครงการพัฒนาการผลิตและการตลาดถั่วเหลือง เขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ ปี 2547 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่คุณภาพเพื่อการส่งออก การผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก