สืบค้นงานวิจัย
สภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพป่าของแต่ละฤดูในบริเวณ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขื่อนอุบลรัตน์
อำนวย คำตื้อ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: สภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพป่าของแต่ละฤดูในบริเวณ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขื่อนอุบลรัตน์
ชื่อเรื่อง (EN): Areas Condition, Geography and Seasonal Changes of Forest in Plant Genetics Conservation Project under The Royal Initiation of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhron; Ubolratana Dam.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อำนวย คำตื้อ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การสำรวจสภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพป่าของแต่ละฤดูในบริเวณโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เขื่อนอุบลรัตน์ เพื่อศึกษาสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สภาพดิน สภาพของป่า สภาพต้นไม้ และความเปลี่ยนแปลงของสภาพป่า ระหว่างเดือนตุลาคม 2551 ถึงกันยายน 2552ร่วมกับหมอยาสมุนไพร ชาวบ้าน ที่รู้จักประโยชน์และพรรณพืช พบพรรณพืชทั้งหมดจำนวน 223 ชนิด ไม้พื้นล่างจำพวก ปรงป่า เถาวัลย์ ไม้หนามชนิดต่าง ๆ รวมทั้งสมุนไพรนานาพันธุ์อีกมากมาย และพบว่าสภาพพื้นที่โดยทั่วไปของเขื่อนอุบลรัตน์ มีลักษณะสัณฐานเป็นเทือกเขาหินทราย ซึ่งเทือกเขาเหล่านี้ทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ ขนานกับอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารส่วนหนึ่งของลำน้ำที่สำคัญหลายสาย เช่น ลำน้ำพอง ลำน้ำเชิญ ลำน้ำชี เป็นต้นพื้นที่ประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่สำรวจปกคลุมไปด้วยป่าเต็งรังโดยมีป่าเบญจพรรณ ป่าทุ่งหญ้า ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในบางพื้นที่ ทั้งในเทือกเขาภูพานคำและเทือกเขาภูเม็งมีสภาพเป็นป่าดิบแล้งที่สมบูรณ์จัดเป็นป่าต้นน้ำ ลำธารที่ไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ บริเวณนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าถือเป็นแหล่งสมุนไพรที่สำคัญของอุทยาน รวมไปถึงพรรณไม้มีค่าต่าง ๆ อีกมากมาย
บทคัดย่อ (EN): This survey aimed to study the landforms, climate, conditions of soil, forests and trees and the changes of forest condition during October 2008 and September 2009. The study was conducted with the cooperation of local plant experts and local people who know the benefits of plants and the plants species. Two hundred and twenty three species of plants were found in the study area. . The ground floor species are Cycas siamensis , climbers, some of thorny bushes and many species of herbal plants. The study also found that the landform of the Ubonratana dam is a sandy soil mount which lies from the north to the south and parallel to the Ubonratana reservoir. The mount was the source of the stream branches of the major rivers such as Pong, Chern and Chi River. About 80 percent of the areas was covered with the dry dipterocarp forest while the mixed deciduous forest and grass land spread in some areas. Forest conditions in the Phu-pan-kam and Phu-meng mount were the fertile dry evergreen forest which was identified to be the source of stream to Ubonratana dam. In addition, the areas were the habitat of various types of wild animals, sources of important herbal plants and many of valuable plant species.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพป่าของแต่ละฤดูในบริเวณ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขื่อนอุบลรัตน์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
30 กันยายน 2552
สภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพป่าของแต่ละฤดูในบริเวณ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนจุฬาภรณ์ การสำรวจสัตว์ป่าในบริเวณโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเขื่อนจุฬาภรณ์ การใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ และการเกษตรจากความหลากหลายของพืชและจุลินทรีย์เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฤทธิ์ทางชีวภาพ เครื่องหมายโมเลกุล และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของเปราะ เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ความหลากหลายทางชีวภาพในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้ ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชตำบลผาช้างน้อย จังหวั การอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วยไม้ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา (โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา) การสำรวจกล้วยไม้ป่าในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก