สืบค้นงานวิจัย
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี
ขัตติยา สุวรรณคำ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่อง (EN): Adoption on Hand Reeled Thai Silk Yarn Technology of Farmers in Udon Thani Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ขัตติยา สุวรรณคำ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ประภัสสร เกียรติสุรนนท์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ จากตัวอย่าง 254 ราย ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน พบว่าเกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือในระดับสูงทุกประเด็น จำนวน 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านสถานที่สาวไหม จำนวน 5 ประเด็น 2) ด้านเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ จำนวน 5 ประเด็น 3) ด้านการต้มรังไหม จำนวน 2 ประเด็น 4) ด้านการตรวจคุณภาพเส้นไหม จำนวน 1 ประเด็น 5) ด้านการกรอเส้นไหมเพื่อทำเข็ดไหม จำนวน 5 ประเด็น และ 6) ด้านการเก็บรักษาเส้นไหม จำนวน 3 ประเด็น ส่วนเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมไทยสาวมืออีก 4 ด้าน คือ 1) ด้านการตรวจคุณภาพรังไหม 2) ด้านวิธีการสาวไหม 3) ด้านบรรจุภัณฑ์ และ 4) ด้านเครื่องหมายและฉลาก มีการยอมรับในระดับต่ำถึงระดับไม่ปฏิบัติเกือบทุกประเด็นในแต่ละด้าน ผลการเปรียบเทียบการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือ พบว่าเกษตรกรที่มีอายุ จำนวนแรงงานในครัวเรือน การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ และประสบการณ์การสาวไหมแตกต่างกัน มีการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือแตกต่างกันในบางประเด็น
บทคัดย่อ (EN): The study on adoption on hand reeled Thai Silk yarn technology of farmers in Udon Thani province. Two hundred and fifty four farmers were randomly selected using a simple random sampling method and were interviewed using interview schedule. The farmers adopted the Thai Silk traditional hand reeling technology in high level of 6 aspects i.e. 1) silk reeling site 5 items, 2) machines, equipments and tools 5 items, 3) cocoon cooking 5 items, 4) silk yarn quality inspection 1 items, 5) re–reeling of Thai Silk yarn for skein making process 5 items, and 6) Thai Silk yarn storage 3 items. However, 4 aspects were adopted in low level or in some cases did not follow the recommended practices i.e. 1) cocoon quality inspection, 2) reeling technique, 3) packaging, and 4) label and marking. Comparison of the adoption of hand reeled Thai Silk yarn technology as classified by age of farmers, number of times the farmers contact the extension officers, and the hand reeled Thai Silk yarn experience years in silk reeling found statistically significant differences on the adoption of the technology in some items.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
เอกสารแนบ: https://www.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/192732
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
การผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตและคุณภาพเส้นไหมพื้นบ้านของเกษตรกร การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตหม่อนไหม เพื่อนำไปปฏิบัติตาม ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระดับเกษตรกร การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตหม่อนไหม เพื่อนำไปปฏิบัติตามในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตในระดับเกษตรกร การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตถั่วฝักยาวของเกษตรกรในอำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี การศึกษาสถานการณ์การผลิต ความรู้ และการยอมรับของเกษตรกร ในกระบวนการผลิตไหมเพื่อผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product) การศึกษาสถานการณ์การผลิต ความรู้และการยอมรับของเกษตรกรในกระบวนการผลิตไหมเพื่อผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product) โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก โครงการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก