สืบค้นงานวิจัย
การประเมินคุณค่าทางโภชนาการในข้าวต่างสี
อาทิตย์ กุคำอู - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การประเมินคุณค่าทางโภชนาการในข้าวต่างสี
ชื่อเรื่อง (EN): Evaluation on nutritional values of colored rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อาทิตย์ กุคำอู
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Arthit Kukam-oo
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การประเมินคุณค่าทางโภชนาการในข้าวต่างสี ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ระหว่างปี 2549-2550 ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก และนาเอกชนจังหวัดสุโขทัย ที่จังหวัดพิษณุโลกปลูกแบบนาทั่วไปมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมี ส่วนที่จังหวัดสุโขทัยปลูกแบบข้าวอินทรีย์ ใช้น้ำหมักชีวภาพและสารสกัดสมุนไพร วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ 12 กรรมวิธี โดยมีสายพันธุ์ข้าวต่างสี จำนวน 8 สายพันธุ์ เป็นกรรมวิธีทดสอบพันธุ์ข้าวต่างสี 2 พันธุ์และพันธุ์ข้าวขาว 2 พันธุ์ เป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบ ทำการบันทึกลักษณะความสูง อายุเก็บเกี่ยว และผลผลิต สุ่มเก็บตัวอย่างเมล็ดเพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ ผลการทดลองพบว่า ข้าวในการทดลองทั้งหมดเป็นข้าวต้นเตี้ย มีความสูงประมาณ 79-123 เซนติเมตร อายุเก็บเกี่ยว ระหว่าง 95-140 วัน ข้าวต่างสีในการทดลองส่วนใหญ่ให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ มีเพียงสายพันธุ์เดียว คือ PSL00255-4-4-5R ที่ให้ผลผลิตสูงเทียบเท่ากับพันธุ์เปรียบเทียบ (ชัยนาท 2) ข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีเข้ม (สีแดงถึงสีแดงเข้มเกือบดำ) มีเยื่อใยอาหาร (Dietary fiber) ธาตุแคลเซียม สารโพลีฟีนอล (Polyphenol content) และสารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) สูงกว่าข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีอ่อน (สีขาว เหลือง ถึงสีแดงอ่อน) แต่วิตามินบี 6 ในข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีอ่อนกลับมีปริมาณสูงกว่าข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีเข้ม ส่วนลักษณะคุณค่าทางโภชนาการอื่น ๆ ในพันธุ์/สายพันธุ์ต่าง ๆ มีแตกต่างกัน สายพันธุ์ที่มีลักษณะคุณค่าทางโภชนาการในระดับสูง ได้แก่ PSL00284-8-2-5R ที่มีเมล็ดสีแดงเข้มเกือบดำ และ PSL00284-17-5-5R ที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม โดยมีธาตุเหล็ก สารโพลีฟีนอล และฤทธิ์ต้านทานอนุมูลอิสระค่อนข้างสูงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ อย่างไรก็ตามการปลูกข้าวในสภาพที่แตกต่างกันไม่ทำให้คุณค่าทางโภชนาการแตกต่างกันอย่างชัดเจน ยกเว้นไฟเตท พบว่า ในข้าวที่ปลูกแบบข้าวอินทรีย์ มีปริมาณสูงกว่าข้าวที่ปลูกแบบปกติทั่วไป
บทคัดย่อ (EN): Nutritional values of colored rice were evaluated by Phitsanulok Rice Research Center during wet season in 2002. The experiment was carried out at 2 sites, one was the farmers'field in Phitsanulok while the other was the private company's field in Sukhothai. The experimental design was RCB having 12 treatments with 4 replicates. Eight colored rice lines were compared to 4 standard varieties: 2 recommended white and 2 introduced colored ones. Recommended rate and type of fertilizer and chemical application were practiced at Phitsanulok site while organic farming strategy was practiced at Sukhothai site. Plant height, maturity and grain yield were recorded. The grain was sampled for nutritional analysis after harvest. Results revealed that all tested lines was rather short of 79-123 cm, wigh. Maturity was in the range of 95-140 days. Most lines provided a rather low yield except PSL00255-4-4-5R of which a similar grain yield to Chai Nat 2, a standard check variety. Rice lines having red to deep dark-red pericarp were more superior than those with white, yellow and light-red pericarp in dietary fiber, calcium, polyphenol and antioxidant contents. However, those with red to deep dark-red pericarp had lower level of vitaminB6 than the ones. Among the tested lines, there were 2 lines having higher nutritional values than the rest. The nutritional quality included the content of iron, polyphenol and antioxidative activity. They were designated as PSL00284-8-2-5R having deep dark-red pericarp and PSL00284-17-5-5R having dark red pericarp. In general, two different growing conditions provided similar nutritional values except the level of phytate. Organic rice had a higher phytate content than that grown normally.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/164262
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 9 tables
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินคุณค่าทางโภชนาการในข้าวต่างสี
กรมการข้าว
2552
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม คุณค่าทางโภชนาการของข้าวเฉดสี ข้าวกล้องดอยและข้าวดอยซ้อมมือ ข้าวท้องถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและคุณค่าทางโภชนาการ การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ จากข้าวพันธุ์ใหม่ : รายงานการวิจัย การวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดอัตราการขัดสีข้าว การประเมินคุณค่าทางโภชนาการของข้าวพันธุ์พื้นเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การประเมินคุณค่าทางโภชนาการในกระยาสารทจากข้าวกล้องพญาลืมแกงงอก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก