สืบค้นงานวิจัย
การใช้เศษเหลือของกากถั่วดาวอินคาเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนในอาหารปลานิลแดง
อนุรักษ์ เขียวขจรเขต - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: การใช้เศษเหลือของกากถั่วดาวอินคาเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนในอาหารปลานิลแดง
ชื่อเรื่อง (EN): Utilization of sacha inchi meal by-product as protein source replacement in feed for red tilapia
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อนุรักษ์ เขียวขจรเขต
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: จิราพร โรจน์ทินกร
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:   สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การใช้เศษเหลือของกากถั่วดาวอินคาเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนในอาหารปลานิลแดง” แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี นาย อนุรักษ์ เขียวขจรเขต เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้สูตรอาหารปลานิลแดงจากการใช้กากถั่วดาวอินคาในการใช้เป็นแหล่งโปรตีนทดแทนที่มีประสิทธิภาพ จากการศึกษาวิจัย พบว่า การใช้ประโยชน์จากกากถั่วดาวอินคาที่ผ่านการให้ความร้อนแบบ extrusion เพื่อทดแทนแหล่งโปรตีนจากกากถั่วเหลือง และปลาป่นในอาหารปลานิลแดงที่มีต่อการเจริญเติบโต การใช้อาหารและโปรตีน สัมประสิทธิ์การย่อยสารอาหาร การศึกษานี้ประกอบด้วย 2 การทดลอง โดยกำหนดให้อาหารที่ใช้ในทั้งสองการทดลองมีโปรตีน (30 เปอร์เซ็นต์) และไขมัน (30เปอร์เซ็นต์) ในระดับใกล้เคียงกัน การทดลองที่ 1 กำหนดให้ทดแทนแหล่งโปรตีนจากกากถั่วเหลืองด้วยโปรตีนจากกากถั่วดาวอินคาจำนวน 7 ระดับคือ 0 (ควบคุม) 8 17.5 25 50 75 และ 100 เปอร์เซ็นต์ การทดลองที่ 2 กำหนดทดแทนแหล่งโปรตีนจากปลาป่นด้วยโปรตีนจากกากถั่วดาวอินคาจำนวน 6 ระดับคือ 0 (ควบคุม) 20 40 60 80 และ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยเลี้ยงปลาที่มีขนาดเริ่มต้นประมาณ 9 และ 15 กรัมต่อตัว ตามลำดับ เลี้ยงในตู้กระจกขนาดความจุ 150 ลิตร และคัดเลือกปลาทดลองแบบสุ่มจำนวน 20 ตัวต่อตู้ ชุดการทดลองละ 4 ซ้ำ ปลาทั้งสองการทดลองได้รับอาหารทดลองกินจนอิ่ม จำนวน 2 มื้อเวลาคือ 09.00 และ 16.00 นาฬิกา การเปลี่ยนถ่ายน้ำ 80 เปอร์เซ็นต์ทุกวัน เพื่อศึกษาการเจริญเติบโต หลังจากนั้นปลาทดลองได้รับอาหารผสม 0.5 เปอร์เซ็นต์โครมิกซ์ออกไซด์ต่ออีก 2 สัปดาห์ เพื่อศึกษาสัมประสิทธิ์การย่อยสารอาหาร ผลการทดลองที่ 1 พบว่าปลาที่ได้รับอาหารทดลองที่ระดับ 25 เปอร์เซ็นต์มีน้ำหนักตัวสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ ประสิทธิภาพการใช้อาหาร อัตราประสิทธิภาพการใช้อาหาร ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว ประสิทธิภาพการใช้โปรตีน การนำโปรตีนไปใช้ประโยชน์ ดัชนีตับและน้ำหนักตัว (HSI) สูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ที่ระดับการทดแทน 100 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพที่สูงกว่าชุดควบคุม ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากากถั่วดาวอินคาสามารถทดแทนการการใช้กากถั่วเหลืองในอาหารปลานิลแดงได้ทั้งหมด ผลการทดลองที่ 2 พบว่าปลานิลแดงที่ได้รับอาหารทดแทนที่ระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำหนักตัวสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ ปริมาณการกินอาหาร  อัตราการกินอาหาร ประสิทธิภาพการใช้อาหาร อัตราประสิทธิภาพการใช้อาหาร ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว ประสิทธิภาพการใช้โปรตีน และการนำโปรตีนไปใช้ประโยชน์ สัมประสิทธิ์การย่อยวัตถุแห้ง และโปรตีนมีค่าสูงที่สุด และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารควบคุม (p<0.05) ในขณะที่ค่าดัชนีปัจจัยภายนอก (condition factor)  ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) กากถั่วดาวอินคาที่ผ่านกระบวนการ extrusion มีราคา 11.74 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งถูกกว่ากากถั่วเหลือง และปลาป่น ทำให้ราคาอาหารต่อกิโลกรัม และค่าอาหารต่อน้ำหนักปลาที่เพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัม มีค่าต่ำที่สุดทั้งสองชุดการทดลองอีกด้วย การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่ากากถั่วดาวอินคาเป็นวัตถุดิบที่สามารถทดแทนการใช้กากถั่วเหลืองได้ทั้งหมด และทดแทนปลาป่นได้ 80 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตในปลานิลแดง ปัจจุบันปริมาณกากถั่วดาวอินคาจะยังมีปริมาณจำกัด การใช้ประโยชน์จึงเหมาะกับอุตสาหกรรมขนาดย่อม (SME) และมีศักยภาพพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัย คือ ได้สูตรอาหารปลานิลแดง จากการใช้กากถั่วดาวอินคาซึ่งสามารถเป็นวัตถุดิบที่มีศักยภาพทดแทนวัตถุดิบที่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีราคาแพงได้ในอาหารปลาได้ดี      
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561-03-21
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562-03-20
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2561
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP อนุสิทธิบัตร
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ สูตรอาหารผสมกากถั่วดาวอินคา และกรรมวิธีการผลิต
เลขที่คำขอ 1903000895
วันที่ยื่นคำขอ 2019-04-11 12:00:00
เลขที่ประกาศ
วันที่จดทะเบียน
เลขที่จดทะเบียน
วันที่ประกาศ
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เศษเหลือของกากถั่วดาวอินคาเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนในอาหารปลานิลแดง
มหาวิทยาลัยนเรศวร
20 มีนาคม 2562
ประสิทธิภาพของเครื่องหมาย Visible Implant Elastomer ในปลานิลและปลานิลแดงคัดพันธุ์และปลานิลแดงคัดพันธุ์ ผลของการใช้สารเสริมในอาหารปลานิลที่มีต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพ การใช้กล้วยหอมทองสุกในสูตรอาหารเลี้ยงปลานิล การเสริมอาหารธรรมชาติเพื่อเลี้ยงปลานิล การศึกษาประสิทธิภาพสารดูดซับสารพิษอะฟลาท็อกซินจากแหล่งดิน ในประเทศไทยในอาหารปลานิล ประสิทธิภาพการวางไข่ของปลานิลแดง 3 แหล่งพันธุ์ การใช้โปรตีนจากกากถั่วเหลืองทดแทนโปรตีนจากปลาป่นในอาหารเลี้ยงปลาเทโพ ผลของระดับโปรตีนและความถี่ในการให้อาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิลแปลงเพศขนาดกลาง ระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารสำหรับปลาเทพา ระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารปลาอีกงวัยรุ่น

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก