สืบค้นงานวิจัย
ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์เพื่ออุตสาหกรรมการผลิตถั่วงอก
อารดา มาสริ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์เพื่ออุตสาหกรรมการผลิตถั่วงอก
ชื่อเรื่อง (EN): A new Blackgram Varietty for Sprouts Industry
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อารดา มาสริ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Arada Masari
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 80 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ปราจีนกับพันธุ์ NBG 5 ในปี 2532 ที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ปรับปรุงพันธุ์โดยวิธี Single seed descent - pedigree method ปลูกทดสอบตามมาตรฐานการเปรียบเทียบพันธุ์จำนวน 21 สภาพแวดล้อม โดยพบว่า ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 80 ให้ผลผลิต 250 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ร้อยละ 14 มีขนาดเมล็ดใหญ่กว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 โดยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 57.5 กรัม สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 (51.7 กรัม) ร้อยละ 11 พันธุ์ชัยนาท 80 มีศักยภาพ ในการให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 การศึกษาการเพาะถั่วงอก พบว่าพันธุ์ชัยนาท 80 ให้น้ำหนักสดถั่วงอกสูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ร้อยละ 6 มีอัตราการเพาะถั่วงอก 1 : 6 สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ที่มีอัตราการเพาะถั่วงอก 1 : 5 และถั่งอกที่ได้มีรสชาติหวานกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 นอกจากนี้ยังพบว่าการประเมินการยอมรับของเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 80 ในจังหวัดเพชรบูรณ์และนครสวรรค์ จากการสัมภาษณ์พบว่าเกษตรกรชอบและให้การยอมรับถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 80 ทุกราย (100 %)
บทคัดย่อ (EN): A new blackgram variety, Chai Nat 80, is a cross between Prajeen and NBG 5 Variety improvement has started since 1989 at Chai Nat Field Crops Research Center using, single seed descenist - pedigree method The promising lines were evaluated in the standard yield trials in 21 environments. Chainat 80 gave an average yield of 250 kg/rai which was 14% higher than a recommended variety, Phitsanulok 2. A thounsand-seed weight was 57.5 g. which was 11% greater than Phitsanulok 2 (51.7 g/1,000 seeds). A higher yield stability was also found in this variety. Sprout weight obtained from Chai Nat 80 variety was 6% greater than that of Phitsanulok 2. The ratio of seed weight to sprout weight of Chainat 80 was 1 to 6, compared with 1 to 5 of Phitsanulok 2. Its sprouts also tested sweeter and crisper without raw smell, compared to those of Phitsanulok 2. A study on farmersû adoption of Chai Nat 80 conducted in Phetchabun and Nakhon Sawan provinces indicated that all framers (80 farmers) prefer the Chai Nat 80 variety.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=012-Arada.pdf&id=132&keeptrack=980
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์เพื่ออุตสาหกรรมการผลิตถั่วงอก
อารดา มาสริ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
สถานภาพการผลิต พันธุ์ และแนวทางพัฒนาลำไย เพื่ออุตสาหกรรมในเขตภาคเหนือ การรวบรวมพันธุ์ และการศึกษาลักษณะประจำพันธุ์,การตอบสนองต่อช่วงแสงในการออกดอกและการผสมเกสรของเบญจมาศเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ วิจัยและพัฒนาพันธุ์สบู่ดำเพื่อการเพิ่มผลผลิตโดยการผสมพันธุ์(Crossing ) วิจัยและพัฒนาพันธุ์สบู่ดำเพื่อการเพิ่มผลผลิตโดยการกลายพันธุ์ โครงการการปรับปรุงพันธุ์และการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมห่อ วิจัยและพัฒนาพันธุ์สบู่ดำเพื่อการเพิ่มผลผลิตโดยการกลายพันธุ์(Mutation ) การศึกษาพันธุ์ขั้นต้น และการทดสอบผลผลิตเบื้องต้นของข้าวเหนียวสายพันธุ์ กข 6 ไม่ไวต่อช่วงแสง การศึกษาสถานภาพการผลิต และความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผลผลิต คุณภาพและปริมาณสาร capsaicin ในพริกพันธุ์การค้าในเขตจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ศึกษาพันธุ์ปรงเพื่อการขยายพันธุ์ และการอนุรักษ์พันธุ์พืช ศักยภาพการให้ผลผลิตของข้าวเหนียว 4 พันธุ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก