สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด
สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์, จักรนรินทร์ ฉัตรทอง, รอมฎอน บูระพา, วรพงค์ บุญช่วยแทน, สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์, จักรนรินทร์ ฉัตรทอง, รอมฎอน บูระพา, วรพงค์ บุญช่วยแทน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด
ชื่อเรื่อง (EN): The Improvement and Development of Manufacture Organic Fertilizer Pellets
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด จักรนรินทร์ ฉัตรทอง 1 สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์ 1 วรพงค์ บุญช่วยแทน 1 และ รอมฎอน บูระพา 1 บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบสร้างเครื่องผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ที่เป็นสายการผลิตเดียวกัน คือ การผสม การอัดเม็ด และการอบ ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ช่วยลดเวลาการรอคอยส่วนผสม โดยมีการออกแบบสร้างเครื่องให้มีขนาดความกว้าง 160 เซนติเมตรความยาว 220 เซนติเมตรและมีความสูง 160 เซนติเมตร ใช้มอเตอร์ 2 ตัวเป็นต้นกำลัง ตัวที่หนึ่งขนาด 3 HP ส่งกำลังให้ถังผสมด้วยความเร็ว 24 รอบ / นาที และส่งกำลังต่อไปยังชุดอัดเม็ดด้วยความเร็ว 40 รอบ / นาที มอเตอร์ตัวที่ 2 ขนาด 1/4 HP ส่งกำลังไปยังถังอบด้วยความเร็ว 12 รอบ / นาที และใช้ฮีตเตอร์ในการอบขนาด 2,000 W จากการทดสอบหาประสิทธิภาพของเครื่อง โดยใช้เวลาในการผสม 20 นาที แล้วส่งต่อไปยังชุดอัดเม็ดใช้เวลาในการอัดเม็ด 20 นาที หลังจากนั้นส่งต่อไปยังเครื่องอบโดยใช้สานพานลำเลียงและใช้เวลาในการอบ 5 นาที สามารถผลิตปุ๋ยได้ครั้งละ 30 กิโลกรัม ได้เม็ดปุ๋ย 24.3 กิโลกรัม ปุ๋ยผง 4.7 กิโลกรัม เมื่ออบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 15 นาทีจะได้ความชื้นที่หายไปเท่ากับ 3.73 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นเครื่องผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดยังสามารถลดคนงานลง 3 คน และระยะเวลาในการผลิตลดจาก 50 ชั่วโมง เหลือ 50 นาที ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง 5 บาท / กิโลกรัม คำสำคัญ: เครื่องผลิตปุ๋ย เปอร์เซ็นต์ความชื้น ปุ๋ยอินทรีย์
บทคัดย่อ (EN): THE IMPROVEMENT AND DEVELOPMENT OF MANUFACTURE ORGANIC FERTILIZER PELLETS Jaknarin Chatthong 1 Surasit Rangwangwong 1 Worapong Boonchouytan 1 and Romadon Burapa 1 This research was study that designed to create a production of organic fertilizer tablet in the same production line that consist of the mixing, the compression tablet and the backing. The machine was easy to used and reduced waiting time of mixing. Create a size width 160 cm., length 220 cm., and height 160 cm. that using 2 motor. The one size was 3 HP that transmission speed 24 rpm. to mixing and sent to set speeds tablets compression 40 rpm. The second motor 1/4 HP transfer power to drying cylinder that 12 rpm. and the drying heater size was 2,000 w Testing for performance from the machine. The mixing time in 20 minutes and transfer set compression tablets 20 minutes later sent to the drying machine by using the building near transporter and spent 5 minutes on baking time to produce fertilizer. per 30 kg to 24.3 kg of manure fertilizer tablets powder 4.7 kg that baked at temperatures 70 degrees that using times was 15 min to take the moisture lost 3.73 percent. Moreover, the scale organic fertilizer tablets can be compressed to reduce worker that 1-2 people who can work. To reduce production time from 50 hours to 50 minutes. The resulted in lower manufacturing cost that 5 baht / kg. Keywords: Fertilizer production machine Percent humidity Organic fertilizer.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
30 กันยายน 2557
การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ การพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในเชิงธุรกิจ การพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในเชิงธุรกิจ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมี การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรดูดซับไนโตรเจนจากมูลไก่สำหรับผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดธาตุอาหารสูง การพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ผสมอัดเม็ดธาตุอาหารสูงจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสำหรับชุมชน การใช้ยิปซั่ม ซิลิคอน และปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดที่ผลิตจากกากตะกอนบ่อน้ำทิ้งฟาร์มสุกรร่วมกับผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวหอมมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็มจังหวัดอำนาจเจริญ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงดินลูกรังและเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวาน การพัฒนาการผลิตสุกรร่วมกับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพอย่างยั่งยืน การวิจัยเพื่อพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก