สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลบัวโคก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ปุญญวัฒน์ ชนะภักดิ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลบัวโคก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปุญญวัฒน์ ชนะภักดิ์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัย เรื่อง สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลบัวโคก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะพื้นฐานทางด้านสังคมและเศรษฐกิจบางประการของสมาชิกศูนย์ฯ สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ และปัญหาในการผลิตข้าวอินทรีย์ประชากรที่ใช้ ได้แก่ สมาชิกศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลบัวโคก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 50 ราย โดยวิธีสำมะโนประชากรโดยทำการเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด จำนวน 50 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ำต่ำสุด ค่าสูงสุดของข้อมูลและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกร ร้อยละ 60 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 46 ปี ร้อยละ 58 จบการศึกษาระดับประถมปีที่ 4 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.32 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.4 คน ส่วนใหญ่ร้อยละ 72 มีที่ดินเป็นของตนเอง เกษตรกร ส่วนใหญ่ ร้อยละ 82 มีรถไถเดินตาม แหล่งเงินทุนในการผลิตข้าวอินทรีย์เกษตรกร ร้อยละ 52 ใช้เงินทุนของตนเอง มีรายได้ที่เป็นเงินสดทั้งหมดเฉลี่ย 54,433 บาท รายได้ที่เป็นเงินสดในภาคการเกษตร 41,913.54 บาท และรายได้ที่เป็นเงินสดนอกภาคการเกษตร 18,155.88 บาท มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 22.84 ไร่ ประสบการณ์ในการผลิตข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 3.51 ปี ส่วนใหญ่มีเหตุผลในการผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อลดต้นทุนการผลิต และมีขนาดพื้นที่ผลิตข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 13.22 ไร่ เกษตรกรทุกรายใช้ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองและคัดทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ มีการไถกลบตอซัง ร้อยละ 46 มีวิธีการทำนาด้วยการดำและหว่าน ร้อยละ 46 เกษตรกรทำนาในเดือนพฤษภาคม เกษตรกรทุกรายใช้น้ำฝนเป็นแหล่งน้ำหลักในการผลิตข้าวอินทรีย์ ส่วนใหญ่ ใช้ปุ๋ยคอกและหว่านแล้วไถกลบ ช่วงเดือนที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่ใช้ในช่วงเดือนเมษายน - กรกฎาคม การป้องกันกำจัดวัชพืชส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.3 ใช้ระดับน้ำในการควบคุมวัชพืช ร้อยละ 72.3 ใช้วิธีกลในการป้องกันกำจัดโรคข้าว และร้อยละ73.5 รักษาความสมดุลธรรมชาติในการป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูข้าว ร้อยละ 46 เก็บเกี่ยวข้าวด้วยเคียว ร้อยละ 58 ตากข้าวบนลานตาก ร้อยละ 36 นวดข้าวด้วยรถเกี่ยวนวด ส่วนใหญ่เก็บรักษาข้าวด้วยการแยกเก็บรักษา แหล่งความรู้และการฝึกอบรมการผลิตข้าวอินทรีย์ เกษตรกรทุกรายได้รับความรู้และการฝึกอบรม จากสำนักงานเกษตรอำเภอ/จังหวัด สำหรับปัญหาในการผลิตข้าวอินทรีย์ พบว่าในภาพรวมเกษตรกร ไม่มีปัญหาในการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยเกษตรกร มีปัญหาน้อยในประเด็นแหล่งน้ำในการผลิตข้าวอินทรีย์, ตลาดรองรับผลผลิต ราคาผลผลิตและแหล่งเงินทุน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลบัวโคก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ การผลิตข้าวอินทรีย์ ของจังหวัดสุรินทร์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ของสมาชิก ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในตำบลตรวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ความพึงพอใจของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลกุดขอนแก่น อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ต่อการดำเนินกิจกรรมโรงเรียนเกษตรกร การใช้สารเคมีในนาข้าวของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน การจัดการโซ่อุปทานการผลิตข้าวอินทรีย์ของกลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทัพไทย จำกัด ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก